การพัฒนาวิชาชีพครูในยุคปฏิรูปการศึกษา


การพัฒนาวิชาชีพครู

การพัฒนาวิชาชีพครูในยุคปฏิรูปการศึกษา

ครูดี  คือ  อย่างไร

1.     มีความเมตตากรุณา  ใส่ใจในประโยชน์สุขช่วยเหลือ  แก้ไข  ทุ่มเทการจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์เมื่อศิษย์มาปรึกษา  ทั้งเรื่องส่วนตัวและการเรียน

2.       มีความประพฤติดี  ประพฤติตนสมควรแก่ฐานะ  เป็นที่พึงให้ความปลอดภัยและก่อให้เกิดความอบอุ่นแก่ศิษย์ได้

3.       มีความขยัน  เป็นผู้ใฝ่รู้  ฝึกฝน  ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์

4.     มีความสุภาพ  เป็นผู้รู้จักใช้คำพูดแนะนำให้ได้ผล  มีความสามารถในการอธิบาย  สอน  แนะนำหรือให้คำปรึกษาด้วยรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับบุคคล  กาลเทศะ  ได้เป็นอย่างดี

5.     มีความอดทน  อดทนต่อการรับฟัง  ต่อการให้คำปรึกษา  และการซักถามของผู้เรียน  ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย  ต่อการตอบคำถามของผู้เรียน

 

ครูดี  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ย่อมเป็นที่เคารพรักของศิษย์

และศิษย์จะศรัทธามากยิ่งขึ้น  หากครูเป็น  คนเก่ง  ด้วย

ครูเก่ง  เป็นอย่างไร

1.     คิดค้นวิธีการสอนใหม่ ๆ  อยู่เสมอ  ใช้วิธีการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดหาทนทางสร้างความรู้ด้วยตนเอง  ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนวทาง  การนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ  มาใช้ประโยชน์ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  ต่อไปได้หรือสอนให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้  คิดหาความรู้ด้วยตนเอง  เกิดความคิดอย่างหลากหลายและคิดหาความรู้ด้วย

2.     วางแผนจัดการเรียนการสอน  โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล  ทำความเข้าใจกับผู้เรียนและเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนพัฒนาได้ด้วยการเรียนรู้จากกระบวนการศึกษาที่ผู้เรียน   เรียนรู้  และปฏิบัติดีจริงด้วยตนเอง

3.     มีความรู้และทักษะอย่างดี  ในสาระการเรียนรู้ที่สอน  มีความรู้ความเข้าใจในขอบข่าย  สาระการเรียนรู้ที่จะสอนอย่างท่องแท้  สามารถบูรณาการภายในกลุ่มวิชาและระหว่างกลุ่มวิชาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามสภาพความเป็นจริงและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในสังคม

4.     มีความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรในห้องเรียน  มีความรู้และทักษะในการนำสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นและตรงตามความต้องการของผู้เรียนมาสร้าง  เป็นหลักสูตรในห้องเรียนของตนเองได้

ครูจะพัฒนาคนและพัฒนาตนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  ครูต้องมีบทบาทที่สำคัญ  3  ประการ  คือ

1.       ครูในฐานะนักการสอน

2.       ครูฐานะนักพัฒนาหลักสูตร

3.       ครูฐานะนักวิจัย

ซึ่งบทบาทของครูทั้ง  3  ประการ  ดังกล่าว  มีความสัมพันธ์และต้องดำเนินไปพร้อม ๆ  กันกล่าวคือ  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน  รวมทั้งปัญหา   ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้น  แล้วทำการปรับปรุงแก้ไขในด้านต่าง ๆ  เช่น  ด้านผลสัมฤทธิ์  ด้านพฤติกรรม       ผู้เรียน  ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน

เมื่อใดที่ครูวางแผนการสอน  นำแผนการสอนไปปฏิบัติ  และนำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน  การกระทำเช่นนี้เป็นบทบาทนักการสอน  นักพัฒนาหลักสูตร  และนักวิจัย 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย  เป็นแนวทางที่จะพัฒนาคนให้เกิดปัญญารู้รอบและรู้สึก  ครูผู้สอนและผู้เรียนอาจจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนรู้  แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

แผนภูมิแสดงการใช้กระบวนการวิจัย  ในการจัดการเรียนรู้

วางแผนการจัดการเรียนรู้

(วิเคราะห์ผู้เรียน/ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้)

จัดกิจกรรมการเรียนรู้

ประเมินผล/ปรับปรุงแก้ไข

ประเมินผลการเรียนรู้

(วิเคราะห์สรุปผล)

จัดทำรายงานผลการเรียนรู้

(ด้วยเอกสาร/สื่อ)

พบปัญหามาก/รุนแรง

การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

วิเคราะห์ปัญหา  กำหนดนวัตกรรม

วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนา

จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา

เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ผล

สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา


การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย  มีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนที่  1  วางแผนจัดการเรียนรู้  มีแนวทางดังนี้

1.1   การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้  เป็นการวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  แล้วเขียนเป็นแผนที่ความคิด  (Mind  Mapping)  เพื่อแสดงภาพรวมเป็นโครงสร้างของสาระการเรียนรู้

1.2   การกำหนดสาระสำคัญของการเรียนรู้  เป็นการพิจารณาจากแผนที่ความคิดที่เป็น    หัวเรื่องหลัก  (Main  Topic)  และหัวเรื่องรอง  (Sub  Topic)  แล้วนำมาเขียนเป็นข้อความที่เรียบเรียงมาจากลักษณะเด่นของเนื้อหาที่เป็นหัวเรื่องหลักหรือหัวเรื่องรองให้สั้นกะทัดรัด  มีความหมาย       ชัดเจน  และเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน  หากมีหัวเรื่องหลักและหัวเรื่องรองหลายหัวข้อ  ควรแยกเขียนสาระสำคัญของการเรียนรู้เป็นข้อ ๆ  ด้วย

1.3   การกำหนดผลการเรียนรู้  เป็นการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับ       ผู้เรียน  ซึ่งควรจะครอบคลุมผลการเรียนรู้ทางด้านความรู้  ด้านทักษะ/กระบวนการ  และด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม

1.4   การออกแบบการจัดการเรียนรู้  เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สอดคล้องกับสาระสำคัญของการเรียนรู้  และตรงตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

การออกแบบการจัดการเรียนรู้  จะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมุ่งเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  เหมาะสมกับผู้เรียนใกล้เคียงกับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียน  มีความยืดหยุ่น  หลากหลาย  เช่น  การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา  การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก  (Problembased  Learning)  การเรียนรู้จากสภาพจริง  การเรียนรู้แบบร่วมมือ  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการเรียนรู้โดยการค้นพบและสร้างความรู้เอง  การเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการ  การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง  การเรียนรู้โดยใช้พหุปัญญาและการเรียนรู้โดยการทำงานโครงงาน  เป็นต้น

1.5  การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  เป็นการออกแบบวิธีการประเมินผล  เครื่องมือวัดผล  และแหล่งข้อมูลที่จะวัดและประเมินผลตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละข้อ

ขั้นตอนที่  2  จัดกิจกรรมการเรียนรู้  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควบคู่กับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  ตามที่ได้มีการออกแบบจัดการเรียนรู้ไว้แล้ว

ขั้นตอนที่  3  ประเมินผลการเรียนรู้  เป็นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้งจนครบทั้งหน่วยการเรียน  โดยให้ผู้เรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลมีส่วนร่วมในการวัดประเมินผลตามสภาพจริงด้วย  ผู้สอนจะต้องบันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นกลุ่มและรายบุคคลหลังจากจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งเสร็จแล้วดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  หลังจากการจัดการเรียนรู้ในครั้งใดครึ่งหนึ่งจบแล้วควรนำผลมาพิจารณา  และปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ในครั้งต่อไปให้มีควาเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น  หรืออาจกล่าวได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้  ควรมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน

การที่ครูที่ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นว่าครูได้นำกระบวนการวิจัยเข้ามาสู่การจัดการเรียนรู้แล้ว  ขณะเดียวกันข้อมูลที่ครูได้จากขั้นตอนที่  2  และขั้นตอนที่  3  หากพบว่า  นักเรียนไม่เกินการเรียนรู้  และ/หรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์   ย่อมไม่มีครูคนใดที่จะปล่อยให้เหตุการณ์นั้นผ่านไปโดยไม่ช่วยเหลือ  หรือปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าว  อาจทำได้ทันทีที่พบหรืออาจต้องใช้การวิจัยช่วยในการแก้ปัญหา  หรือแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วย

ดังนั้นหากครูจะใช้การวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวก็สามารถทำได้อีก  โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ  ดังนี้

1)     วิเคราะห์ปัญหา  กำหนดนวัตกรรม  วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนา  เป็นขั้นตอนที่ครูกำหนดจุดประสงค์  หรือเป้าหมายของการแก้ปัญหาและพิจารณาวิธีการจัดกิจกรรม  ซึ่งรวมถึงการกำหนดเครื่องมือในการวัดผลการเรียนรู้  และสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ  ที่ครูนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน

2)     จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา  คือ  ขั้นตอนที่ครูนำกิจกรรมในแผนที่กำหนดไว้จากขั้นตอนที่  1  มาปฏิบัติ  ขณะเดียวกันครูก็จะวัดและประเมินผลการแก้ปัญหาหรือผลการพัฒนา  ตลอดจนรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  ของนักเรียนที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมไปพร้อม ๆ  กัน

3)     เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ผล  สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนาเป็นขั้นตอน  ที่ครูนำผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และข้อมูลต่

หมายเลขบันทึก: 211419เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท