การปฏิรูปการศึกษา


การปฏิรูปการศึกษา

6 ปี กับการปฏิรูปการศึกษา

 

                ปฏิรูปการศึกษาผ่านมาเป็นเวลา 6 ปีเศษ ประชาชน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้อะไรบ้างจากการปฏิรูป  นอกจากสภาพปัญหาที่ค่อนข้างจะวิกฤติเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอน  ปัญหา   สังคมที่ฟอนแฟะ  โดยเฉพาะคุณธรรมจริยธรรม  สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาความไม่สงบใน  3   จังหวัดชายแดนภาคใต้  ล้วนแล้วผู้ที่ตกเป็นจำเลยคือ การศึกษา

                จากการไปร่วมประชุมเสนอความเห็นเกี่ยวกับภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา  ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  ได้สภาพมาโดยสรุปที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา  5  ประเด็นคือ

                1.  ด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
                     จากเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษา     ทำให้คนไทยในปีการศึกษา 2547 ได้รับการศึกษาถึงระดับชั้นปีที่ 8.1 (โดยเฉลี่ย)  แรงงานไทยโดยเฉลี่ยได้รับการศึกษาในระดับมัธยม ร้อยละ 37.7

                2.  ด้านปฏิรูปการเรียนการสอน

                    การปฏิรูปการเรียน  เป็นหัวใจสำคัญที่มุ่งให้คนคิดเป็น  ทำได้  เป็นคนดี  คนเก่งและเรียนรู้อย่างมีความสุข  ค้นพบว่า ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนเพิ่มขึ้น  แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมยังอยู่ในระดับต้องปรับปรุง  เช่น  ด้านคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นต้น  แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องควรแก้ไขปรับปรุง  ได้แก่  หลักสูตรกระบวนการคิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน  การวัดและประเมินผลที่ยังไม่เอื้อต่อสภาพจริง

                3.  การผลิตและพัฒนาครู

                    ครูเป็นหัวใจสำคัญที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  แต่จากสภาพปัจจุบันระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังล่าช้า  แก้ปัญหาไม่ตรงประเด็น ความล่าช้า  ความไม่เข้าใจ  ไม่สนใจในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพความลังเลเกี่ยวกับนโยบาย  ความไม่ชัดเจน ไม่แน่นอนเกี่ยวกับระบบการผลิตครู  5  ปี มากน้อยเกินไปไหม     เป็นต้น

                4.  การบริหารจัดการ

                    หลักการจัดระบบการบริหารจัดการ คือ ความมีเอกภาพด้านนโยบายและให้มีความหลากหลายในการปฏิบัติ  มีการกระจายอำนาจตามลำดับ  แต่จากการปฏิบัติที่ไม่ลงตัวของโครงสร้างทุกระดับ  การแบ่งส่วนภารกิจ  การติดยึดอำนาจ  การหวงแหนอาณาจักร  ความไม่ลงตัวในการวางตัวบุคคลในทุกระดับบริหาร   จึงส่งผลให้การติดต่อประสาน  การดำเนินงาน  ระหว่างประชาชนกับราชการติดขัดไม่สนองความต้องการได้ตรงกัน

               5.  การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาขององค์กรต่าง ๆ

                    จากข้อค้นพบ  พบว่าการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มภาระการจัดการศึกษามากขึ้น  แต่ยังวนเวียนโต้แย้งกันเกี่ยวกับการถ่ายโอนโรงเรียนเพียงประเด็นเดียว  เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการเชื่อมโยง  หรือการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่แท้จริง  และองค์กรทางสังคมของพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย  เป็นต้น

                จากข้อเท็จจริงที่ค้นพบ  ในฐานะที่เป็นคนของรัฐ  รับเงินเดือนซึ่งได้จากภาษีอากรของประชาชน สิ่งซึ่งน่าจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การแก้ไขปัญหาของประชาชนให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาล  ต้องการปรับกระบวนทัศน์เสียใหม่  คิดอย่างคนยุคใหม่  ทำงานอย่างคนยุคใหม่  ที่มีจิตใจคิดเพื่อส่วนรวมมากกว่าคิดเพื่อตัวเอง  เพื่อครอบครัว  เพื่อเพื่อนฝูง  หากไม่รีบปรับเปลี่ยน  แล้วเราจะ

ไม่มีแผ่นดินให้อยู่อาศัย  ถึงมีอยู่แต่ไม่อาจก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วรุนแรงได้

                                                                                                                ดร.สุรเสน  ทั่งทอง

                                                                                                                  6  กันยายน  2548

 

หมายเลขบันทึก: 213632เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ด้วยความเห็นใจอาชีพครูเพราะเติบโตมาได้ทุกวันนี้ก็เพราะคุณแม่ที่เป็นครู...การปฏิรูปการศึกษาของเรา..พวกเราคงจะต้องช่วยกันทุกฝ่ายเท่าที่จะทำได้..ในชนบทก็มีศูนย์การเรียนรู้เกิดขึ้นมากมาย...เราจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร...เพื่อใคร..

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท