การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาโรงเรียน


การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

 

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

 

โดย

นายพีระ  มุทธากาญจน์

 

เสนอ

ผศ. ดร. สุมาลี  งามสมบัติ

 

แบบฝึกหัดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา การบริหารทรัพยากร

ทางการศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตบริหารการศึกษา

รุ่นที่ 3/2550 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

 

1.       ถ้าท่านมีโอกาสเลือกทำเล ที่ตั้งสถานศึกษาใหม่ ท่านจะมีแนวทางในการพิจารณาอย่างไร

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานศึกษาใหม่ มีแนวทางในการพิจารณาดังนี้ การพิจารณาเพื่อ

คัดเลือกทำเลที่ตั้งสถานศึกษาใหม่ มีแนวทางในการพิจารณาตามหลักธรรมชาติ บรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ดี รวมถึงความสะดวกสบายในการมีระบบ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ครบถ้วน

1.       พื้นที่ตั้งสถานศึกษา ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะทั้งสองแบบ

เหมาะสมสำหรับการจัดสัดส่วนต่าง ๆ ลงตัวได้ดีควรที่จะเป็นที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึง สภาพดินดี

2.       สถานที่ สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งในสังคมที่มีหน้าที่เตรียมพลเมืองที่ดีให้กับสังคม

จึงจำเป็นต้องหาสถานที่ให้เหมาะสมเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำหน้าที่จัดการความรู้ พัฒนาความรู้ พัฒนาความคิด พัฒนาศักยภาพให้เกิดขึ้นใน เด็ก และเยาวชน จึงควรต้องเป็นรูปแบบตัวอย่างที่ทันสมัย และเป็นแบบอย่าง ของคนทั่วไป คำนึงถึงความสะดวกสบาย มีบรรยากาศสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เกิดความสมดุล ระหว่างคนกับธรรมชาติมีความสอดคล้องกัน

3.       รั้วเป็นสิ่งที่แสดงอาณาเขต หรือขอบเขตในความรับผิดชอบดูแลของสถานศึกษา

ดังนั้น รั้วโรงเรียนควรเป็นรั้วที่เตี้ยโปร่งมองเห็น เวลาผู้คนเดินผ่านไป-มา จะได้เห็นความเคลื่อนไหว และเหมาะในการดูแลความปลอดภัย ทำให้การบริหารงานราบรื่น มีประสิทธิภาพ รั้วด้านหลัง ด้านข้างทั้ง 3 ด้าน ควรปลูกต้นไม้สูง ภายในแถวรั้วคอนกรีตทึบ ควรปลูกต้นสน และระหว่างต้นสนกับรั้วคอนกรีตควรปลูกต้นไผ่

                                4.ประตูเข้า-ออก ด้านซ้ายของสถานศึกษาด้านเดียว เพราะผู้มาเยือนเวลาขับรถผ่านด้านหน้าโรงเรียนได้ชมความสง่างามของโรงเรียนก่อนเข้าโรงเรียน การมีประตูเข้าออกทางเดียวสามารถควบคุมดูแลนักเรียนและความปลอดภัยในการตรวจตรา ประหยัดงบประมาณกว่าประตูหลายด้าน

5.ป้ายชื่อโรงเรียนควรมีลักษณะแผงผนังทึบตัน แข็งแรง ขนาด เหมาะสมกับโรงเรียน ทำ

ให้สง่างาม ที่ตั้งป้ายติดกับรั้วโรงเรียนด้านหน้ากึ่งกลางหรือมุมประตูเข้าออก เพื่อให้มองเห็นง่าย เป็นสง่า ภูมิฐาน ตัวอักษรควรถูกต้องตามหลักแบบภาษาไทย บริเวณติดตั้งป้ายต้องสะอาด เรียบร้อยไม่รกรุงรัง

                                 6. ถนนภายในโรงเรียนกว้างพอให้รถวิ่งสวนได้เพื่อความคล่องตัวในการสัญจร บริเวณ

สี่แยกจุดตัดควรมีพื้นที่พอทำวงเวียน เพื่อความปลอดภัยจาก การวิ่งของรถตามหลักของวงเวียน  มีการชลอความเร็ว  ลดความเร็ว ขวาไปก่อนมีน้ำใจต่อกันมีป้ายจราจร ตามความเหมาะสม เพื่อการเรียนรู้กฎจราจร มีที่จอดรถของครูและผู้มาติดต่อ  ผู้ปกครอง ด้านหลังอาคารอำนวยการ

                                7. การจัดส้วม  ควรเป็นเอกเทศ  อยู่ด้านข้างอาคารเรียนหรือด้านหลังอาคาร  ควรแยกเพศ ชาย – หญิง  มีแสงแดดส่องผ่านมีการปลูกต้นไม้บริเวณส้วม เช่น เตยหอม ต้นมะพร้าว ปาล์ม

                                8. โรงอาหาร ถือเป็นห้องเสบียงของมนุษย์   ดังนั้นโรงอาหารที่ดีต้องกว้างใหญ่ เพียงพอ โล่งโปร่ง สะอาด ควรอยู่ด้านซ้ายของอาคารและควรมีส้วมอยู่ห่างออกไป มีสวนหย่อมกั้นระหว่างส้วม โรงอาหาร มีการวางระบบจัดโต๊ะอาหาร  เป็นระเบียบทำความสะอาดง่าย  มีที่วางภาชนะที่ใช้แล้ว จาน แก้วน้ำ ถาดหลุมวางไว้เป็นสัดส่วน มีจุดบริการน้ำดื่มในโรงอาหาร

                                9. ที่ทิ้งขยะ   ควรวางถังขยะไว้ด้านข้าง หรือด้านหลังอาคาร ควรแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ขวดแก้ว พลาสติก การวางหรือทิ้งขยะไม่เป็นที่  ไม่เหมาะสมจะทำให้เสียทัศนียภาพแสดงถึงความมักง่าย ถ่วงความเจริญเสื่อมเสียชื่อเสียง

                                10. อาคารเรียนและอาคารประกอบ ควรจัดให้เหมาะสมจัดดูแลความสะอาดเรียบร้อย เป็นระบบ มีความสวยงามอาคารเรียน ควรหันหน้าไปทิศเหนือหรือใต้ เวลาเช้า – เย็นดวงอาทิตย์จะไม่ส่องแสงแดดเข้าชั้นเรียน หน้าจั่วของอาคารไม่ควรแทงอาคารอื่น เช่น อาคารประกอบมีการบำรุงรักษาให้ใช้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.       ถ้าท่านเป็นผู้บริหารรู้จักใช้เวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและ

องค์กรอย่างไร ?

                การบริหารเวลาเป็นการบริหารตนเองของผู้บริหารในการจัดการกับกิจกรรม  หรือภารกิจต่าง ๆ

เกี่ยวกับการวางแผน การจัดระบบงานการนำแผนไปปฏิบัติและการควบคุมเวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งสำหรับผู้บริหาร  เวลาเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลน ถ้าบริหารเวลาไม่ได้ก็บริหารอย่างอื่นไม่ได้ การบริหารเวลาจะเกี่ยวข้องกับการทำงานเกี่ยวกับคน ถ้าผู้บริหารสามารถจัดการกับเวลาได้ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์

กับการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก ดังต่อไปนี้

1.       เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

2.       ลดความวิตกกังวล   ความเครียดทำให้ชีวิตไม่ยุ่งเหยิง

3.       เพิ่มผลผลิต หรือผลงานให้กับตนเองและหน่วยงาน

4.       เพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน มีเวลาเป็นของตัวเอง

3.       ให้ท่านวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมการใช้เวลาของตนเอง

ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

                                สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริหาร ไม่สามารถบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก

สาเหตุ

1.       ขาดประสบการณ์บริหารเวลา ขาดวินัยตนเอง

2.       ขาดระบบในการใช้เวลา เช่น การเดินทาง การประชุม การติดต่อสื่อสารขาด

ประสิทธิภาพ

3.       ธรรมชาติของงานที่ทำ การทำงานชักช้า หรือวัฒนธรรมองค์กรที่มีขั้นตอนมากเกินไป

4.       ไม่กระจายความรับผิดชอบ       ขาดทักษะการมอบหมายงาน ความไม่เป็นระเบียบของ

ตนเอง

                                ผู้บริหารต้องประเมินและแยกแยะให้ได้ว่า  สิ่งเหล่านั้นเป็นปัญหามากน้อยเพียงใดและต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น

 

 

 

 

 

4.ท่านมีหลักในการบริหารจัดการเวลาของตนเองอย่างไร

                หลักการบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ มี 4 ทำคือ

1.       ทำทันเวลา

2.       ทำถูกเวลา

3.       ทำตามเวลา

4.       ทำตรงเวลา

1.       ต้องมีการวางแผนเป็นหลักการทำงาน การเรียน การกำหนดจุดหมายการใช้เวลาให้ประหยัด

 และเกิดประสิทธิภาพ และควรจัดทำปฏิทินเวลาจนเป็นนิสัย การวางแผนจะสิ้นเปลืองเวลาในตอนเริ่มแรก แต่สุดท้ายการวางแผนจะช่วยรักษาเวลา และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

1.       จัดลำดับความสำคัญของงาน

2.       งานใดไม่สำคัญ ไม่เกิดประโยชน์ควรตัดทิ้ง

3.       ใช้เวลาให้เกิดประสิทธิผล

4.       แยกประเภทงานให้ชัดเจน และทำงานที่คล้ายกัน เพื่อประหยัดเวลา

5.       ทำงานให้เสร็จเป็นอย่างๆไปอย่างมีระบบ

2.       จัดเวลาให้เหมาะสมกับคน

2.1    ตัดเวลาที่เกี่ยวกับสังคม การประชุม การพบปะผู้คนที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง

2.2    ให้คนอื่นแบ่งภาระรับผิดชอบงานไปบ้าง

2.3    มอบหมายงานให้บุคคลอื่นทำโดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน

2.4    จัดบรรยากาศการทำงาน

3.       การสั่งการ

3.1 ใช้วิธีที่ฉลาดในการจัดระบบงาน

3.2 ทำงานเป็นขั้นตอน

3.3 ประเมินคุณค่าของงาน เมื่อเสร็จงานแต่ละงาน

3.4 ฝึกฝนการตัดสินใจด้วยการทำงานให้เหมาะสมกับเวลา

            4. ควบคุมการทำงาน

                     4.1 การรู้จักใช้เวลา คือ วิธีการทำงานที่ฉลาด

                     4.2 อย่าแยกตัวเองออกจากงาน

                     4.3 ฝึกการมีวินัยการทำงาน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

5. โดยทั่วไปผู้บริหารจะใช้เวลาให้หมดไปกับเรื่องใดบ้าง

                                การเดินทางไปประชุม สัมมนาและกิจกรรมเกี่ยวกับการไปปฏิบัติงานวิชาการมากที่สุด ภารกิจหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโดยทั่วไป การดำเนินงานในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลบรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้อำนวยความสะดวก การประสานสัมพันธ์อันดีกับทุกฝ่ายรวมถึงชุมชน สังคม  ผู้บริหารจึงถือคติจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานที่เป็นความรับผิดชอบของผู้อื่น อาจจะถูกและอาจจะผิดหากมุมมองเช่นนี้เกิดขึ้นในตัวของผู้บริหารมืออาชีพต้องเก่งกล้าในการคิดเอง ทำเองได้เมื่อมีงานที่ต้องบริหารจัดการให้สำเร็จ ผู้บริหารสามารถแสวงหาแนวทางในการดำเนินงานนั้นจนบรรลุเป้าหมายได้  โดยไม่ต้องสั่งการเป็นคำสั่งในแต่ละขั้นตอน สามารถจูงใจให้บุคลากรหาทางกระจายความรับผิดชอบ  ร่วมกันเป็นกลุ่มงานได้ทำเองได้เป็นทีม

                                รองลงมาคือ การอยู่กับสถานศึกษาเพื่อใช้เวลาทบทวนดูงานอาคารสถานที่ สารบรรณ ธุรการ การเงินบัญชีพัสดุ และงานกิจการนักเรียน ช่วยเหลือนักเรียนตามลำดับในภาพรวมผู้บริหารจะใช้เวลากับงานวิชาการมากที่สุด  รองลงมาคือ งานธุรการ และงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการของนักเรียน จึงขาดความสัมพันธ์กับชุมชน องค์กรทางสังคมและการนิเทศ  ติดตามผลกิจกรรมในพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.       เพราะเหตุใดจึงต้องมีการจัดระบบการบริหารเวลาของผู้บริหารให้เหมาะสม  

การเป็นผู้บริหาร  มีภารกิจหลักที่มากมาย  ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหมู่มาก

ทั้งครู นักศึกษา  ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน ผู้บริหารอื่น ๆ ประชาชนทั่วไป และยังต้องดูแลรับผิดชอบงานทุกด้านให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บางครั้งอาจเกิดปัญหาหลาย ๆ เรื่องเข้ามาพร้อมกันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจ ผู้บริหารจะสามารถดำเนินภารกิจ   ตามหน้าที่ของตนเองได้อย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพนั้น  จึงต้องมีการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ

                                                การรู้จักวิเคราะห์  พิจารณาจัดสรรเวลา ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆอย่างเหมาะสมเพียงพอ  มีหลักการบริหารเวลา ดังนี้

1.       กำหนดเป้าหมายการทำงาน

2.       จัดลำดับความสำคัญของงานที่ทำ

3.       จัดเวลาให้แก่งานที่สำคัญมาก น้อยแตกต่างกัน

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต32550
หมายเลขบันทึก: 212191เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจคะ

ดีเยี่ยมกับข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์การจัดทำรายงาน เพราะดิฉันกำลังศึกษาการบริหารงบใบรรลุควรมีกระบวนการทำอย่างไร

ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

อัจฉรา แสงสิริโรจน์

ขอบคุณคะที่ให้เป็นกรอบแนวความคิด

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับแนวทางในการตอบการบ้านวิชาการบริหารฯ

ขอบคุณค่ะใช้เป็นแนวทางในการตอบข้อสอบ

ขอบคุณในความกรุณาของอาจารย์มากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท