งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน


เรื่องนี้สามารถนำไปทำรายงานได้นะคะ มีเอกสารอ้างอิงพร้อม

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

 

1.   ความนำ

การปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐกำลังเป็นประเด็นที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ให้ความสนใจมาก  เนื่องจากความตื่นตัวในการับรู้ข่าวสารของประชาชนทั่วโลก  มีผลทำให้ความต้องการบริหารเพื่อประชาชนได้รับการยกระดับให้สูงขึ้น  ประกอบกับหลายประเทศต่างประสบภาวะวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ  สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความหย่อยยาน  ประสิทธิภาพของกลไกการบริหารบ้านเมือง  การบริหารราชการ  การกำหนดนโยบายสาธารณะ  และการทุจริตมิประพฤติชอบในวงราชการ  สภาพดังกล่าวเป็นภาพฉายที่เด่นชัดของประเทศที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการแข่งขันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีความรุนแรงและอัตราเร่งที่สูงมาก  ดังจะเห็นได้จากศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยที่มีแนวโน้มลดลงทุกปี  จากลำดับที่  38  ในปี  2543  เป็น  44  ในปี  2544  ตามลำดับ  รัฐบาลจึงปรับกลยุทธ์การบริหารงานภาครัฐใหม่  ภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์  (Result Based Management)เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ความคุ้มค่าเป็นรูปธรรมและได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอันเป็นการสร้างศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันบนเวทีโลก

 

2.   การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ

                รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบราชการและระบบบริหารภาครัฐโดยใช้การบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  หรือผลงานหลัก  (Result  Based  Management : RBM)   โดยใช้ระบบประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม  ซึ่งผลการประเมินนี้จะนำมาใช้ในการตอบคำถาม  ถึงความคุ้มค่าในการทำงาน  ใช้แสดงผลงานต่อสาธารณะและเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น  ผลสัมฤทธิ์ในความหมายของ  RBM  ประกอบไปด้วยผลผลิตและผลลัพธ์

            จากแนวคิด  RBM  แสดงให้เห็นว่าการบริหารนั้นครอบคลุมไปถึงการบริหารงานหลายเรื่อง  เริ่มตั้งแต่การวัดผลการปฏิบัติงาน  (Performance  Measurement)  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการบริหารลักษณะนี้  เพราะหากเราไม่สามารถวัดผลงานได้  เราก็ไม่สามารถปรับปรุงให้เกิดผลงานที่ดีขึ้นได้  การเทียบงาน  (Benchmarking)  เป็นการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของงานและกระบวนการทำงานโดยเทียบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด  (Best  Practices)  คุณภาพการให้บริการ  (Service  Quality)  เป็นการยกระดับคุณภาพของการบริการให้ผู้รับบริการพอใจ  การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน  (performance  Auditing)  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูล  การประเมินผลโครงการ  (Program  Evaluation)  เป็นการพิสูจน์ความสำเร็จของโครงการ  และยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์  การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน  (Devolution  and  Autonomy)  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ  สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันเวลา

                  การนำแนวคิด  RBM  ไปสู่การปฏิบัติ  สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักได้จัดทำแผนการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ  ..  2540-2544  ขึ้น  เพื่อเป็นกลไกปฏิรูประบบราชการอย่างเป็นรูปธรรมอันประกอบไปด้วย

2.1    แผนการปรับเปลี่ยน  บทบาท  ภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ

มุ่งเน้นให้ภาครัฐมีทิศทางในการปรับบทบาท  ภารกิจการบริหารงาน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคง  รวมทั้งสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามรถของประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้

2.2    แผนการปรับเปลี่ยนระบบงานงบประมาณการเงินและการพัสดุ

มุ่งเน้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการงบประมาณของประเทศเป็นระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน  เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการบริหารงานด้านต่างๆของภาครัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของการทำงานเป็นหลักรวมทั้งการพัฒนาระบบบัญชีการเงินภาครัฐและระบบการบริหารพัสดุ

2.3    แผนการปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล

มุ่งเน้นการบริหารแนวใหม่  โดยจัดทำแผนงาน  สร้างระบบบริหารบุคคล  จัดทำแผนงานสร้างระบบนักบริหารระดับสูง  และผู้นำสำหรับอนาคต  รวมทั้งปรับขนาดกำลังคนภาครัฐให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติ

2.4    แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย

มุ่งเน้นให้กฎหมายมีความทันสมัยและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตรงตามข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

2.5    แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมในการบริหารงานภาครัฐ

มุ่งสร้างวัฒนธรรมการทำงานในภาครัฐที่เน้นความสุจริต  ขยัน  อดทน  มีความรับผิดชอบสูง  มุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนและส่วนรวม

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐทั้ง  5  แผน  คือประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ได้รับความสะดวกจากระบบราชการ  เพื่อให้การดำเนินงานในครั้งนี้บรรลุตามเจตนารมณ์  รัฐบาลได้กำหนดมาตรการให้ทุกส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติงานให้ตอบสนอง  วัตถุประสงค์โดยทบทวนบทบาท  ภารกิจ  ลดตัดทอนภารกิจที่ซ้ำซ้อน  ปรับปรุงรูปแบบขั้นตอนวิธีทำงาน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  และลดต้นทุนค่าใช่จ่ายในการดำเนินงาน  อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีผลงานเป็นรูปธรรม  มีพันธกิจที่ชัดเจน  มีแผนกลยุทธ์  เป้าหมาย  ผลการทำงานที่สอดคล้องกับพันธกิจ  ใช้งบประมาณคุ้มค่าภาษี  ประชาชนมีระบบบัญชีที่โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้เป็นที่ยอมรับของประชาชน  มีขั้นตอนการทำงานที่สั้นเรียบง่ายและโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

 

3.  การเปรียบเทียบการจัดทำงบประมาณระบบเดิมและระบบใหม่

 

คุณลักษณะ

การจัดทำงบประมาณระบบเดิม

การจัดทำงบประมาณระบบใหม่

 

- องค์กรภาครัฐได้รับการจัดสรรงบประมาณตามโครงสร้าง  แผนงาน/งาน/โครงการ  จำแนกประเภทรายจ่าย  7  หมวด

1.  เงินเดือนและค่าจ้างประจำ

2.  ค่าจ้างชั่วคราว

3.  ค่าตอบแทน  ใช้สอยและวัสดุ

4.  ค่าสาธารณูปโภค

5.ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

6.  เงินอุดหนุน

7.  รายจ่ายอื่นๆ

- องค์กรภาครัฐได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานแบบวงเงินแบ่งเป็น  4  งบ  ได้แก่

1.  งบบุคลากร

2.  งบดำเนินงาน

3.  งบลงทุน

4.  งบอุดหนุน

- กำหนดให้มีเงินประจำงวด  3  งวด  งวดละ  4  เดือน

- กำหนดให้มีเงินประจำงวด  4  งวด  งวดละ  3  เดือน

- ให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินสด

-  มีรายงานการใช้จ่ายเงินในรูปกระแสเงินสดโดยองค์กรภาครัฐ

- มีรายงานของสถานการณ์ใช้จ่ายเงินของประเทศ  จัดทำโดยกรมบัญชีกลาง

- องค์ภาครัฐรายงานทางการเงินในรูปงบดุล  งบกระแสเงินสด  และงบกำไรขาดทุน

 

 

คุณลักษณะ

การจัดทำงบประมาณระบบเดิม

การจดทำงบประมาณระบบใหม่

 

- รายงานผลการดำเนินการ  แสดงผลการใช้จ่ายเงิน  งบประมาณเบิกจ่ายจริงโดยองค์กรภาครัฐใช้แบบฟอร์มสำนักงบประมาณ

- รายงานผลการดำเนินงานประกอบด้วยผลผลิต/ผลลัพธ์ที่คาดหวังเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดผลผลิต/ผลลัพธ์จริง

- รายงานผลการดำเนินงานองค์กรภาครัฐต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

 

2. บทบาทของสำนักงบประมาณ

- ควบคุม

- กำกับดูแล

3. ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการงบประมาณ

- การบริหารงบประมาณ

- การวางแผนและการติดตามประเมินผล

4. เครื่องมือ

- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ  ..  2502

- กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

- มาตรฐานการจัดการทางการเงิน  7  Hurdles

1. การวางแผนงบประมาณ

2. การคำนวณต้นทุนการผลิต

3. การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

4. การบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ

5. การบริหารสินทรัพย์

6. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการ

7. การตรวจสอบภายใน

 

 

คุณลักษณะ

การจัดทำงบประมารระบบเดิม

การจัดทำงบประมาณระบบใหม่

 

- ระบบการอนุมัติเงินประจำงวด

- ราคามาตรฐาน

- การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจการจัดทำงบประมาณและบริหารงบประมาณ

5.ข้อมูลสารสนเทศ

- วัตถุประสงค์

- รายละเอียดการใช้จ่ายตามรายการ

- วัตถุประสงค์

- ผลลัพธ์

- ผลผลิต

- กิจกรรม

- ผู้รับผิดชอบ

 

                 งบประมาณระบบใหม่  ก็คือ  ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน  (Performance  based  budgeting)  ซึ่งก็หมายถึงระบบงบประมาณที่ความสำคัญกับการกำหนดพันธกิจ  (Mission)  ขององค์กร  เป้าหมาย  และวัตถุประสงค์  กลยุทธ์  แผนงาน  งาน/โครงงาน  อย่างเป็นระบบ  มีการติดตามและประเมินผลสม่ำเสมอ  เพื่อวัดผลสำเร็จของงาน  เป็นระบบที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากร  การเงิน  และพัสดุที่สะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จของงานหรือพันธกิจต่างๆ ขององค์กร  หรือของรัฐภายใต้ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแสะสังคมที่ดี  ที่เรียกว่าหลักธรรมภิบาล  (Good  Governance)  ซึ่งประกอบด้วย

1)      การมีส่วนร่วม  (Participation)

2)      นิต

หมายเลขบันทึก: 213951เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 03:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท