วิธีการเก็บสมุนไพรส่วนที่ใช้เป็นยา


           "พืชสมุนไพร" มีมากมาย บางทีก็อาจจะเอาเปลือกของลำต้นมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นยาหรือบางชนิดก็เอาดอกมาทำเป็นยา แต่บางอย่างอาจจะต้องใช้ใบก็ได้หรืออาจจะเอาส่วนของรากมาทำเป็นยาก็มีด้วยเหตุนี้เองการเลือกส่วนที่จะเอามาใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน จะเก็บอย่างไรจึงจะถูกวิธีหรือทำให้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหายสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเห็นจะได้แก่"ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บ "พืชสมุนไพรเอามาเป็นยา" นั้นเองการเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้นถ้าเก็บในระยะเวลาที่ไม่เหมาะก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรคของสมุนไพรได้นอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว
ยังจะต้องคำนึงถึงว่าการเก็บยานั้นถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชใช้เป็นยารู้หรือเปล่าดินที่ปลูกพืชสมุนไพรอากาศ เป็นอย่างไรการเลือกเก็บส่วนที่เป็นยาอย่างถูกวิธีการนั้น จะมีผลอย่างมาก
ต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรคหากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้ยาที่ได้มานั้นไม่เกิดผลดีในการบำบัดรักษาโรคได้เท่าที่ควร
หลักการโดยทั่วไปในการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกได้ดังนี้ »
1.เก็บรากหรือหัว
สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมดแล้วหรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อนเพราะเหตุว่าในช่วงเวลานี้รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง วิธีการเก็บก็จะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหายแตกช้ำหักขาดขึ้นได้รากหรือหัวของพืชสมุนไพรก็มี ข่า กรชาย กระทือขิง เป็นต้น
 
2.ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
ควรจะเก็บใบที่เจริญเติบโตมากที่สุด หรือพืชบางอย่างอาจระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจนเก็บใบอ่อนหรือไม่แก่เกินไป เก็บช่วงดอกหรือบานหรือช่วงเวลาที่ดอกบาน เป็นต้นการกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบเพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุด วิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ดตัวอย่างเช่น ใบกระเพรา ใบฝรั่ง ใบฟ้าทะลาย เป็นต้น
 
3.ประเภทเปลือกต้นหรือเปลือกราก
เปลือกต้นโดยมากเก็บช่วงฤดูร้อนต่อกับช่วงฤดูฝน ประมาณยาในพืชสมุนไพรมีสูงและลอกออกได้ง่าย สะดวก ในการลอกเปลือกต้นนั้นอย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้น เพราจะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืชจะทำให้ตายได้ทางที่ดีควรลอกเปลือกกิ่งหรือส่วนที่เป็นแขน่งย่อย ไม่ควรลอกออกจากล้าต้นใหญ่ของต้นไม้ หรือจะใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงฤดูฝน
เหมาะมากที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโต
ของพืชควรสนใจวิธีการเก็บที่เหมาะสมจะดีกว่า
 
4.ประเภทดอก
โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น
 
5.ประเภทผลและเมล็ด
พืชสมุนไพรบางอย่างอาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่สุกก็มีเช่น ฝรั่งเก็บเอาผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้ต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทองเมล็ดชมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น
 
คุณภาพและการรักษา »
คุณภาพของสมุนไพรที่จะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพรและวิธีการเก็บ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะต้องคำนึงอีกอย่างก็คือพื้นดินที่ปลูกพืชสมุนไพร เช่น ลำโพง ควรปลูกในพื้นดินที่เป็นด่างจะมีปริมาณตัวยาสูง สะระแหน่ หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณ
น้ำมันหอมระเหยสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโต และภูมิอากาศเป็นต้นสิ่งเหล่านี้ต่างก็มีผลต่อพืชสมุนไพรด้วยกันทั้งสิ้นจึงควรพิจารณาให้ดีในเรื่องนี้ด้วย
เก็บพืชสมุนไพรให้ถูกต้อง เหมาะสม ในช่วงเวลาที่สมควรเก็บเก็บแล้วจะได้พืชสมุนไพรที่มีปริมาณของตัวยาสูง มีคุณค่า มีสรรพคุณทางยาดีมาก ดีกว่าเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม

การเก็บรักษาพืชสมุนไพรและการแปรสภาพ

ในการใช้"พืชสมุนไพร" มาทำเป็นยารักษาโรคต่างๆนั้น แพทย์แผนโบราณใช้ "พืชสมุนไพร" นี้ได้ทั้งสดๆและตากแห้งแล้วในการใช้ "พืชสมุนไพร"ขณะที่ยังสดอยู่ เป็นวิธีการที่สะดวกมากใช้ก็ง่ายแต่ฤทธ์ของตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมนุไพรอาจจะไม่คงที่ ในบางครั้งการออกฤทธิ์อาจจะดีแต่บางครั้งก็ออกฤทธิ์ไม่ดีนัก

            "พืชสมุนไพร" ที่ใช้สดๆนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ว่านหางจระเข้รากหญ้าคา แต่การใช้สมุนไพรส่วนมากนิยมใช้แห้งเพราะจะได้คุณค่าของยาที่คงที่โดยเลือกเก็บสมุนไพรที่ต้องการตามฤดูกาลเก็บของพืชแล้วนำเอามาแปรสภาพโดยผ่านขบวนการที่เหมาะสมเพื่อเก็บยาเอาไว้ได้เป็นเวลานานในการแปรสภาพยาที่เหมาะสมนั้น โดยทั่วไปก็จะต้องนำส่วนที่ใช้เป็นยา
มาผ่านการคัดเลือก ผ่านการล้าง การตัดเป็นชิ้นที่เหมาะสมแล้วใช้ความร้อนทำให้แห้งเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาวิธีการแปรสภาพยาสมุนไพรนั้นจะแตกต่างไปตามชนิดของ"พืชสมุนไพร"
ส่วนที่ใช้เป็นยาและความเคยชินของแต่ละท้องที่วิธีการที่ใช้บ่อยและจะเอาส่วนไหนของพืชที่เป็นยามาใช้ คือ
รากและส่วนที่อยู่ในใต้ดิน
ก่อนอื่นจะต้องคัดเอาขนาดที่พอๆกันเอาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้สะดวกในการแปรสภาพต่อไปนั้น ต่อจากนั้นก็ล้างดินและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ให้สะอาดเสียก่อนเอารากฝอยออกไปให้หมด   ถ้าเป็นพืชที่ไม่แข็งนำมาผ่านขบวนการให้ความร้อนตามแต่ ชนิดของพืชนั้นๆพืชที่ใช้หัวและรากประกอบด้วยโปรตีน แป้ง เอนไซม์ หากผ่านความร้อนตามแบบต้มหรือนึ่งจะทำให้สะดวกในการเอาไปทำให้แห้งหลังจากผ่านขบวนการความร้อนแล้วนำเอามาตัดเป็นชิ้นๆแล้วอบให้แห้งในอุณหภูมิที่เหมาะสม
การเก็บรักษาพืชสมุนไพร
การเก็บรักษาพืชสมุนไพรเอาไว้เป็นระยะเวลานาน มักจะเกิดการขึ้นราหรือเกิดมีหนอน เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสี กลิ่นทำให้ยาสมุนไพรเสื่อมคุณภาพลงได้ ทำให้ไม่ออกฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรคได้ เกิดการสูญเสียฤทธิ์ของยาไปเลย ด้วยเหตุนี้เองจะต้องมีการเก็บรักษา ที่ดีเพื่อประกันคุณภาพและฤทธิ์การรักษาของยาสมุนไพร
 
ในการเก็บรักษานั้นควรปฏิบัติดังนี้ »

     -ยาที่เก็บรักษาเอาไว้จะต้องทำให้แห้ง เพื่อป้องกันการขึ้นราและการเปลี่ยนลักษณะเกิดภาวะ"ออกซิไดซ์" ยาที่ขึ้นราง่ายจะต้องเอามาตากแดดอยู่เสมอ
     -สถานที่ ที่เก็บรักษาจะต้องแห้ง เย็น การถ่ายเทอากาศจะต้องดี
     -ควรแบ่งเก็บเป็นสัดเป็นส่วน ยาที่มีพิษ ยาที่มีกลิ่นหอมควรเก็บแยกเอาไว้อย่างมิดชิดป้องกันการสับสนปะปนกัน
     -จะต้องคอยหมั่นดูแลอย่าให้มีหนอน หนู แมลงต่างๆ มารบกวนรวมทั้งระวังเรื่องความร้อนไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เรื่องของพืชสมุนไพรนั้นมีความสำคัญมากเมื่อนำเอามาใช้ประโยชน์จะต้องรู้เรื่องมีความเข้าใจกับพืชที่มีคุณค่าทางยาชนิดนี้เอาไว้เสมอ ท่านจะได้ของดีคือสารที่เป็นยาจากพืชที่มีคุณเหล่านี้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21330เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท