บ้านกับโรงเรียน ประตูสู่ความสำเร็จ


เด็กในวัยเรียน

ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการ เรียนของเด็ก ทั้งสองฝ่ายจึงต้องติดต่อและร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และ พัฒนาการด้านต่าง ๆของเด็กได้ อย่างมีประสิทธิภาพ







โรงเรียน ครูจำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับนักเรียน ในด้านสุขภาพ ลักษณะนิสัย เด่น-ด้อย ความสัมพันธ์ในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความสนใจ และความต้องการของเด็กหรือ ผู้ปกครอง รวมทั้งสภาพปัญหาต่าง ๆ ของเด็กหรือ ผู้ปกครองทั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อจะได้จัดการเรียน การสอน สั่งสอน อบรม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

หน้าที่ และความรับผิดชอบของโรงเรียนนั้น ควรจะเริ่มและสานต่อความ สัมพันธ์กับผู้ปกครอง ภายหลังการปฐมนิเทศ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น
- จัดประชุมประจำภาคเรียน หรือประจำปี
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน
- เชิญวิทยากรมาพบปะสนทนากับผู้ปกครอบเป็นครั้งคราวในหัวข้อเกี่ยวกับ การส่งเสริมการเรียน การพัฒนาลักษณะนิสัยหรือการแก้ปัญหาพฤติกรรม ระดับประถม เป็นต้น
- จัดงานวันนัดพบ หรือวันเยี่ยมโรงเรียน ให้ผู้ปกครองมาพบกับครูเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น และชมบุตรหลานเรียนหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
- สื่อสารด้วยจดหมายและเอกสารอื่น ๆ เช่น การออกจุลสารหรือวารสาร ทุกเดือนหรือทุกภาคเรียน
- จัดตั้งสมาคมครู ผู้ปกครองและจัดโอกาสให้ได้มีการประชุม แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันและกัน
- จัดกิจกรรมวันสำคัญโดยเชิญผู้ปกครองมาร่วมจัดหรือร่วมงานเช่น วันพ่อ วันแม่ หรือวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ เป็นต้น

บ้าน
พ่อแม่ ผู้ปกครองสมควรที่จะได้รู้จักกับครูของลูกรับรู้นโยบาย- แนวการสอน ระเบียบของโรงเรียน กิจกรรมและการบ้านที่ครูมอบหมายให้เด็ก เพื่อจะได้ช่วย ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกหลานได้ถูกต้องเหมาะสม

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรหาโอกาสที่เหมาะสม ไปทำความรู้จักกับครูประจำชั้น และครูผู้สอนท่านอื่น ๆ พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ ต่อโรงเรียน และตัวเด็กเองจะช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองและครู ควรติดต่อกันเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

พ่อแม่ ผู้ปกครองควรเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนไม่ควรอ้างว่า ไม่มีเวลา หรือไม่สนใจสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียน เพราะจะทำให้ เสียโอกาสที่จะพัฒนาลูกหลานของตน ความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง กับครู จะช่วยให้ทั้งสองฝ่าย คือ บ้านและโรงเรียน ต่างได้รับประโยชน์ คือ
- เกิดความคุ้นเคย และกลายเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
- รับรู้เข้าใจปัญหาและความต้องการของกันและกัน
- แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาลูกหลานร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 212260เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท