เทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง


เทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง

เทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง

ที่มา : มีคนส่งเมล์มาให้

เกี่ยวกับผู้เขียน :-

เป็นดอกเตอร์ทางด้านประวัติศาสตร์และภาษาเอเชียตะวันออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

และเคยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งสุดท้ายคือรองปลัดกระทรวง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภค

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา

ทุกวันทุกคนบนโลกใบนี้มีเวลาเท่าเทียมกันคือ 24 ชม.

อย่างไรก็ดี มองจากแง่มุมของเศรษฐศาสตร์เวลาของทุกคนมีคุณค่าไม่เท่ากัน

การบริหารเวลาของแต่ละคนจึงหมายถึงความแตกต่างระหว่างความสำเร็จกับความพ่ายแพ้

ค่าของเวลาเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ ซึ่งในแง่ธุรกิจคือต้นทุน

ฉะนั้นสถาบันศึกษาทุกแห่งที่สอนวิชาการบริหารธุรกิจจึงมีหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารเวลา

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ครั้งหนึ่ง เล่าปี่ ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนเป็นอภิมหาเศรษฐีแห่งดินแดน

ขงเบ้ง ว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
 

เล่าปี่ กล่าวว่า ข้าฯเห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวัน

จนเวียนเกล้าเวียนศีรษะไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขงเบ้ง บอกให้ลูกน้องไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่ง พร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ

เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร? ‘
 

ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัย พร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า

ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด? ‘

เล่าปี่ตอบว่า

ข้าฯเคยคิดว่า ข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้ว คือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีรุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าคือแมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงาน กลับกลายเป็นว่าปัจจุบันบริษัทมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง!!

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า

เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสามขั้น สูง กลาง และต่ำ

ขั้นต่ำ เน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก

ขั้นกลาง ใช้ตารางและโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน

ส่วนขั้นสูง เน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรี ควรเน้นการใช้แผนดำเนินงาน ตามสำคัญของงานเพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว

ทั้งสามขั้นอันดับ ต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เล่าปี่สารภาพว่า

หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่การส่งใบ slip บันทึก 

ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมเสร็จ
ไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า
 

คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี้แหละ!

ความจุของถังนี้เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนๆ หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวด เปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน ก้อนหิน คือ
ภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำ คือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขงเบ้งอธิบายพรางวาดผังประกอบคำอธิบาย ดังในตารางประกอบ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ATT202753

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปกติท่านเน้นงานประเภทใด? ‘  ขงเบ้งถาม
ก็ต้องเป็นประเภท ก.  เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล

แล้วงานประเภท ข. ล่ะ? ‘  ขงเบ้งถามต่อไป

เล่าปี่ตอบว่า

ข้าฯตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข. แต่ก็ไม่มีเวลาพอที่สนใจมัน
เป็นอย่างนี้ใช่ไหม  ขงเบ้งถาม พรางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็ม

แล้วพยายามใส่ก้อนหินเข้าไปซึ่งใส่ไม่ได้ เล่าปี่ตอบว่า ใช่ !
และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ? ‘  ขงเบ้งถามต่อ

พลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้ว

จึงถามเล่าปี่อีกว่า ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่อะไรลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม? ‘ 

ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า ใช่
จริงหรือ? ‘  ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่า

ให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด

บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่? ‘  ขงเบ้งพูดพรางเทเม็ดทรายลงไปอีก

จนหมด แล้วทีนี้ละ? ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม? ‘  ขงเบ้งถามต่อไป

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด

ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้แล้วหรือยัง? ‘
เล่าปี่ตอบว่า
เข้าใจแล้ว

พร้อมกับถามต่อว่า นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภท และเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม? ‘

ขงเบ้งตอบว่า

ใช่แล้ว การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มไปด้วยก้อนกรวด ทราย
และน้ำ ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้ แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อนในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆ เข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทราย และน้ำฯลฯ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เล่าปี่ยังถามว่า แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆ ออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไรล่ะ? ‘
ขงเบ้งตอบว่า

บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวด ย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์ ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบ แม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง

เล่าปี่ถามว่า เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน? ‘

ขงเบ้งตอบ

ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน? ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง!  และเสริมว่า

คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขงเบ้งสอนต่อไปว่า

คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพเพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลา และสิ่งแวดล้อม สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วน และควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ เคารพระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้


เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี
วัตถุในถัง ของขงเบ้งเป็นอย่างมาก พร้อมกับสารภาพว่า
มาวันนี้ข้าฯถึงเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า การต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะแม้ว่าข้าฯมีขุนพลเก่งๆ เช่น กวนอูและเตียวหุย แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย กับทำงานลักษณะ เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม  (เจี่ยนเลอจือหมาติวเลอซีกวา) ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ ความฝัน !

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วคุณละ..จัดการกับตัวเองและงานที่ทำแบบไหน?

ลองนำบทเรียนเทคนิคการบริหารเวลาของขงเบ้ง ไปใช้ดูสิค่ะ

ฉันเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้เวลาของคุณมีคุณค่ามากกว่าวิธีเดิมๆเยอะเลย

แล้วก็จะได้ประสบความสำเร็จเป็นอภิมหาเศรษฐีในเร็ววัน

มันจะไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป แต่มันคือความจริง จริงๆนะค่ะ

...อิอิ..!!!!

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 213728เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 05:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคะ่ จะลองปฏิบัติดู น่าจะทำให้บริหารเวลาได้ดีขึ้น

  • สวัสดีค่ะ
  • เข้ามาอ่านกี่ที
  • ก็ได้ข้อคิดดีดีทุกทีเลยนะคะ
  • สบายดีนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท