บทคัดย่อการประเมินโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้


การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน ส่งผลถึงผู้เรียน

บทคัดย่อ

 

                        การประเมินโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม  ในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม  โดยการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)  ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)    ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)  และประเมินผลผลิต (Product Evaluation)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย   ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 70  คน  และครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน  ของโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน   ที่มีต่อโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้   ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ค่าสถิติ คือ  ค่าร้อยละ(%)  ค่าเฉลี่ย ( )  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)           

                        ผลการประเมิน  มีดังนี้

                        การประเมินโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม  โดยภาพรวม  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านและทุกตัวชี้วัด  โดยด้านสภาวะแวดล้อมผ่านเกณฑ์ในระดับสูงสุด   ส่วนด้านผลผลิตผ่านเกณฑ์ในระดับต่ำที่สุด  และเมื่อนำมาแยกเป็นรายด้าน  มีรายละเอียด  ดังนี้

                        1. ด้านสภาวะแวดล้อม  พบว่า  ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เป็นเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ   จนเกิดผลสำเร็จได้

                        2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น  พบว่า  ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  บุคลากรในโรงเรียนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้   ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ   ชุมชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน

                        3. ด้านกระบวนการ  พบว่า  ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานเปิดบ้านนวัตกรรม ทำให้ครูผู้สอนมีความรู้ ประสบการณ์ พอใจ สะดวก ประหยัด ได้ประโยชน์คุ้มค่า  ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

4. ด้านผลผลิต  พบว่า  ตัวชี้วัดที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ   ครูผู้สอนได้รับประสบการณ์ที่ดี มีประโยชน์  จากการศึกษาดูงานเพื่อเทียบเคียงมาตรฐาน    ในงาน “Symposium  นวัตกรรมการศึกษา      เขตตรวจราชการที่ 7   ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือครูผู้สอนได้รับความรู้ความเข้าใจและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้จากการประชุม สัมมนา 

หมายเลขบันทึก: 211434เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท