กะเพรา


ประโยชน์ของกระเพรา

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1.  ฤทธิ์ขับลม

                กะเพรามีน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ขับลม (1)

2.  ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ

เมื่อป้อนสารสกัดกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทางท่อเข้าที่กระเพาะหนูขาว ในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก aspirin วิธี Shay-induced ulcers หรือการใช้ความเย็น (Specific repeated cold stress animals) (2)  สารสกัดผงใบกะเพราด้วยเอทานอล ขนาด 100 มก./กก. เมื่อป้อนให้กับหนูขาวทางปาก วันละ 1 ครั้ง (3)  หรือฉีดน้ำมัน fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 1-3 มล./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูตะเภา (4) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin, alcohol, histamine, pyloric ligation (3), indomethacin,  reserpine, seratonin และ stress (4) พบว่าสามารถลดการหลั่งกรด และป้องกันการถูกทำลายของเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ (3, 4)

3.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

สารสกัดใบ (5, 6) หรือใบแห้ง (7, 8) ด้วยน้ำ หรือสารสกัด 50% alcohol มีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภา (5-9) และกระต่าย (5) ที่ถูกกระตุ้นด้วย histamine, acetylcholine, carbachol

4.  ฤทธิ์ขับน้ำดี

กะเพรามี eugenol (10-12) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี (13)

5.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ

 กะเพรามีสาร eugenol มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin (14)  สารสกัด 50% เอทานอลของใบกะเพรา ขนาด 100 มก./100 ก. น้ำมันหอมระเหย และ fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 0.1 มล./100 ก. ทดสอบโดยการป้อนครั้งเดียวให้หนูตะเภาที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน  เซราโตนิน และฮีสตามีน (15)  fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 3 มล./กก. ทดสอบในหนูขาว โดยฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน (16-17) กรดไขมันจาก fixed oil ของเมล็ดกะเพรา ได้แก่ stearic, palmitic, oleic, linoleic และ linolenic acids ทดสอบในหนูถีบจักรและหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน (18)  สารสกัดจากใบ และลำต้นของกะเพรา ได้แก่ cirsilineol, cirsimaritin, isothymonin, apigenin, rosmaric acid และ eugenol ความเข้มข้น 1,000 ไมโครโมล ทดสอบในหลอดทดลอง (19)  มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ (14-19)  นอกจากนี้ fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 3 มล./กก. เมื่อป้อนให้กับหนูขาวกินเป็นเวลา 10 วัน ก่อนที่จะฉีดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อเข่าของหนู  พบว่า fixed oil จากเมล็ดกะเพรา สามารถยับยั้งการอักเสบของข้อเข่าของหนูได้ โดยมีผลยับยั้งเทียบเท่ากับยา aspirin ขนาด 100 มก./กก. (20)  และตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ขนาด 300 และ 500 มก./กก. ทดสอบกับอุ้งเท้าหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารคาราจีแนน และ ฟอร์มาลีน (21) มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ

ฤทธิ์แก้ปวด

                สารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ ขนาด 50, 100 มก./กก. เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร หรือให้กินทางปากในขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. สามารถยับยั้งอาการปวดได้ เมื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการปวดโดยการฉีดกรดอะซิติดเข้าทางช่องท้อง และวางหางหนูบนแผ่นโลหะร้อน (22) 

7.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านฮีสตามีน

กะเพรามี ursolic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell (23)

8.  ฤทธิ์ปกป้องตับ

เมื่อฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ 70% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2)  หรือป้อนตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบ ในขนาดต่างๆ กันให้กับหนูขาวทางปาก (24)  และสารสกัดใบกะเพรา ขนาด 10 มก./กก. เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรทางปาก นาน 10 วัน (25)  พบว่าป้องกันตับถูกทำลาย เนื่องจากคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ (2, 24) และสารปรอท (25) ได้

9.  ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย

สารในกลุ่ม phenol, tannin และ saponin จากต้นกะเพรา (26)  และสารสกัดเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา (27) สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย ชนิด E.coli (26, 27)   และ Shigella dysenteriae (26) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

10. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

       10.1. การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อป้อนหรือฉีดสารสกัดกะเพราทั้งต้นด้วยเอทานอล (70%) ทดสอบในหนูถีบจักรพบว่า ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.5 ก./กก. และ 3.24 ก./กก. ตามลำดับ (28) สารสกัดใบจากเอทานอลและน้ำ (1:1) ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูพบว่าขนาดสูงสุดที่ทนได้คือ 1 ก./กก. (29) สารสกัดใบจากเอทานอล (70%) ทดสอบโดยฉีดเข้าทางกระเพาะหนูพบว่า ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 4.85 ก./กก. (30)   ยาดอง (tinctures) ใบกะเพราเมื่อนำมาทดสอบกับไข่ไรกุ้งในหลอดทดลอง  ด้วยความเข้มข้น 10, 100, 1,000 มคก./มล. พบว่า (LD50) เท่ากับ 18.75 มคก./มล. ในขณะที่เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักร พบว่า  (LD50) เท่ากับ 1.54 ก./กก. (31)  สารสกัดตำรับยา (abana) ที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบหนึ่ง เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่า (LD50) เท่ากับ 1.8 ก./กก.  และขนาด 2.1 ก./กก. จะทำให้หนูตายทั้งหมด (32) 

เมื่อป้อนสารสกัดใบกะเพราด้วย 70% แอลกอฮอล์  ขนาด 2.5, 5.0, 7.5 ก./กก.นน.ตัว ให้กับหนูถีบจักร  และขนาด 15 ก./กก.นน.ตัว ให้กับหนูขาว ภายใน 24 ชม. พบว่าไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูทั้ง 2 ชนิด  (33)  สารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) ขนาด 10ก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะไม่แสดงความเป็นพิษ (34)  น้ำมันจากเมล็ด ขนาด 3 มล./กก. ทดสอบโดยฉีดเข้าทางช่องท้องหนู ไม่แสดงความเป็นพิษ (35)  สารสกัดใบด้วยเอทานอล (50%) ป้อนและฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาด 10 ก./กก. ไม่พบความเป็นพิษ (36)

       10.2  พิษต่อตัวอ่อน

สารสกัดด้วยเบนซีนในขนาด 200 มิลลิกรัม เป็นพิษต่อตัวอ่อน (37)   เมื่อป้อนสารสกัดใบกะเพราด้วยน้ำในหนูเผือก พบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อน และสารสกัดใบจากน้ำ ขนาด 100 และ 200 มก./กก. ให้ทางปากหนูเพศเมียพบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อน (38)  สารสกัดรากด้วยเอทานอล (100%) ขนาด 200 มก./กก. ทดสอบโดยกรอกเข้าทางกระเพาะหนูที่ตั้งท้อง พบว่าไม่มีฤทธิ์ทำให้แท้ง (39)  สารสกัดน้ำ:อัลกอฮอล์ (1:1) ฉีดเข้าช่องท้องหนู ขนาดสูงสุดที่หนูทนได้คือ 1 ก./กก. แต่ไม่พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน (40)

       10.3  พิษต่อเซลล์

สารสกัดใบจากเอทานอล (100%) ขนาด 50 มคก./มล. ทดสอบในเซลล์ fibroblasts พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์ (41) สารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) ขนาดมากว่า 20 มคก./มล. ทดสอบในเซลล์ CA-9KB พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์ (2)

       10.4  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

สารสกัดใบจากน้ำ ขนาด 0.5 มล./จานเพาะเชื้อ ทดสอบใน Bacillus subtilis M-45, B. subtilis H-17 ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (42)  เมื่อป้อนสารสกัดใบกะเพรา ขนาด 2.5 ก./กก. ให้กับหนูถีบจักร นาน 21 วัน เพื่อทดสอบฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์  และการยับยั้งการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ในเซลเม็ดเลือดแดงของหนูถีบจักรที่ถูกกระตุ้นด้วย ไซโครฟอสฟามายด์ ไมโตมายซิน ซี และโคลชีซิน  พบว่าไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์  และมีผลต้านการก่อกลายพันธุ์ในเม็ดเลือดแดง (43)

 

 

การใช้กะเพรารักษาอาการแน่นจุกเสียด

1.  ใช้ใบและยอด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัมแห้ง) ประมาณ 4 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะเป็นยาขับลมสำหรับเด็ก (44, 45)

2.  ใบสด 3 ใบ ผสมเกลือบดให้ละเอียดละลายน้ำสุก หรือน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนที่คลอดได้ราว 2-3 วัน เป็นยาขับลม (46)

3.  กินใบกะเพราสดทุกวันแก้โรคกระเพาะได้ (46)

 

เอกสารอ้างอิง

1.        Ross M.S.F., Brain KK.   An Introduction to phytopharmacy.   London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd.   1977, p. 258-176.

2.        Bhargava KP, Singh N. Anti-stress activity of Ocimum sanctum Linn. Indian J Med Res 1981; 73: 443-51.

3.        Dharmani P, Kuchibhotla VK, Maurya R, Srivastava S, Sharma S, Palit G.  Evaluation of anti-ulcerogenic and ulcer-healing properties of Ocimum sanctum Linn.  J Ethnopharmacol 2004;93:197-206.

4.        Singh S, Majumdar DK.  Evaluation of gastric antiulcer activity of fixed oil of  Ocimum sanctum (Holy Basil).  J Ethnopharmacol 1999;65:13-9.

5.        Singh TJ, Das Gupta P, Khan SY, Mishra KC.   Preliminary pharmacological investigations of Ocimum sanctum Linn.   Indian J Pharm 1970; 32(

คำสำคัญ (Tags): #กะเพรา#ประโยชน์
หมายเลขบันทึก: 214365เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ..สำหรับข้อมูลดีๆ ขอเพิ่มเติมนิดหน่อยค่ะ..กะเพรา ช่วยเร่งและเพิ่มการผลิตน้ำนม ในหญิงที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยนะคะ!

 

สวัสดีคะ ... ขอบคุณมากคะสำหรับข้อมูลดีๆที่นำมากบอกกัน

....จะได้นำไปใช้บางคะ

  • ประโยชน์มากมายจังแฮะ...ขอบคุณมากครับที่นำมาเผยแพร่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท