การฝึกอบรมการฝึกอบรม ฝึกวินัยให้แก่ลูกในวัยเรียน


รักเด็ก

วินัยให้แก่ลูวัย 6 ถึง 8 ขวบ

ในช่วงอายุนี้ วิธีการกักตัว “เวลานอก” และให้ดูผลการกระทำของเด็ก ตามตารางที่บันทำไว้ จะเป็นวิธีฝึกวินัยที่ได้ผล

การคงเส้นคงวา ของผู้ใหญ่ เป็นสิ่งจำเป็น ในการฝึกวินัยเด็กวัยนี้ ควรรักษาคำพูด สัญญาต่าง ๆ ที่ให้ไว้ ถ้าไม่ทำตามคำพูด เด็กจะเริ่มเสื่อม ความนับถือพ่อแม่ไปทีละน้อย การยอมรับ การฝึกวินัย จะถูกกระทบ ลูกจะ ไม่เชื่อฟังเด็กจะเชื่อคำพูดของพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรฝึกวินัยเข้มงวด เกินไป บางครั้งอาจจะหย่อนลงบ้าง ถ้าไม่ทำอะไรรุนแรงเช่นปิดประตูเสียงดัง หรือใช้ อารมณ์ดุ ว่าลูกโดยไม่มีเหตุผลหรือไม่ผิดกฎของบ้าน ถ้าลูกแหย่ หรือปลุกปล้ำ ในขณะที่คุณขับรถพาลูกไปเที่ยวทะเล คุณพูดว่า “ถ้าลูกไม่หยุดแหย่ หรือปลูกปล้ำกัน พ่อจะกลับรถ กลับบ้าน ไม่ต้องไปเที่ยว ทะเลกันละ” แล้วลูกๆ ไม่หยุด คุณก็ต้องทำอย่างที่คุณพูด

การทำโทษเด็ก อย่างรุนแรง จะเป็นการลด ความเคารพ เกรงกลัว พ่อแม่ก็ได้เพราะเขา รู้สึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อแม่ได้ชำระไปแล้ว ลูกไม่มีแรงจูงใจ ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม แต่อย่างใด ยิ่งทำโทษรุนแรงบ่อย ๆ เด็กจะชินชา คุณพ่อคุณแม่ ควรพูดคุยกับลูกให้เหตุผลว่า ทำไมถึงทำไม่ได้ และให้โอกาสเด็กแก้ตัว ทำให้เหมาะสมต่อไป

วัย 9 ถึง 12 ขวบ

เด็กวัยนี้ก็เหมือนเด็กวัยอื่น ๆ สามารถฝึกวินัยได้ โดยบอกให้รู้ว่า ถ้าไม่ ทำตามวินัยแล้ว จะมีอะไรตามมา เด็กที่พ่อแม่ได้ฝึกมาแล้ว เขาจะรู้ และอาจ ได้ทำตามวินัย จนเกิดเป็นนิสัย แต่ทว่า เขาเริ่มโตเข้าวัย ที่มีวุฒิภาวะ มากขึ้น เรียกร้องอิสระภาพมากขึ้น ต้องการรับผิดชอบ ตัวเอง ซึ่งพ่อแม่ ก็จะ ต้องสอน หรือชี้ ให้เห็นผลที่จะเกิดขึ้นกับเขา ถ้าเขาไม่ทำตามกติกา เช่น ถ้าอยู่ ป. 5 แล้วไม่รีบทำการบ้าน มัวแต่ดูโทรทัศน์ ก็ทำการบ้านไม่เสร็จ คุณพ่อคุณแม่ ก็ลองไม่บังคับให้เขาทำจนดึก หรือช่วยลูกทำการบ้าน เพื่อทำให้เสร็จ เขาจะ ไปโรงเรียน โดยไม่มีการบ้าน ที่ทำเสร็จสมบูรณ์ ส่งครูในวันรุ่งขึ้น เขาก็จะได้ คะแนนไม่ดี หรือไม่ได้ดาว เหมือนเพื่อน ให้เขาได้เรียนรู้ว่า การไม่ทำ การบ้าน หลังกลับจากโรงเรียน ก็จะได้ผลอย่างนั้น คุณพ่อคุณแม่ที่รักลูก มักจะช่วยลูก ไม่ให้ทำผิด แต่ในระยะยาวแล้ว จะเกิดผลดี ถ้าเราปล่อยให้เขา รู้จัก ความล้มเหลวจากการทำ หรือไม่ทำเสียบ้าง จะได้เป็น บทเรียนของชีวิต

การฝึกวินัยของลูก ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ จะต้องปรึกษากัน ในการกำหนด กฎเกณฑ์ ที่จะให้ลูกปฏิบัติ และยึดถือทำอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง

วัย 13 ปีขึ้นไป

เมื่อถึงวัยนี้ ลูกเข้าใจดีว่า พ่อแม่ต้องการให้เขาประพฤติ ปฏิบัติตัวอย่างไร รู้ดีว่าจะมีผล ตามมาอย่างไร ถ้าทำตัวไม่เหมาะสม ถูกต้องตามที่พ่อแม่ อยากให้ลูกทำ ลูกวัยนี้มีสังคมมากขึ้น จะต้องสอนให้ลูกรู้จัก ขอบเขตที่เขา จะทำได้เช่น กำหนดเวลา ดูโทรทัศน์ เทปวีดีโอ และการเล่นวีดีโอ เกมส์ต่าง ๆ ไม่ให้รบกวน การทำการบ้านการมีเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้าน การออกไปนอกบ้าน ตอนเย็น และกลางคืน การไปเที่ยว กับเพื่อนต่างเพศ การเลือกคบเพื่อน พ่อแม่ ควรให้เวลาพูดคุยกับลูก ทำความเข้าใจ และ ยังอาจจะต้องสอน เรื่องพัฒนาการทางเพศ การระมัดระวัง การรุกล้ำของเพื่อนต่างเพศ ซึ่งจะต้องให้อยู่ใน กรอบของวัฒนธรรม และ ประเพณีไทยอย่างเคร่งครัด

เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ลูกอาจจะบ่นว่า พ่อแม่เข้มงวด มากเกินไป แต่พ่อแม่ ไม่ควรละเว้น ที่จะแสดงให้เห็น ว่าพ่อแม่รักลูกและต้องการให้ลูก รู้จักขอบเขต เพื่อชีวิตของลูกเอง

ถ้าลูก ทำผิดกฎ เช่น กลับบ้านค่ำมืด พ่อแม่ ไม่ควรลงโทษ ทางร่างกาย และ วาจา แต่บอกให้ลูก รู้ว่าพ่อแม่เป็นห่วงเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อลูก

คุณพ่อคุณแม่ อาจจะต้องฝึก ให้ลูกตัดสินใจ เกี่ยวกับตัวเขาเอง เช่น เลือกเสื้อผ้า ทรงผม เลือกงาน อดิเรก และพักผ่อนเล่นกีฬา ที่ลูกชอบ ถ้าเห็นมีความสามารถ ด้านใดก็ส่งเสริมเต็มที่ เมื่อลูกอยากไปงาน ตอนกลางคืนพ่อแม่ อาจจะต้องเสียสละ เป็นคนพาไปเอง ให้เขามีประสบการณ์ และเมื่อเห็นว่าลูกควบคุม ตนเองได้ ก็อาจให้ไปเที่ยวตามลำพังได้ ในบางครั้ง ถ้าเห็นว่า กลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มที่พอวางใจได้ แต่ถ้าเป็นลูกสาว ก็อยู่ในสายตา พ่อแม่จะดีกว่า


กในวัยเรียน

หมายเลขบันทึก: 212258เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท