ครอบครัวเรียนรู้มหกรรมน้ำพริก


ครอบครัวเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ของคนในชุมชน

เรื่องที่  1                                มหกรรมน้ำพริก............

                                                อาหารปลอดภัย......ชุมชนถืมตอง

           

                จากประเด็นปัญหาการการไร้พรมแดนของความเจริญที่ถั่งโถมเข้าสู่ชุมชนแทบจะตั้งตัวหาที่เกาะยึดไม่ได้  การบริโภคอาหารประจำวันของคนในครอบครัวคนชนบททุกวันนี้ก็ได้รับผลกระทบจากกระแสของการบริโภคนิยมที่เน้นความสะดวก สบาย ทันใจ เปิดปรุ๊บ กินปรับ

               

แกนนำครอบครัวเข้มแข็งแห่งบ้านถืมตอง หมู่ที่ 1 ตำบลถืมตอง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน จึงได้มีแนวคิดร่วมกันที่จะจัดกิจกรรมให้ครอบครัวได้เรียนรู้เรื่องการกินอาหารพื้นบ้านของคนในชุมชน โดยหยิบยกประเด็นเรื่องอาหารพื้นบ้าน ประเภท น้ำพริก และผักจิ้มน้ำพริก มาเป็นโจทย์ให้คนในครอบครัวมาเรียนรู้ด้วยกัน

                กระบวนการเรียนรู้เรื่องน้ำพริกนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่เราคิดร่วมกันและตกลงที่จะใช้น้ำพริกเป็นเครื่องมือให้คนได้เรียนรู้ ประเด็นนี้ได้ถูกนำไปเป็นวาระสำคัญในที่ประชุมของหมู่บ้านในคืนก่อนเกิดเวทีขึ้นหนึ่งสัปดาห์ เป้าหมายเพื่อที่จะขอความเห็นและรับสมัครครอบครัวที่จะร่วมกระบวนการเรียนรู้เรื่องน้ำพริกในชุมชนของเรา

                บรรยากาศในคืนประชุม เมื่อแกนนำได้กล่าวถึงความสำคัญของเรื่องการจัดเวทีให้ครอบครัวเรียนรู้ครั้งนี้ทางแกนนำต้องการที่ฟื้นเรื่องวิถีการกินอาหารพื้นบ้านของคนในหมู่บ้านเราเพื่อกระตุ้นให้ลูกหลานได้ตระหนักและสืบต่อ ผู้คนเข้าร่วมประชุมเริ่มให้ความสนใจ และสุดท้ายที่มีครอบครัวสนใจออกมาจับฉลากน้ำพริก ซึ่งใครจับได้น้ำพริกอะไรก็ต้องทำน้ำพริกนั้นมาเพื่อที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับคนในเวที

               

                                บ้านหลวงปี๋นี้      กิ๋นลูกจิ้นปลา

                                ปี๋ตี่ผ่านมา             หน่อปิ๊บบ่ต้ม

                                เปิ่นเล่าลือกั๋น       เสียงดังจ้นจ้น

                                กิ๋นยั๋งระวังพ้องเน้อ ผักแค๊บผักปั๋ง

                                บ้านเฮ่าป่าเล้อ      ตามฮั้วบ้านของเฮา

                                กิ๋นกั๋นไปเต๊อะ      ชีวิตบ่อับเฉา

                                กำกิ๋นบ้านเฮา       กิ๋นยั๋งก็ได้ กิ๋นยั๋งก็ได้

                                                                พ่อผู้ใหญ่หลุ่ย  ปัญญาวัย ....แต่งสดจากเวที

               

                เสียงค่าว เกี่ยวกับการกินอาหารพื้นบ้านของคนในเมืองน่านดังขึ้นเป็นสัญญาณดีที่วันนี้ได้ทำให้เรามีโอกาสได้มาพบกันและพูดคุย ใส่ใจเรื่องการกินอาหารที่ปลอดภัย  น่านเองมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ประชาชนอำเภอบ้านหลวงประสบเหตุดังกล่าวติดต่อกัน 2 ปีเป็นบทเรียนที่สำคัญ และเน้นย้ำให้คนน่านใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เรื่องอาหารจากชุมชนและนอกชุมชน.......สำคัญยิ่ง สิ่งเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเรามาก...มีความจำเป็นต้องเรียนรู้

 

 

                วันนี้ ที่นี่ เวทีมหกรรมน้ำพริก อาหารปลอดภัยที่บ้านถืมตอง มีเนื้อหาหลักคือเรื่องของการฟื้นความรู้เรื่องอาหารพื้นบ้าน น้ำพริกและผักพื้นบ้านที่เป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก แต่ละครอบครัวที่มาได้ตำน้ำพริกจากบ้านของตนเองพร้อมผักจิ้มใส่ปิ่นโตพร้อมข้าวเหนียว มาเป็นอาหารมื้อกลางวันและสำคัญที่สุดอาหารเหล่านี้นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ร่วมกันในเวที ในระหว่างการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้ทดลองให้กลุ่มเยาวชนตำน้ำพริก 2 อย่างคือ

                มีครอบครัวที่สนใจเข้าร่วม 30 ครอบครัวและจับฉลากเพื่อเตรียมทำน้ำพริกมาเป็นอาหารมื้อเที่ยง และสื่อการเรียนรู้ร่วมกันในวันจัดกิจกรรม

                แต่ละครอบครัวที่มาได้ตำน้ำพริกจากบ้านของตนเองพร้อมผักจิ้มใส่ปิ่นโตพร้อมข้าวเหนียว มาเป็นอาหารมื้อกลางวันและสำคัญที่สุดอาหารเหล่านี้นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ร่วมกันในเวที

                ช่วงที่ 1 เรียนรู้ถึงเหตุปัญหาที่คนในครอบครัวของเราไม่ชอบกินน้ำพริกและผักพื้นบ้านที่กินคู่กับน้ำพริก (โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเป็นวัยรุ่น ) พบว่า

                - ไม่ชอบรสชาติของน้ำพริก (เผ็ด / มีกลิ่น เช่น ไม่ชอบกลิ่นกระเทียม กลิ่นปลาร้า)

                -  มื้อเย็นไม่ชอบกินข้าวที่บ้าน อาหารสำเร็จรูปหากินได้ง่ายกว่า อร่อยกว่า หลังเลิกเรียนเช่นกินก๋วยเตี๋ยว หรือ มาม่า ขนม นม โจ๊กซอง

                - แพ้สัตว์หรือวัตถุดิบที่นำมาทำน้ำพริก เช่น ตัวต่อ ,จิ้งหรีด,มดแดง,กบ ,เขียด,แมลงรถด่วน แมงดา ฯลฯ)

                - ไม่ชอบกินผัก

 

                ช่วงที่ 2 วิธีการและแนวทางในการให้คนในครอบครัวของเราหันมากินน้ำพริกและมีส่วนร่วมในการทำอาหารในครอบครัว

-          แม่ชวนลูกเข้าครัวทำกับข้าว ใช้ลูกเป็นลูกมือ ในการทำอาหาร หรือนึ่งข้าว

-          หาพืชผัก /อาหารประเภทอื่น ๆ ที่เด็กชอบเสริมให้ลูกได้กินเวลามีมื้อน้ำพริก

-          เล่าถึงคุณค่าของส่วนผสมน้ำพริกแต่ละชนิดให้ลูกฟังขณะที่ลงมือทำอาหาร

-          ปรับรสชาติของน้ำพริก ลดความเผ็ดลงบ้าง และประยุกต์ผักจิ้มน้ำพริก เช่น อาจจะผักชุบแป้งทอด

-          คนในครอบครัวมีการพูดคุยกันเรื่องเมนูอาหารแต่ละมื้อ (โดยเฉพาะมื้อเย็น)เพราะมีโอกาสได้กินข้าวร่วมกันและมีประเด็นพูดคุยถึงแนวทางการประหยัดการลดรายจ่ายจากการกินและบอกถึงคุณค่าน้ำพริกเชื่อมโยงน้ำพริกสู่หลักคำสอน เช่น น้ำพริกละลายแม่น้ำ , พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้

                ช่วงที่ 3  แบ่งกลุ่มให้ลูกได้ลงมือตำน้ำพริก กินร่วมกันในมือเที่ยง น้ำพริกที่เลือกคือ น้ำพริก เขียด และน้ำพริกปลาร้า โดยให้ลูก ๆ เป็นคนลงมือปรุงน้ำพริก

 

 

                ช่วงที่ 4 บทสรุปการเรียนรู้ในครั้งนี้ ความสำคัญของน้ำพริกกับชุมชนและฐานทรัพยากรในชุมชน

                ด้านสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่       คนบนภูสูงอยู่ห่างไกล มักจะให้ความสำคัญกับการถนอมอาหารเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องปรุงน้ำพริกซึ่งถือว่าเป็นอาหารหลัก เช่น ถนอมถั่ว (ถั่วเน่า) หมักปลา ปลาร้า ปลาแดก ปลาแห้ง เนื้อแดดเดียว ทำปลาเค็ม ปูเสียบ กุ้งเสียบ น้ำปู ปูเสียบ

                ฤดูกาล น้ำพริก ผักจิ้มน้ำพริก แต่ละฤดูกาลนั้นแตกต่าง กัน เช่น ช่วงฤดูนี้เป็นช่วงเข้าฝนต้นหนาว พืชผัก สัตว์แมลงอุดมสมบูรณ์การหาวัตถุดิบปรุงน้ำพริกไม่ใช้เรื่องยาก เช่น กบ เขียด ปลา แมงมัน จิ้งหรีด แมงดา ปลาไหล เม็ดขนุน มะขามอ่อน ฯลฯ

                จารีตประเพณีความเชื่อของคนในชุมชน คำสอนหลายคำมักมีเรื่องน้ำพริกอยู่ในคำสอนนั้น เช่น คำว่า พริกบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้ ได้บอกถึงเรื่องของการเอื้ออาทรแบ่งปันซึ่งกันและกัน หรือคำว่า ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ การทำอะไรให้ได้เฉพาะปริมาณ ไม่มีการวางแผน ไม่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม นั้นเป็นเรื่องของการสิ้นเปลืองทรัพย์สินเงินทอง แรงงาน เวลา ลงทุนไปมากแต่ไม่คุ้มค่า

                การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชุมชนกับสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องระบบนิเวศน์ในแปลงนา ข้าวปลอดภัย สัตว์ที่เป็นอาหารในแปลงนา เช่น ปู หอย ปลา กบ เขียด เตา ผักแวน ถ้าจะทำให้ปลอดภัยต้องครอบครัว ชุมชนต้องร่วมกันเป็นเครือข่ายรณรงค์ สร้างความปลอดภัย ลด ละ เลิก สารเคมี

                ตลอดถึงการดูแลพื้นที่สาธารณหน้าหมู่ เช่น พื้นที่ป่าชุมชน เป็นแหล่งอาหารในชุมชน ใช้ประโยชน์ร่วมกันภายใต้กฎกติกาของชุมชนอย่างยั่งยืน ให้มีกินตลอดปี

                การต่อสู้กับโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนไปและมีผลกระทบต่อชุมชน วิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เช่น กระแสบริโภคนิยมที่ทะลักเข้ามาเช่น ความสะดวก สบาย อร่อย สีสันสดใสน่ารับประทาน หาง่าย ,การเร่งรีบที่แข่งขันกับเวลา ตลอดถึงพื้นที่อาหารของคนในชุมชนถูกรุกราน ทำลาย ทั้งคนภายในและภายนอก ซึ่งทั้งหมดมิได้ส่งผลเฉพาะเรื่องอาหารการกิน หรือความเป็นอยู่ แต่ทั้งหมดได้ส่งผลเป็นห่วงโซอาหาร และทำลายสุขภาพของคนในชุมชนแบบไม่รู้สึกตัว

 

 

                 

                     อำ

เภอเมือง จังหที่ 4 มิถุนายน 2551

ผู้เรียบเรียง : อนงค์ อินแสง...................

 


ต้นเรื่อง                 เวทีครอบครัวเรียนรู้มหกรรมน้ำพริกบ้านถืมตอง ม.ที่ 1 ตำบลถืมตอง

ผู้เรียบเรียง              อนงค์  อินแสง เจ้าหน้าที่โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดน่าน มูลนิธิฮักเมืองน่าน

หมายเลขบันทึก: 213231เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณพี่ครับ เรื่องที่เขียน น่าสนใจมาก แต่มันไม่น่าอ่าน เหมือนพ่อน้องซอมพอเขียนเมื่อ5 ปีที่แล้ว คือ มันยาพรืด เหมือนเณรน้อยเขียนกระทู้เลย

ลองจัดรูปแบให้น่าสนใจและน่าอ่านนะครับ

ตัวเรื่องน่าสนใจ เอาเล่าแบบที่เลยเล่าปากเปล่า จะทำให้มีชีวิตมากขึ้น และลองเอารูปมาเล่าประกอบจะทำให้น่าสนใจขึ้นครับ เป็นกำลังใจให้ครับ ใช้ G2K บ่อยๆ อ่านของคนอื่นบ้าง แล้วจะรู้เคล็ดวิชา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท