ชุดวิชาคุรุสภา


การจัดการองค์กรทางการศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

 

 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กร

 

 

แนวคิด

 

การที่ผู้บริหารจะสามารถบริหารจัดการองค์กรที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุประสิทธิผลตามเป้าหมายที่ระบุไว้ได้นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรทั้งในด้านองค์ประกอบ   การบริหารจัดการองค์กร   บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนลักษณะขององค์กรที่มีคุณภาพ  เพื่อที่ผู้บริหารจะได้ทำความรู้ ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไป

 

วัตถุประสงค์  

 

            เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ

1.   อธิบายความคิดรวบยอดเกี่ยวกับองค์กรได้       

2.   อธิบายบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารองค์กรได้

3.   วิเคราะห์ลักษณะองค์กรที่ประสบความสำเร็จได้  

 

ตอนการเรียนรู้  

 

ตอนการเรียนรู้ที่ 1   ความหมายและองค์ประกอบขององค์กร

ตอนการเรียนรู้ที่ 2   ผู้บริหารองค์กร 

          ตอนการเรียนรู้ที่ 3   ลักษณะขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ

         

แนวการจัดการเรียนรู้

 

1.   มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาทุกตอนการเรียนรู้ พร้อมทำใบงานมาล่วงหน้า 

2.   ผู้บรรยายสรุปสาระทั้ง 3 ตอนการเรียนรู้ พร้อมตัวอย่างและกรณีศึกษา

3.   ผู้สอนตรวจใบงานและแจ้งผล

 

ตอนการเรียนรู้ที่ 1

 

ความหมายและองค์ประกอบขององค์กร

 

 

วัตถุประสงค์

 

          เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

1.   บอกความหมายขององค์กรได้

2.   อธิบายความหมายของการจัดการองค์กรได้

3.   อธิบายระบบการบริหารได้

4.   อธิบายวัฒนธรรมองค์กรได้

 

แนวการจัดการเรียนรู้ 

 

1.   ให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1  พร้อมทำใบงานมาล่วงหน้า 

2.   ผู้สอนจัดบรรยายสรุปในชั้นเรียน  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย

 


ใบความรู้ที่ 1

เรื่อง

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กร

 

 

1. 1  ความหมายขององค์การ

 

องค์การ (Organization) คือกลุ่มทางสังคมที่ร่วมมือกันจัดการและปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผลโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก

 

องค์การประกอบด้วย

1.  ทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งเป็นระบบที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด   เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  ขององค์กรให้บรรลุผลสำเร็จ

2.      การดำเนินงาน  มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งงานกันทำตามขอบเขตที่กำหนด

3.      ความร่วมมือ  มีการร่วมกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์

 

1.2  ความสำคัญขององค์การ    องค์การมีความสำคัญดังนี้

 

1.2.1   เป็นที่ระดมทรัพยากรต่าง ๆ  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

1.2.2   เป็นที่ผลิตผลผลิตและบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและชุมชน

1.2.3   เป็นกลไกในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ  มาเพื่อประสิทธิภาพในด้านการผลิตและการบริการให้ดียิ่งขึ้น

1.2.4   องค์การต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดซึ่งเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

1.2.5   เป็นแหล่งสร้างคุณค่าให้กับบุคลากรในองค์กรและผู้รับบริการ

 

 

1. 3  ความหมายของการจัดการ

 

            การจัดการ  (Management)   หมายถึง   กระบวนการในการประสานกิจกรรมต่าง ๆ   ขององค์การโดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในองค์การ    เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

1.4  ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการ

 

จากความหมายขององค์การจะเห็นว่า องค์การและการจัดการมีความสัมพันธ์กัน และบุคคลมีส่วนสำคัญมากที่จะจัดการให้งานต่าง ๆ  บรรลุเป้าหมาย    ดังนั้น จึงต้องศึกษากับพฤติกรรม[1]ของบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การด้วย

 

1.5  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

 

            ประสิทธิภาพ    (Efficiency)   หมายถึง   ความพยายามในการดำเนินกิจกรรมด้วยความประหยัด   ประสิทธิภาพเป็นอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตต่อผลผลิต (Input/Output)  และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

            ประสิทธิผล  (Effectiveness)  หมายถึง   ความพยายามในการดำเนินกิจกรรมให้บรรลุ   เป้าหมายขององค์การ

 

1.6  ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

                       

            องค์การเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม เพราะองค์การต้องติดต่อกับภายนอกและได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากชุมชน  ขณะเดียวกัน องค์การก็ต้องผลิตผลิตผลหรือบริการที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของชุมชนสังคม   ดังนั้น  องค์การจึงต้องเปิดรับและสังเกตสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะมากระทบ  และเตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้สามารถเผชิญกับสภาพเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น   จึงทำให้องค์การต้องวิเคราะห์สภาพภายในองค์การว่ามีศักยภาพพอที่จะต่อสู้กับปัญหาที่จะต้องเผชิญได้หรือไม่  จึงต้องพิจารณาองค์การทั้งระบบปิดและระบบเปิด

 

 

      ระบบการบริหาร  (Management System) 

การบริหารจัดการอาจจำแนกได้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบปิด กับ ระบบเปิด

    (1)  ระบบปิด  (Close System)  เป็นการมองเฉพาะภายในองค์การ คือให้ความ สำคัญกับเรื่องของตนเอง  โดยการมองที่ :-

(1.1)    ปัจจัยการผลิต  (Inputs)  ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์  เงินทุน  เทคโนโลยี  ข้อมูลข่าวสาร    

(1.2)    กระบวนการแปลงสภาพ  (Transformations)  ได้แก่ กิจกรรมการทำงานของบุคลากร  กิจกรรมทางการบริหาร  และกรรมวิธีในการผลิต

(1.3)    ผลผลิต  (Outputs)  ได้แก่  ผลิตผลและบริการข้อมูลข่าวสาร

                (2)  ระบบเปิด  (Open System)  เป็นการมององค์การทั้งภายในและภายนอก ได้แก่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ  คือ กระแสโลกาภิวัฒน์  เศรษฐกิจ  การเมือง  เทคโนโลยี  สังคม รัฐบาล คู่แข่ง ผู้รับบริการ ตลอดจนกลุ่มต่าง ๆ

 

         การบริหารแบบระบบปิด ซึ่งมองภายในองค์การจะเห็นว่า ผู้บริหารต้องบริหารงานภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์  ต้องเข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลและบุคลิกภาพขององค์การซึ่งก็คือ วัฒนธรรมขององค์การ   

 

            วัฒนธรรมองค์การ  (Organizational Culture)

วัฒนธรรม  (Culture)  คือ ค่านิยม ความเชื่อ ความเข้าใจ และบรรทัดฐานที่บุคลากรในองค์การยึดถือ 

                   วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture)  คือ ระบบที่บุคลากรในองค์การยึดถือและมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน  การตัดสินใจ และพฤติกรรมของบุคลากรภายในองค์การ

                  ระบบที่บุคลากรยึดถือ   คือ   สิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกในองค์การ  และเป็นตัวกำหนดว่าสมาชิกในองค์การจะมีพฤติกรรมอย่างไร  สิ่งเหล่านี้ได้แก่

·       สิ่งที่มีความหมายร่วมกัน

·       ค่านิยม  ปทัสถาน (Norm)  ความเชื่อ

·       การกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ

·       การรับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน

·       สิ่งที่ยอมรับหรือกำหนดให้

·       การเรียนรู้ การถ่ายทอด

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต 32550
หมายเลขบันทึก: 212165เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท