นวัตกรรมทางการศึกษา


นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

              จากการศึกษาข้อมูลการวัดผลการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง  พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมาย  หลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำเกณฑ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2

              ผู้บริหารโรงเรียนได้มอบหมายให้รองผู้อำนวยการโรงเรียนและวิชาการโรงเรียนร่วมหาข้อมูลโดยการนิเทศห้องเรียน  พบว่า  ครูใช้วิธีการสอนแบบให้นักเรียนเรียนจากหนังสือและฟังครูอธิบาย  ซึ่งเป็นการสอนแบบเดิมๆไม่กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก  ไม่มีการนำสื่ออุปกรณ์มาใช้ในการเรียนการสอน

นอกจากได้ข้อมูลจากการนิเทศแล้วยังได้รับข้อมูลจากการพูดคุยเป็นการส่วนตัวหรือในเวลารับประทานอาหารกลางวันก็จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการศึกษา

              ดังนั้น   เมื่อได้ข้อมูลแล้วแต่เนื่องจากโรงเรียนมีครูมากไม่เหมาะที่จะระดมครูให้คิดทำนวัตกรรมใช้ในการเรียนการสอน  อีกประการหนึ่งครูบางท่านไม่มีความคิดที่ทำนวัตกรรม  แต่บางท่านมีความต้องการที่จะทำนวัตกรรมขึ้นใช้ประกอบการเรียนการสอน

              ข้าพเจ้าจึงรับเป็นผู้นำกลุ่มสำหรับผู้ต้องการจัดทำนวัตกรรมได้มาประชุม(นอกเวลาราชการ) มีครูเข้าร่วมจัดทำนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นเรียน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ  จำนวน  10  คน  ทั้งระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา   ได้แก่  นางวิลาวัณย์  แผ่แผ่นทอง  นางแววตา  โสมนัส   นางเตือนใจ  น้อยสำราญ  นางจริยา  ปลอดโปร่ง  นางระเบียบ  บัวโรย  นางเบญจมาศ  เนียมเงิน  นางอัมพร  กองสี  นายสุรพงษ์  เหลือวงศ์  น.ส.รำพา  แสงศิลา  และนางบัวแก้ว  ธรรมปรีชา 

              จากจำนวนครูที่เข้าร่วมกันจัดทำนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน/กลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้นวัตกรรม  ดังนี้

1.       แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ของนางจริยา  ปลอดโปร่ง

2.       ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่องน้ำและอากาศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                             ของนางระเบียบ  บัวโรย

3.       หนังสือสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

                     ของนางเบญจมาศ  เนียมเงิน

4.       หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด  ชั้นอนุบาลที่ 1

        ของนางวิลาวัณย์  แผ่แผ่นทอง         

5.       กิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดระดับปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2

       ของนางแววตา  โสมนัส

6.       นิทานคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1

       ของนางเตือนใจ  น้อยสำราญ

7.    แบบพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

        ของน.ส.รำพา  แสงศิลา

         การทำนวัตกรรมของครูในครั้งนี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่เน่องเวลาในการทดลองใช้นวัตกรรมน้อยเกินไป  คงต้องทดลองใช้ต่อไปอีกพร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้น  ส่วนครูบางท่านที่ยังไม่ได้นำนวัตกรรมมาให้ดูทราบว่ากำลังดำเนินการอยู่

         การจัดทำนวัตกรรมในครั้งนี้ยังได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ นักเรียนและครู   นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากที่เคยเรียนอยู่เป็นประจำ  ส่วนครูได้นวัตกรรมที่ได้กระทำและทดลองใช้ไปขอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 211996เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท