ชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา ในย่านวัดเกตเชียงใหม่


เชียงใหม่กับการอพยพของชาวมุสลิม

ชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา ในย่านวัดเกตเชียงใหม่

 

เชียงใหม่กับการอพยพของชาวมุสลิม  
ในปี พ.ศ. 1971 พญาสามฝั่งแกนได้สร้างวัดเกตและเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ท่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบๆ วัด และมีทุ่งนากว้างใหญ่คั่นอยู่ระหว่างหมู่บ้านอื่น  ในยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองของการค้าขายทางเรือขึ้นล่องระหว่างเชียงใหม่กับหัวเมืองทางใต้จนถึงกรุงเทพฯ ท่าน้ำวัดเกต จึงถือเป็นย่านเศรษฐกิจของการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317 2464) ยุคนี้เองเริ่มมีคนต่างถิ่นต่างเชื้อชาติและศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านวัดเกต ได้แก่กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ชาวอเมริกา เข้ามาเผยแผ่ศาสนา  ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสำนักงานทำไม้ในภาคเหนือ  ชาวมุสลิมจากปากีสถานและอินเดียและจีนยูนนาน และชาวซิกข์จากแคว้นปัญจาบในอินเดีย

            ในปี พ.ศ. 2464 เมื่อทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ และได้เข้ามามีบทบาทด้านการขนส่งแทนการขนส่งทางน้ำ การค้าขายทางเรือจึงลดบทบาทลงและหายไป  ยุคของ ท่าน้ำวัดเกต ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่จึงสิ้นสุดลง  มาบัดนี้ย่านวัดเกต เป็นดุจเพชรเม็ดอกที่ส่องประกายสุกใสที่ยังคงปรากฏร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ในรูปวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ย่านนี้จึงเป็นย่านการท่องเที่ยวที่ท่านจะได้สัมผัสถึงประเพณี วัฒนธรรม ของกลุ่มคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และซิกข์ ที่ผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว

(วรวิมล ชัยรัต  แผ่นพับนำแอ่วย่านวัดเกต)

        

 

      

ชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา  ในย่านวัดเกตเชียงใหม่
 
 ก่อนจะมาเป็นชุมชนมุสลิมอย่างเช่นทุกวันนี้ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ซึ่งเดิมอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียนจิตต์ภักดีปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นมีการอยู่ร่วมกันหลายชาติพันธุ์ ลักษณะเป็นชุมชนแออัด ขาดระเบียบวินัย มีทั้งซ่องโสเภณี ร้านขายเหล้าทั่วชุมชน มีมุสลิมอาศัยปะปนในชุมชนนี้ไม่เกิน 10 ครอบครัว มีทั้งมุสลิมเชื้อสายจีนยูนนาน อินเดียเชื้อสายปากีสถาน บังคลาเทศ ชาวมุสลิมมีการเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กันในกลุ่มมุสลิมกันเอง คนอินเดียเชื้อสายปากีสถานในย่านนี้เป็นคนที่อยู่ใต้ปกครองของนักล่าอาณานิคมอังกฤษ ติดตามเจ้านายอังกฤษเพื่อมาทำงานกลุ่มหนึ่ง และผู้อพยพกลุ่มหนึ่ง ความสัมพันธ์ของมุสลิมในย่านนี้ค่อนข้างจะดี มีการไปมาหาสู่กันโดยผ่านทางวิถี ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา มีครูสอนศาสนาคนอินเดียชื่อ อุสตาสมูลซี ซึ่งมีภรรยาเป็นคนไทย สอนศาสนาตามบ้านของมุสลิมในย่านนี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งลูกหลานไปเรียนศาสนาภาคบังคับที่มัสยิดบ้านฮ่อ ยุคนั้นมัสยิดบ้านฮ่อจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนาของคนมุสลิมในเชียงใหม่

ตระกูลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อนที่จะมีมัสยิดเกิดขึ้น ก็จะมีตระกูล อนุวงศ์เจริญ พงค์พฤกษฑล วีระพันธ์ รุจิพรรณ รัศมีจันทร์ นานาวิชิต บุญสวัสดิ์ สุวรรณมาลี บุษกร มาลีกุล เป็นต้น
                    
  ร้านเจ้เหมยข้าวซอยยูนนานเก่าแก่ของย่านนี้
                    
 
 ร้านป้าหน้อยอาหารพื้นเมือง ข้าวหมก ข้าวมัน  
                
 ร้านพี่นางขายข้าวเฟิน                                        ร้านก๋วยเตี๋ยวป้าไพ
   
                  
ร้านอามีนอาหารตามสั่ง          โรตีจิ้มแกงเนื้อ ไก่ แกงถั่ว
                     
สาวมุสลิมมะ                                                                 ร้านเสื้อผ้าแบบมุสลิมของครูหนุม
 

 ในกลุ่มของมุสลิมในย่านนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมุสลิมคนแรกและคนเดียวในภาคเหนือ คือ คุณอารีย์ วีระพันธ์ และยังมีนายทหารไทยมุสลิมคนแรกของเชียงใหม่ คือ ท่าน พ.อ. บรรจง รัศมีจันทร์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมุสลิมย่านนี้และมุสลิมเชียงใหม่
    ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชุมชนมุสลิมย่านนี้ยังคงเป็นแหล่งผลิตแพทย์ ทันตแพทย์ นายทหาร ตำรวจ วิศวกร ครู อาจารย์ ข้าราชการ นักธุรกิจ และผู้มีชื่อเสียงออกสู่สังคมไทยตลอดมา
    มุสลิมย่านนี้มีมัสยิดอัต-ตักวาเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีประชากรจำนวน 443 คน หรือประมาณ 98 ครอบครัว (ตามทะเบียนสัปบรุษมัสยิด 2548)

ความเป็นมาของมัสยิด





    การสร้างมัสยิดในสมัยนั้นเริ่มต้นจาก คุณยง ฟูอนันต์ (ผู้ก่อตั้ง ห.จ.ก. ฟูอนันต์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ชื่อเดิมคือ “ฮุหยั่งโม๋” ชื่ออาหรับชื่อว่า “อับดุรเราะห์มาน อิสหาก อันชัยนี” อพยพมาจากประเทศจีน หมู่บ้าน “เซียวเหว่ยเกิง” อำเภอหมงหัว มณฑลยูนนาน ได้รวบรวมที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ อาทิเช่น คุณหว่างหมิ่นแซ๋ว คุณสมพงษ์ อยู่อย่างไท คุณสุจิต ตรงเพียรเลิศ คุณม่าหยู่ฉี่   คุณหย่างเอนเจ๋า คุณเปรม รุจิพรรณ โดยได้ขอซื้อที่ดินจาก คุณแอนด์ เบน ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีจิตในสูงมาก ได้ขายที่ดินให้ในราคาเดิมทั้งที่การวางมัดจำได้ล่วงเลยมานานแล้ว โดยได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากสมัครพรรคพวก ทั้งที่อาศัยอยู่บริเวณนี้และจากที่อื่นๆ ได้เริ่มสร้างกำแพงและอาคารมัสยิดเมื่อปี พ.ศ. 2510 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม

ใน2513 โดยมีเอกอัคราชทูตซาอุดิอารเบียเป็นประธานในพิธี และตั้งแต่บัดนั้นมัสยิดอัต-ตักวา ก็เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวมุสลิมในเมืองเชียงใหม่ มีโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกในภาคเหนือชื่อโรงเรียนจิตต์ภักดี
    มัสยิดอัต-ตักวา เป็นศูนย์รวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายหน่วยงาน เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในวิชาการของศาสนาอิสลามในภาคเหนือ  

                        

รายงานโดย  นายชุมพล  ศรีสมบัต เขียน    

 

หมายเลขบันทึก: 212476เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

www.muslim-business.net

เว็บไซด์ ที่เป็นศูนย์รวมของธุรกิจมุสลิม ที่สำรับการติดต่อสื่อสารทางการค้า

แหล่งค้นหาข้อมูลต่างๆ เช่น ร้านอาหาร โรงร้าน และที่พัก เสื้อผ้าเครื่องประดับ สถานศึกษา องคืกรมุสลิมต่างๆ และธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 0863380605

มัยซาเราะห์

สุไลมาน หมัดเชี่ยว

สลามทุกคนครับ

ผมไปส่งหลานที่ ม.เชียงใหม่ หลังวันอีดหนึ่งวัน

ขอบคุณอัลลอฮฺครับ ที่ทำให้เราได้พบเจอพี่น้องในเชียงใหม่ โดยเฉพาะพี่น้องเชื้อสายจีนชอบมากครับ

เพื่อนพี่ชายพาไปมัสยิดและบ้านที่มีการเลี้ยงอาหาร ทุกคนจิตใจดี ยิ้มแย้ม

อยากไปอีกครับ ขออัลลอฮทรงโปรด

เพื่อ่นๆชาวเชียงใหม่มีอะไรก้อเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ


จากมุสลิมภาคกลาง

ที่เชียงใหม่ มีร้านขายฮิญาบตรงไหนบ้างค่ะ เปนมุสลิมใหม่เลยไม่รุ้จักแหล่งขายของของชาวมุสลิม อยากให้แนะนำหน่อยค่ะ

พอจะติดต่อ พอ บรรจง รัศมีจันทร์ ได้โดยช่องทางไหนได้บ้างคะ อยากถามข่าวลูกชายคนโตของท่าน ที่ชื่อโอ๊ค ภาคภูมิ รัศมีจันทร์ น่ะค่ะ รบกวนด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท