ดอกรัก
นาง อมรรัตน์ เปิ้ล เถื่อนทอง

โภชนาการสำหรับเด็ก


อาหารสำหรับเด็ก

โภชนาการสำหรับเด็ก

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Breast feeding)
  
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยขอสนับสนุนการให้นมแม่อย่างเดียวแก่ทารกอย่างน้อย จนถึง 4 เดือน เนื่องจากนมแม่มีคุณค่าทางอาหารที่จำเป็น สำหรับการเจริญเติบโตที่ดีกว่านมผสม ในด้านไขมัน โคเลสเตอรอล โปรตีนและธาตุเหล็ก ทั้งยังย่อยง่ายกว่านมผสม ตลอดจนมีความสะอาด มีสารกระตุ้นการเติบโต และมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ ด้วย นมแม่สามารถใช้เลี้ยงลูกได้จนอายุ 2 ปี โดยไม่ต้องเสริมนมผสมนมสูตรดัดแปลงสำหรับทารก (Infant formula) ใช้เมื่อมีความจำเป็นเพื่อเสริมนมแม่ หรือในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมแก่ลูกได้ โดยสาเหตุทางการแพทย์ ฯลฯ ควรจะได้มีการอธิบายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเสมอ ควรเลือกใช้ชนิดที่เสริมธาตุเหล็กทั้งนี้ นมดัดแปลงสำหรับทารกใช้ได้จนถึงอายุ 1 ปี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนการโฆษณานมผสมผ่านทางสื่อต่างๆ ตลอดจนการนำนมผสมสำหรับทารกมามอบให้กับทางโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล เพื่อแจกฟรีแก่แม่ที่กำลังให้นมลูกซึ่งเป็นการโฆษณาในรูปแอบแฝง

นมสูตรต่อเนื่อง (Follow- on formula)
  
ใช้หลังอายุ 6 เดือนไปแล้วจนถึง 3 ปี

นมวัวผงครบส่วน (Powder whole milk)
  
ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี ควรเลือกชนิดเสริมวิตามินและแร่ธาตุ

นมสด (Pasturized whole milk, UHT fresh milk)
  
ห้ามใช้สำหรับทารกต่ำกว่าหนึ่งปี ควรหัดดื่มจากถ้วย หรือใช้หลอดดูดเมื่ออายุ 1 ปี เด็กควรดื่มนมทุกวันๆ ละ 3 มื้อ จนถึงวัยหนุ่มสาว

นมพร่องไขมัน (Low fat milk, Skim milk)
  
ไม่ควรใช้ในเด็กปกติทั่วไปโดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะมีสารอาหารไม่เหมาะสมเนื่องจากมีโปรตีนสูง เกลือแร่สูง พลังงานต่ำ ขาดกรดไขมันจำเป็นและวิตามินชนิดละลายในไขมัน แต่สามารถใช้กับเด็กอ้วนอายุมากกว่า 2 ปี เพื่อการควบคุมน้ำหนักภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์

นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (Liquid yogurt)
  
ใช้แทนนมสดไม่ได้ เด็กไม่ควรดื่มมากกว่า 1 กล่องหรือ 1 ขวดเล็กต่อวัน นมชนิดนี้ผลิตจากนมพร่องมันเนย นมธรรมดาหรือนมสด มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันได้มากจึงห้ามใช้เลี้ยงทารก

ธัญญาหารสำเร็จรูป (Cereal ต่างๆ)
  
ประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล อาจเสริมวิตามินและเกลือแร่บางอย่าง ไม่สามารถใช้แทนอาหารทั้งมื้อได้ ไม่แนะนำให้ใช้เลี้ยงทารกและเด็กเล็ก เพราะมีลักษณะเป็นขนมมากกว่าทำให้มีบริโภคนิสัยไม่ถูกต้องและเกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง อาหารมื้อหลัก (solid food) ควรเริ่มโดยใช้ช้อนป้อนเมื่ออายุ 4 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต โดยใช้ข้าวบดกับน้ำแกงจืด หรือ กล้วยน้ำว้าบด เริ่มจากจำนวนน้อยๆ เช่น 1 ช้อนชา วันละครั้ง แล้วจึงค่อยเพิ่มจำนวนทีละน้อยๆ ทุกวันจนได้ถึง 4- ช้อนชาต่อวันควรเลือกใช้อาหารที่หาได้ง่าย สะอาดปลอดภัย เว้นระยะ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มอาหารชนิดใหม่
   
อายุ 4-5 เดือน ควรเริ่มอาหารโปรตีน เช่น ไข่แดงสุก ปลา ไก่ บดรวมกับข้าวบด อายุ 5-6 เดือน ควรเริ่มผักใบเขียวต้มสุกบดเติมลงในอาหารเสริมที่กินอยู่แล้ว เมื่ออายุครบ 6 เดือน ควรมีอาหารเสริมที่มีสารอาหารครบถ้วนแทนนมได้ 1 มื้อ อายุ 8 เดือน มี solid food

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 211991เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท