คำเฉลยของน้องเดม...กับความคิดเชิงระบบ?


สะท้อน..ถึง "THINKING PROCESS"...ของน้องเดม..เด็กแปดขวบ

จากคำถามที่ว่า“ไก่” กับ “ไข่” อะไรเกิดก่อนกัน คำเฉลยโดยน้องเดม...

โจทย์นี้ค่อนข้างคิดนาน...อยู่หลายวันเหมือนกันตามประสาคนที่สนใจในเรื่อง กระบวนการทางปัญญาของมนุษย์...(Cognitive Process)..ว่าเหมือนกับมองเห็นอะไรบางอย่างที่เป็นภาพ "ผืนใหญ่" ซ่อนอยู่..ภายใต้คำพูดของน้องเดม...และเพิ่งมาเกิดอาการ Think แว๊บ อย่างแรงเมื่อได้มาอ่านบันทึก..."(คิด)เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ...อย่างไร?" เมื่อไม่กี่สิบนาทีที่ผ่านมานี้เอง...จึงอดรนทนไม่ได้จึงต้องรีบมาเขียนบันทึก...ในสิ่งที่ "ตน"..get...ไว้ก่อน

 

คำเฉลยของน้องเดม คือ...

ไก่ต้องเกิดก่อน ไก่หากินเองได้ เพราะหากไข่เกิดก่อน ก็ไม่มีใครฟัก จะเน่า เป็นไข่เน่าแล้วใครอย่าถามว่าไข่เกิดมาจากอะไร เพราะไม่ทราบ ตอบไม่ถูก...ไว้ถามพ่อ

       สิ่งหนึ่งที่เกิดอาการ Think แว๊บ..เมื่อได้เข้าไปอ่าน "(คิด) เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ..อย่างไร?" ของคุณชายขอบ (พ่อน้องเดม)

"ไก่ต้องเกิดก่อน"...

สังเกตนะคะว่าน้องเดมใช้คำว่า "ต้อง"..."ไก่หากินเองได้"...>>> ความคิดในบริบทเชิง "เศรษฐศาสตร์" เชิง "สังคมศาสตร์"..หากินเพื่อความอยู่รอด..และการตอบสนองเชิงพื้นฐานของการอยู่รอดทางสังคม สะท้อนถึง..ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ..ความเป็นเหตุและผล จากเหตุหนึ่งมีผลไปสู่อีกเหตุหนึ่ง...


"เพราะหากไข่เกิดก่อน...ก็ไม่มีใครฟัก"

สะท้อนถึง..ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ..ความเป็นเหตุและผล


"จะเน่า..เป็นไข่เน่า.."

คือ ความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์..."กำไร..ขาดทุน"..และคงอยู่

 "แล้วใครอย่าถามว่าไข่เกิดมาจากอะไร เพราะไม่ทราบ ตอบไม่ถูก...ไว้ถามพ่อ" >>> สะท้อนถึง..บริบทเชิงสังคม..วัฒนธรรม..แบบแผนการเลี้ยงดู และความยึดมั่นผูกพัน..ในครอบครัว

 

สะท้อน..ถึง "THINKING PROCESS"...ของน้องเดม..เด็กแปดขวบ ลูกสาวของ "คุณชายขอบ"

 


 

หมายเลขบันทึก: 21431เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

     คงเป็นเพราะน้องเดมได้ใช้ชีวิตในวิถีชนบท จึงทำให้มองเห็นแม่ไก่ฟักไข่ ได้เห็นไข่ที่ฟักไม่ออก และเน่า เมื่อเจอโจทย์ที่พอจะตอบได้ และให้เหตุผลได้ และเข้าใจว่าเขาคิดว่าถูกโดยไม่ลังเล เพียงถามพ่อเพื่อขอช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เพื่อน ๆ เชื่อ (จริง ๆ ในแวดวงวิชาการเราก็ทำแบบนี้นะ ลองคิดดี ๆสิครับ)

     ผมจึงเชื่อเรื่องบริบทแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมะสม และไม่ต้องไปวัดอะไรเขาในทันทีว่า"เก่ง" หรือ "ฉลาด" โรงเรียนปิดเทอมน้องเดมไม่ได้ไปเรียนพิเศษที่ไหนไกลเลย เรียนใกล้ ๆ กับพี่ ๆ น้อง ๆ เป็นการเรียนรู้ชีวิตที่ไม่มีในโรงเรียน เรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนกับตา-ยาย และมาเรียนรู้ชีวิตพ่อค้ากับปู่ การใช้เวลาว่างอ่านและเขียน กับปู่ รวมถึงเรียนรู้การอยู่กับน้องขิง (มีพัฒนาการช้า) ลูกของอา ช่วยสอนพัฒนาการน้องขิง ขณะเดียวกันน้องเดมก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ พิมพ์ข้อความ บันทึกเก็บไว้ได้เอง จากการเรียนแบบครูพักลักจำจากผม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในโรงเรียนของเด็กอายุ 8 ขวบ ที่ต้องตื่นแต่เช้า ๆ และกลับถึงบ้านก็พอค่ำ พอดีในแต่ละวัน

     ผมมองว่าตรงนี้แหละที่ควรส่งเสริม ไม่งั้นต่อไป เด็กรุ่นใหม่ได้อยู่คนเดียว อยู่แต่โลกไซเบอร์ ซึ่งจริง ๆ แล้วจะเป็นไปไม่ได้

การนำประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ รวมกับประสบการณ์ใหม่ อธิบายเหตุผล  จากประสบการณ์ของตัวเองสร้างความรู้ใหม่ และขอคำแนะนำจากผู้ที่เชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อยืนยันความมั่นใจให้กับตัวเอง  หรือเปล่านะ

คุณดอกหญ้า

ยิ้ม..ใช่เลยค่ะ.."Constructivism"....>>>..."Knowledge Construction"

การนำประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ รวมกับประสบการณ์ใหม่ อธิบายเหตุผล  จากประสบการณ์ของตัวเองสร้างความรู้ใหม่ และขอคำแนะนำจากผู้ที่เชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อยืนยันความมั่นใจให้กับตัวเอง  หรือเปล่านะ
รบกวน คุณDr.Ka-poom  อธิบายทฤษฎีการเรียนรู้ คอนตรัสติวิสซึม  ให้ได้อ่านได้ไหมคะ 
หรือรวบกวนส่งทางอีเมล์ก็ได้นะคะ  กำลังสนใจค่ะ
แหะๆ รบกวนเกินหรือเปล่าคะ  ขอบคุณค่ะ
(((ยิ้มมมม)))
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท