สร้างสรรค์สังคม > เมื่อสองเราไม่เข้าใจกัน


คนที่อยู่ด้วยกันก็เหมือนจับเชือกเส้นเดียวกันคนละด้าน ถ้าต่างคนต่างดึงเชือกตึงมากก็มีแต่จะขาด ฝ่ายหนึ่งควรรู้ตัวแล้วผ่อนเชือกลง

เมื่อเช้าวันที่ 8 ที่ผ่านมา ระหว่างที่ดิฉันกำลังจะเริ่มทำงาน เสียงโทรศัพท์มือถือดังขึ้น เสียงน้องสาวคนหนึ่งดังขึ้นว่า คุยได้มั๊ยคะเสียงเครือที่ปลายสายทำให้รู้ว่าเธอกำลังร้องไห้ หนูทนไม่ไหวแล้ว ถ้าลูกชายคนโตมีที่เรียน หนูจะไม่อยู่กับเค้าแล้วดิฉันตกใจ เพราะคืนก่อนหน้านั้นดิฉันเป็นห่วงว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ โทรศัพท์ไปคุยกับสามีของน้องก็รู้ว่าเค้าอยู่บ้าน ไม่ได้ไปไหน เพราะลูกสาวคนเล็กห้าม ถ้าพ่อไปน้อง...จะไม่อยู่บ้าน คุณพ่อเธอคงกดดันพอสมควร เสียงเค้าขรึม ไม่ล้อเล่นตอบว่า คร้าบเหมือนเคย ปัญหาของเรื่องราวที่น้องสาวมาเล่าให้ฟังวันนี้ คือ เธอน้อยใจที่สามีไล่เธอออกจากบ้าน 

วันนี้สามีของเธอตื่นแต่เช้า หลังจากที่นอนหลับไม่รับฟังข่าวอะไรเลย เค้าลุกมาดูรายงานข่าวของทีวีช่องหนึ่ง ที่มีเหตุการณ์สดของความสูญเสียให้เห็นอย่างชัดเจน น้องสาวเล่าว่า สามีของเธอร้องไห้ แล้วเค้าก็แสดงอาการไม่พอใจ หงุดหงิดใส่ภรรยา

ทำไมไม่ไป....ด้วยกันเค้าคงคิดว่าถ้าเมียไป ลูกก็คงห้ามไม่ได้

หนูมีภาระอย่างอื่นต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เหมือนพี่ไม่ยอมไปทำงานมาตั้งนาน ต้องให้เค้ามาตามถึงบ้าน คนเราคิดเหมือนกัน แต่พฤติกรรมอาจไม่เหมือนกันก็ได้

แล้วถ้าไม่มีประเทศจะอยู่ จะทำไง

ถ้าในเมื่ออยู่ด้วยกันไม่ได้ก็ไม่ต้องอยู่

 เออ ! จะไปไหนก็ไป

          เธอมักพูดซ้ำ ๆ แบบนี้ทุกครั้งที่ทะเลาะกับสามีว่า เธอทนไม่ไหวแล้ว อยู่ด้วยกันไม่ได้ก็ไม่ต้องอยู่ จริง ๆ แล้วที่ผ่านมาน้องสาวก็ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับสามี บางครั้งเธอกับลูกเคยไปกับสามีด้วย แต่ครั้งนี้เธอยอมให้สามีไปไม่ได้

ดิฉันสนิทกับน้องพอสมควร ทราบว่าสามีของเธอเป็นผู้จัดการบริษัทเล็ก ๆ เปิดหลังจากลาออกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่เค้าบอกว่าเอาเปรียบเค้า พิจารณาเลื่อนตำแหน่งให้คนที่มีเส้นสายขึ้นเป็นหัวหน้า ทั้ง ๆ ที่คนที่สมควรได้เป็นเค้า เพื่อนทุกคนก็คิดอย่างนั้น บริษัทที่เค้าเปิดมีหุ้นส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ 1 คน เค้ามักจะไม่ไปทำงาน แรก ๆ ก็เพราะไม่มีงาน ตอนนี้กิจการขยายตัวไปมาก เค้าทำงาน คุมลูกน้อง ประชุม พูดคุยกับลูกค้า ทำบัญชีเองทุกอย่าง แต่เค้าเชื่อมาระยะหนึ่งแล้วว่าเค้ามีเป้าหมายสูงสุดที่คิดว่า ยิ่งใหญ่กว่าการทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว การไม่ไปทำงานของเค้าก็คือนั่งทำบัญชีอยู่ที่บ้านที่ใช้เป็นสำนักงานของบริษัท ดูทีวี ไม่ต้องไปลูกน้องก็ทำงานได้

น้องสาวเป็นลูกจ้างแผนกธุรการในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เธอกังวลว่าลูกเธอกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย จะใช้เงินที่ไหน เพราะทุกวันนี้เงินที่ส่งเสียให้ลูกเรียนพิเศษก็คือเงินที่เธอเก็บออมไว้ สามีให้เงินค่าจับจ่ายใช้สอยเท่าเดิม ไม่มีรายได้พิเศษเพิ่มให้เธอในภาวะที่เธอต้องการ เธอเลยคิดไม่ออกว่า แล้วเธอจะทำอย่างไรต่อไปก่อนหน้านั้นที่สามีอยู่บริษัทใหญ่มีรายได้เดือนละ 4-5 หมื่น บางครั้งไปทำงานต่างประเทศก็ได้เป็นแสน ตอนนี้มีเงินให้เธอเพียงหมื่นกว่าบาทถึงสองหมื่น ใช้จ่ายทุกอย่างในบ้าน ไม่ว่าค่ากับข้าว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียนลูก อื่น ๆ อีกจิปาถะ แล้วลูกชายคนโตก็อยู่ ม.6 กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ลูกสาวคนเล็กอยู่ ม.3 กำลังโตเป็นสาว เธอบอกว่าเค้าไม่เคยคุยกับหนูเรื่องลูกเลย หนูคิดคนเดียวมาตลอด

ดิฉันอดไม่ได้ที่จะพูดมากกว่าฟังเสียงของเธอ พร่ำพูดบอก สอน ว่า บางทีเราอาจไม่ได้พูดถึงความรู้สึกที่เรามีขณะนั้น ๆ ให้สามีฟัง ว่าเราเป็นห่วงเค้ามาก ไม่อยากให้เค้าเป็นอะไรไป น้องบอกว่าตอนนี้เค้าคงไม่คุยกับหนูแล้ว เพราะเค้าไล่หนูออกจากบ้าน แต่ดิฉันก็เชื่อว่าสามีเค้ารู้ คนเราเวลาตั้งใจจะไปทำอะไรที่สำคัญมากในชีวิตตามความคิดของเค้า คนที่ห้ามก็คือทำไม่ถูก แล้วบอกให้น้องลองปล่อยสามีไปทำตามที่เค้าต้องการ เราก็เตรียมพูดคุยกับหุ้นส่วนเลยว่าถ้าสามีเป็นอะไรไปจะทำอย่างไร ที่สำคัญคือ ทัมใจ และให้กำลังใจน้องแบบไม่รู้จะพูดอะไรไปดีกว่านี้แล้วว่า ดีกว่าเค้าไปมีเมียน้อยหรือติดการพนัน ไม่กลับบ้านกลับช่องนะ

คนที่อยู่ด้วยกันก็เหมือนจับเชือกเส้นเดียวกันคนละด้าน ถ้าต่างคนต่างดึงเชือกตึงมากก็มีแต่จะขาด ฝ่ายหนึ่งควรรู้ตัวแล้วผ่อนเชือกลง สมมติว่าถ้าเค้าเป็นอะไรบางอย่างที่เราผูกมัด จับยึดไว้ แล้วเราจะต้องปล่อยมือหรือแกะเชือกออก แรก ๆ ก็ลองติดกระดิ่งที่ตัวเค้า มีเพียงใยบาง ๆ ที่เชื่อมเราไว้ด้วยกัน คอยฟังเสียงว่าเค้าจะไปทางไหนเราเดินตาม ต่อมา ก็ปลดกระดิ่งออก ไม่ว่าเค้าจะทำอะไรเราก็จะรู้ว่าเค้าไม่หนีหายไปไหน เพราะความรู้สึกได้ถึงใยบาง ๆ ที่เกี่ยวพันกัน สุดท้ายความเบาสบายก็คงเกิดมีในใจ เราสุขใจได้เสมอไม่ว่าเค้าจะเป็นอย่างไร

จนถึงนาทีนี้ ดิฉันยังไม่รู้เลยว่าที่ดิฉันแนะนำไปนั้นถูกหรือผิด ที่จริงมันคงไม่มีอะไรถูกผิด อยู่ที่ว่าน้องเค้าจะเลือกคิดให้ทุกสิ่งใช่เสมอมากกว่า สิ่งที่ดิฉันภูมิใจคือสุดท้ายน้องหัวเราะได้ เพราะตอนนั้นหลานชายเข้ามาในบ้าน ดิฉันพูดคุยถึงเรื่องที่เค้าไปสอบที่เทคโน ฯ บางมด แล้วมีข้อความส่งมาให้ไปฟังผลสอบหรือไปสอบอีกครั้ง หลังจากสอบไม่ผ่านข้อเขียนในรอบแรก บอกว่าเอาเลยลูก ตั้งใจนะครับ ถ้าสำเร็จป้าแดงจะมีรางวัลให้ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรเอาใหม่

ถ้าเป็นท่านจะแนะนำ หรือช่วยเหลือน้องเค้าอย่างไร ลองบอกหน่อยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 215105เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ก็คงจะแนะนำว่า  ให้เชื่ออย่างที่ป้าบอกนะ..ถ้าหลานไม่มีตังค์เรียนหนังสือก็จะบอกว่า  ให้ขอป้าซิ....ง่ายนิดเดียว..เพราะ...ป้าใจดี

ที่จริงเรื่องคนสองคนไม่เข้าใจกันมันก็เป็นเรื่องที่ให้คำแนะนำอยากนะพี่แดง แต่กาลเวลามันจะค่อย ๆ ทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลงได้ อาจจะคอยเป็นกำลังใจไม่ให้เขาท้อ ปัญหามีไว้แก้ เพียงแจะใช้หนทาง บวก หรือ ลบ เท่านั้นเอง

จ๊ะเอ๋ค่ะ น้องโก๊ะ เอ๊ย น้องจิ P อิอิ

        สวัสดีค่ะ คุณหนุ่ม กร P 

              และขอบคุณนะจ๊ะ น้องต็อกกาต๋อย P

  • ไม่ได้แวะมาอ่าน เพราะ คิดว่าบันทึกไม่ได้ อ้าว ! ตัวเบ้อเริ่มเลย
  • ฟังเพลงอีแซวของน้องจิแล้วมีกำลังใจ คิดทางบวกอย่างน้องต๋อยแนะนำได้มากขึ้น ที่สำคัญเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับประโยคของคุณหนุ่ม กร ที่บอก "ป้าใจดี  เดี๋ยวจ่ายเอง"
  • ว่าแต่พี่ ๆ อา ๆ จะช่วยบริจาค ซักคนละ 50 หรือ 500 ดีล่ะ โดยเฉพาะคุณอาหนุ่ม กร ขอซัก 5,000 นะเจ้าคะ อิอิ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท