70. การกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา


การกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา

การกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา 

ในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ได้กำหนดรูปแบบของโครงสร้างการบริหารและการจัดการศึกษาของชาติออกเป็น  2 ระดับ  คือ ระดับราชการในส่วนกลางและระดับองค์กรปฏิบัติในท้องถิ่น 

 

การบริหารและการจัดการศึกษาระดับราชการในส่วนกลาง

การบริหารและการจัดการศึกษาระดับราชการในส่วนกลาง ได้ปรับบทบาทจากเดิมที่เคยมีหน้าที่ทั้งในด้านอำนวยการบริหารและกำกับการปฏิบัติ มาทำหน้าที่ด้านการอำนวยการเพียงอย่างเดียว เป็นการบริหารและการจัดการศึกษาระดับนโยบาย  มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

 .. 2542  เฉพาะในส่วนที่เป็นนโยบายและแผน มาตรฐาน  การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม  ตรวจสอบ การประเมินผล  และการดำเนินงานที่ต้องปฏิบัติในระดับชาติ 

ตัวอย่างองค์กรราชการส่วนกลางที่สำนักงานปฏิรูปการศึกษาได้เสนอไว้  คือ สภาและสำนักงาน

เลขาธิการสภาการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมแห่งชาติ   คณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   คณะกรรมการและ

สำนักงานคณะกรรมการการศาสนา และวัฒนธรรมและสำนักงานปลัดกระทรวง

 

การบริหารและการจัดการศึกษาระดับองค์กรปฏิบัติในท้องถิ่น

องค์กรปฏิบัติในท้องถิ่น กำหนดขึ้นตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542  ที่ต้องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล  และการบริหารทั่วไป  ไปยังคณะบุคคลที่มาจากประชาชน ชุมชน และท้องถิ่นในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา  เพื่อทำหน้าที่กำกับ ดูแล  ส่งเสริม  สนับสนุนการศึกษาของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น  โดยสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ

การบริหารและการจัดการศึกษาระดับองค์กรปฏิบัติในท้องถิ่น เป็นการบริหารและการดำเนินงานระดับปฏิบัติการในท้องถิ่น ที่กำหนดให้การปฏิบัติเสร็จสิ้นที่สถานศึกษาให้มากที่สุด โดยยึดหลักความมีอิสระและคล่องตัวเป็นสำคัญ  แต่ถ้าหากไม่สามารถเสร็จสิ้นที่สถานศึกษาได้ ให้สิ้นสุดที่เขตพื้นที่การศึกษา โดยต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

องค์กรปฏิบัติในท้องถิ่น  แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ  เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

1.   เขตพื้นที่การศึกษา  ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้ตราขึ้นเพื่อมุ่งที่จะปฏิรูประบบการบริหารจัดการการศึกษาของไทย ยึดหลักความมีเอกภาพในด้านนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้ประชาชนมีส่วนร่วม  จึงกำหนดให้มีการบริหารจัดการศึกษาในลักษณะของเขตพื้นที่การศึกษา  รวมทั้งกำหนดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญายึดเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหลัก (มาตรา 37)  กฎหมายได้กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษามีภารกิจหลักดังนี้

1.1    1.1  กำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา

1.2    1.2  พิจารณาการตั้ง  ยุบ  รวม  หรือเลิกสถานศึกษา

1.3    1.3  ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

1.4    1.4  ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาให้

สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

1.5    1.5  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน

องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

1.6    1.6  กำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา

                2.   สถานศึกษา  เป็นหน่วยงานปฏิบัติการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ที่ต้องการให้สามารถบริหารงานต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว และเสร็จสิ้นในองค์กรของตนเองได้มากที่สุด การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังสถานศึกษาในเขตพื้นที่

การศึกษามีลักษณะเป็นการบริหารที่ให้สถานศึกษา/โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management) ใน

4  ด้าน คือ ด้านวิชาการ   งบประมาณ   การบริหารงานบุคคล    และการบริหารทั่วไป

 

การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และ

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2542

ในการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐต้องโอนภารกิจในการจัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจัดการทั้งหมด ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละท้องถิ่น  ตามแนวทางของรัฐธรรมนูญและกฏหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการดำเนินการในระยะยาว  เรื่องการจัดการศึกษาจึงควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางทรัพยากร  บุคลากร และมีความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น  และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม ตามมาตรา  42

ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดการศึกษาเอง

                เขตพื้นที่การศึกษาจะทำหน้าที่เพียงการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย และได้มาตรฐานการศึกษา แต่รัฐก็ยังคงกำกับดูแลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต่อไป ทั้งในด้านการควบคุมมาตรฐานการศึกษาและด้านอื่นๆ  และสามารถเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .. 2542 

 

 ที่มา  :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สรรค์ วรอินทร์    , นางสาวทิพวัลย์   คำคง

หมายเลขบันทึก: 212529เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท