มรดกทางธรรมชาติของชาวเมืองเลย...กำลังถูกรุกรานจริงหรือ


ไม่อยากได้ความศิวิไล...แต่อยากให้มีความสงบสุข

สถานการณ์เหมืองแร่ในจังหวัดเลย

 

     ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเลยซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง และมีทิวเขามากมาย เช่น
ภูหลวง ภูเรือ ภูกระดึง โดยรวมมีการยืนขอทำเหมืองแร่ ทั้งประทานบัตรทำเหมืองแร่ อาชญาบัตรสำรวจแร่มากมายและมีการทำเหมืองอยู่ด้วย
พื้นที่ที่กำลังขอรวมกว่า 6,000 กว่าไร่ กำลังขออยู่ 60,000 ไร่ ทั้งหมด 240 แปลงกำลังดำเนินการทำเหมืองอยู่ เมื่อลองระบุตำแหน่งในแผนที่ก็พบว่ามีการขอทำเหมืองแร่ในลุ่มน้ำเลยทั้งลุ่มที่ อ.วังสะพุง อ.เมือง อ.เชียงคาน อ.ปากชม มี 6 ประเภทไร่ ขออยู่
เหมืองทองแดง อยู่ตอนกลางของแม่น้ำเลยประมาณ 15,000 ไร่ อ.วังสะพุง อ.นาด้วง อ.เมือง
เหมืองเหล็ก
6,000 กว่าไร่ อยู่ที่ อ.เชียงคาน ส่วนใหญ่ เพิ่งมีกรณีจะสร้างโรงถลุงเหล็ก ที่ บ.ธาตุ ที่เดิมเคยขุดไปถลุงที่อื่น รถบรรทุกวิ่งขึ้นวิ่งล่องไปขายที่อื่น แต่ต่อมาจะมาตั้งโรงถลุงที่แหล่งแร่ และใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ชาวบ้านเขาก็ได้ยินข่าวสารข้อมูลว่าถ่านหินอันตรายจากแม่เมาะ จากกรณีที่ทางระยองเขาออกมาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินลูกหลานชาวบ้านก็โทรมาบอกว่าอย่าให้สร้างในบ้านเรา ทางเลือกเดียวของชาวบ้านคือไม่เอาดีไม่มีทางเลือกอื่น
เหมืองหินอุตสาหกรรม โรงโม่หิน 8000
เหมืองถ่านหินที่ ปากชม 1000 กว่าไร่
เหมืองแบไรต์ 1000 กว่าไร่
เหมืองหินแรนิต/หินประดับ
เหมืองทองคำ เป็นแร่ที่มีพื้นที่มากที่สุด 30,000 กว่าไร่ซึ่งกำลังจะขยายพื้นที่ ปัจจุบันดำเนินการทำเหมืองไปแล้ว 1,000 พันกว่าไร และที่ภูทัพฟ้า และภูอื่น ๆ ในพื้นที่ที่จะเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ทำคำ ไหลลงไปห้วยน้ำซู้ ห้วยน้ำฮวย ซึ่งจะไหลไปน้ำเลยทั้งหมด หากรวมพื้นที่ที่จะขยายใหม่ประมาณ 20 หมู่บ้านโดยเฉพาะในเขต อ. เมือง และลุ่มน้ำหมาน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบทำประปาในจังหวัดเลย

ปัญหาที่เจออยู่ในเหมืองแร่ทองคำในขณะนี้ ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ EIA 13 ข้อ ไม่มีการแก้ไขใด ๆ และกำลังจะเห็นว่าขยายไปอีก 6 ตำบลซึ่งคำถามคือเราจะได้รับอะไรจากเหมืองแร่ทองคำบ้าง เราพยายามศึกษาและให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินในว่ามันได้มันเสียอย่างไร ผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติก็เริ่มกินไม่ได้แล้ว

จากประสบการณ์การทำเหมือแร่ในต่างประเทศ อินโดนีเซีย ก็จะปัญหาปนเปื้อนสารเคมีแหล่งน้ำ ปลาตับโต คนป่วยไข้มากคนเลยก็เลยต้องรอรับมรดกบ่อไซยาไนต์ อากาศ น้ำ อาหาร และผลกระทบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อีกมากมาย.

อภิญญา กรรณลา ศูนย์ประสานงานประชาสังคมจังหวัดเลย

 



เรียบเรียงจากการเสวนา"มองอีสานผ่านนโยบายการพัฒนาประเทศ" ในเวทีการประชุมเครือข่ายนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชนภาคอีสาน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ่านบทความนี้แล้วเศร้า....ไม่อยากให้ใครมาพัฒนาอะไรในบ้านเมืองของเราเลย  อยากให้เป็นอยู่เหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนนี้...ที่เมืองเลยเป็นเมืองเล็กๆ  แต่สงบสุข

 

คำสำคัญ (Tags): #km ครูอำเภอปากชม
หมายเลขบันทึก: 213273เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...สุดท้ายก็พี่น้องชาวรากหญ้าของเราแหละครับ..ที่จะได้รับเคราะห์กรรมจากการพัฒนาในครั้งนี้..เราจะบอกลูกหลาน อย่างไรดีล่ะ..

ยังจำเรื่องราวของชาวบ้านคริสตี้บนและล่าง ได้หรือไม่  ขณะนี้มีผู้ป่วยจากผลของการทำเหมืองแร่อย่างไรบ้าง

อ่านบทความนี้แล้วเศร้า....ไม่อยากให้ใครมาพัฒนาอะไรในบ้านเมืองของเราเลย  อยากให้เป็นอยู่เหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนนี้...ที่เมืองเลยเป็นเมืองเล็กๆ  แต่สงบสุข

เห็นด้วยมากๆๆๆๆๆๆๆ ค่ะ

เราอยู่แบบเรียบง่าย....ใช้ชีวิตพอเพียงตามประสาไทเลย

ก็มีความสุขพอแล้ว

อย่ามารุกรานมรดกธรรมชาติของเราเลย

ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอกระติก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท