สรุปสาระจากการฟังเรื่อง benchmarking


benchmarking

สรุปจากการบรรยายของ อ.ศิริพร ขัมภลิขิต  7 ต.ค. 51 อมารีแอร์พอร์ต

benchmarking มี 4 ขั้นตอน

1. รู้เรา เราอยู่ที่ไหน (Where are we) วิเคราะห์องค์กรเปรียบเทียบสมรรถนะให้รู้ตัวเองว่า ในเรื่องนั้น ๆ องค์กรตนเองมีการดำเนินการอย่างไร ผลเป็นอย่างไร,อาจเปรียบเทียบทั้งองค์กร/เปรียบเทียบเฉพาะเรื่องก็ได้

     -ตัวชี้วัดความสำเร็จ?

     -ปัจจัยเอื้อ ?

     -ปัญหาอุปสรรค ?

     -จุดอ่อน/จุดแข็ง?

    การเลือกหัวข้อมาพัฒนา

       1. สิ่งที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย ต่อองค์กร,ลูกค้า,ชื่อเสียงสถาบัน

       2. ความพร้อมของสถาบัน งบประมาณ ระยะเวลา  ความยากง่ายในการเปรียบเทียบ,ทีมงาน

2. รู้เขา  ใครเก่งที่สุด (Who is the best)  ใครมีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    - ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มสายงานเดียวกัน หาจากนอกสายงานที่เขามีจุดแข็งดีเด่น

    - กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และเก็บข้อมูล โดย

          2.1 เตรียมคำถามที่ชัดเจน จากการวิเคราะห์จุดอ่อนของเรา

          2.2 กำหนดวิธีเก็บข้อมูล อาจใช้หลายวิธี,หลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นและเชิงลึก ควรใช้วิธีเยี่ยมชม (Size vitsit) จะช่วยให้เห็น"กลวิธี" ไม่เน้นเยี่ยมชมอาคารสถานที่ แต่ให้ดูจุดต่าง ในด้านปัจจัยเอื้อ

       - เตรียมส่งคำถามให้เจ้าภาพก่อนวันเยี่ยม เพื่อให้เขาเตรียมผู้ตอบที่ตรงงานมาตอบ

       - คำถามที่จำเป็นคือ " เขามีปัจจัยเอื้ออะไรที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้นได้"

          2.3 วิเคราะห์ข้อมูล

          2.4 นำเสนอข้อมูล ต่อผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ/ทำงาน

          2.5 กำหนดเป้าหมายใหม่ร่วมกัน และทำแผนปฏิบัติการ (Benchmarking action plan)

          2.6 ปฏิบัติตามแผน และกำบดูแล

          2.7ทบทวน ประเมินผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด ว่า บรรลุเป้าหมายหรือไม่ , ทบทวนเป้าหมายใหม่หรือไม่, อะไรคือจุดอ่อนในการดำเนินงานที่ผ่านมา

3. เขาทำได้อย่างไร ( How do they do it) คนเก่ง เก่งอย่างไร มีปัจจัยเอื้อ(Enables) ใดบ้างที่ทำให้เก่งขึ้น

4. เราจะทำอย่างไรให้เก่งขึ้น/เก่งกว่าเขา(how do re do it/ Adapt ) เรากับองค์กรที่เก่งที่สุดต่างกันตรงจุดไหน, มีปัจจัยเอื้ออะไรบ้างที่เอื้อให้เขาbetter ที่เขาทำได้แล้ว,พิจารณานำวิธีการมาใช้,สร้างปัจจัยเอื้อให้เกิดขึ้นบ้าง

KM สรุป จาก วิทยากรคณะสหสวิทยาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 ต้องใช้ KM  ไม่ใช่  ทำ KM

โดยการพัฒนาบุคลากรระดับปัจเจก ให้ คิด เขียน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น

ร่วมกับใช้ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง,ใช้เพลนเน็ตและบล็อกในเว็บ

คำสำคัญ (Tags): #benchmarking
หมายเลขบันทึก: 214801เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท