รายงานการเดินทางเกาหลีศึกษา วันแรกของการเดินทาง


เราได้ข้อสรุปตรงกันว่า ที่นี้ พยายามนำเสนอการใช้ไอซีทีในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายภาพ การแพทย์ การสอนให้เด็กข้ามถนน การเรียนหนังสือในมิติใหม่ๆโดยใช้ไอซีทีเข้ามาช่วยในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ได้มองไอซีทีว่าเป็นเรื่องเลวร้ายไปเสียหมด

เป้าหมายของพวกเราในการเดินทางครั้งนี้

  • แนวทางในการจัดการปัญหาเรื่องเกมคอมพิวเตอร์ และ ร้านเกมคอมพิวเตอร์ ทั้งในแง่ของสถานการณ์ และ กฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อมาศึกษามาตรการ กฎหมาย นโยบายด้านการส่งเสริมการส่งออกเนื้อหาสื่อเชิงวัฒนธรรม
  • เพื่อมาศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาคนติดเกม
  • แนวทางในการทำงานเรื่องการคุ้มครองเด็ก เยาวชนในโลกของไอซีที เช่น การระบุตัวบุคคลของคนเล่นเกม โดยใช้หมายเลขบัตร ๑๓ หลักตามบัตรประชาชน
  • เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ในการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อไอซีทีเพื่อสังคม

เริ่มต้นวันแรกของการเดินทางวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

          พวกเราทั้งหมด นำทีมโดย (๑) คุณหมอ มงคล ณ สงขลา (๒) อาจารย์สายฤดี วรกิจโภคาทร (๓) พี่ลัดดา ตั้งสุภาชัย (๔) อาจารย์แหวว พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร (๕) คุณหมอพรรณพิมล หล่อตระกูล (๖) คุณหมอกฤษฎา เรืองอารีย์รัตน์ (๗) อาจารย์โก๋ อิทธิพล ปรีติประสงค์ (๘) คุณวีระ อยู่รัมย์ (๙) คุณอารยา ชินวรโกมล (๑๐) คุณสุรวดี รักดี (๑๑) คุณสิรินาท (๑๒) คุณพรชัย (๑๓) คุณหลิง (๑๔) คุณเลิศชาย กันภัย (๑๕) คุณไตรรัตน์

          ก่อนขึ้นเครื่อง ได้เจอกับทาง BSO ย่อมาจาก Bangkok Symphony Orchrestra ที่มาแสดงในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ผสานความสัมพันธ์ระหว่างไทย เกาหลี ในครั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ในระหว่างรอตรวจเข้าเมืองที่สนามบินอินซอนได้เจอกับคุณจาฤก กัลจากฤกษ์แบบไกลๆ ทักทายด้วยอวัจนภาษา เพราะไกลกัน คุยไม่สะดวก เข้าใจว่ามางาน BSO นี้เช่นกัน

พวกเราทั้งคณะเดินทางมาถึงสนามบิน อินชอน ตอน เจ็ดโมง ถ้าเทียบเวลาไทย ก็คือ ตีห้า เพราะว่าที่เกาหลีเร็วกว่าไทยสองชั่วโมง ในระหว่างนั่งรถ คุณมะลิ (มัคคุเทศน์ชาวเกาหลีที่พูดไทยได้คล่องแคล่ว) กับ คุณปู (มัคคุเทศน์ชาวไทย) เล่าให้เราฟังถึงทะเลเหลืองที่ทะลุไปถึงประเทศจีนได้ ในทะเลเหลืองมีสีแดงของสาหร่ายที่ใช้ทำเครื่องสำอางค์ ผ่านภูเขาขยะ ที่นำขยะมาทับถมกันหลายชั้น ชั้นล่างสุดย่อยสลายง่ายสุด ชั้นบนสุดก็ยากสุด แล้วก็เอาดินมาถมทับ ต่อด้วยการปลูกต้นไม้ กลายเป็นโรงงานผลิตสารออ็อกซิเจน ห้องเรียนทางชีวดภาพให้กับเด็ก ๆ เยาวชนในเกาหลี น่าสนใจทีเดียวกับกระบวนการกำจัดขยะของคนในเกาหลี

ระหว่างนั่งรถ คุณหมอพรรณกับอาจารย์โก๋ ก็ช่วยกันเล่าถึงประเด็นในการไปดูงาน และ มอบหมายให้มีคนพูดคุยหลัก และ ทีมช่วยจดบันทึกการหารือ เพื่อนำมาเขียนเป็นเอกสารรายงาน

          รถติดพอสมควร กว่าจะเดินทางมาถึงโรงแรง เวสเทิร์น ในกรุงโซล

            มาถึงโรงแรมแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันเข้าห้องพัก เพื่อเตรียมตัวไปทานข้างกลางวัน และไปดูงานมหกรรม นิทรรศการด้านเนื้อหาสื่อ

มื้อกลางวันกับอาหารแบบเกาหลีมื้อแรกในกรุงโซล

          พวกเรากลับมารวมตัวกันตอน ๑๑.๓๐ น. ไปทานอาหารกลางวันที่เรียกว่า ไก่ผัดซีอิ๊ว เป็นกระทะขนาดใหญาตั้งตรงกลาง โต๊ะหนึ่งกินได้ ๔ คน มีนำซุปที่มีสาหร่ายในถ้วย การกินเริ่มต้นจากการผัดไก่กับผัก ที่มีทั้งกระหล่ำปลีที่คุณปู บอกว่าที่นี้ผักผลไม้ต้องมีขนาดใหญ่และแข็งจึงจะอร่อย (ตรงข้ามกับผลไม้เมืองไทย เช่น มังคุด) ผักที่มีหวานกรอบ กระหล่ำปลีมีขนาดเท่ากับหัวคนสองคนรวมกัน

ตอนบ่ายแก่ๆ

          เราไปเดินเล่นที่มหาวิทยาลัยที่แต่ผู้หญิงเรียน ถนนหนทางที่จะขึ้นไปที่มหาวิทยาลัยสวยทีเดียว ที่สำคัญถนนเส้นที่เราเดินอยู่นี้หาถังขยะไม่เจอ ถามคุณปูได้ความว่า ถ้ามีถังขยะ คนมักจะทิ้งไม่ลงถัง  ก็เลยตัดสินใจไม่นำถังขยะมาวาง แต่ก็น่าแปลกใจที่ว่า คนที่นี่ไม่ทิ้งขยะลงพื้น ถือไปทิ้งที่ถังขยะ

          หลังจากนั้น ตอนบ่ายสองครึ่งเราเดินทางไปยังตึก KOGIA ซึ่งเป็นที่ตั้งของการแสดงนิทรรศการด้านไอซีที ที่ตึกนี้เป็นการแสดงผลงานด้านไอซีทีภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรมกับกระทรวงเศรษฐกิจเทคโนโลยี ที่นี่ไม่ได้ขายสินค้าด้านไอซีที แต่เป็นพื้นที่ของการสร้างแรงบันดาลใจด้านไอซีทีให้กับคนที่เข้ามาชม ตึกนี้มีทั้งหมด ๔ ชั้น ก็คือ IT Exploration , IT Inspiration , IT Creation

          เริ่มต้นจากชั้น ๔ กับการชมภาพยนตร์สั้น ๔ มิติ กับชั้น ๓ พวกเราทุกคนได้ลองเล่นเกมแข่งรถ มาถึงชั้น ๒ เราได้เห็นนวัตกรรมของการใช้ไอซีที เช่น สระจำลองที่มีปลาในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ที่เราสามารถเป็นคนสร้างปลาได้เองให้ว่างไปมาในสระที่เป็นภาพดิจิตอลที่ถ่ายลงมาจากเครืองฉายโปรเจคเตอร์ด้านบน เครื่องฉายสี่มิติ โปรแกรมการตรวจสภาพร่างกาย โปรแกรมการดูแลบ้าน โปรแกรมการสอนให้เด็กข้ามถนน ที่น่าสนใจก็ชิ้นหนึ่งก็คือ เครื่องมือสอนหนังสือที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงผ่านทางโต๊ะยาวๆที่แสดงผลการทำงานคล้ายกับเป็นหน้าจอแบบสัมผัส แต่ที่จริงแล้ว เป็นระบบการเซ็นเซอร์ที่หลังมือของเราแทน เมื่อเราเอามือไปแตะที่โต๊ะ ก็จะแสดงผลเป็นข้อมูลในรูปของอิเล็กทรอนิกส์

          เราได้ข้อสรุปตรงกันว่า ที่นี้ พยายามนำเสนอการใช้ไอซีทีในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายภาพ การแพทย์ การสอนให้เด็กข้ามถนน การเรียนหนังสือในมิติใหม่ๆโดยใช้ไอซีทีเข้ามาช่วยในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ได้มองไอซีทีว่าเป็นเรื่องเลวร้ายไปเสียหมด 

          เห็นแล้ว น่าอิจฉาแทนคนเกาหลีจริงๆ 

หมายเลขบันทึก: 214953เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท