คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลเครือข่ายร่วมผลิตแพทย์


การประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลเครือข่ายร่วมผลิตแพทย์ และในระดับภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์

           เมื่อวันพุธที่ 17 กันยายน 2551  นประกันคุณภาพการศึกษาได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลเครือข่ายร่วมผลิตแพทย์ ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2551  ห้องประชุมทองจันทร์ฯ ชั้น 3 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

          โดยรองคณบดีฝ่ายการศึกษา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เทิดศักดิ์  ผลจันทร์) ได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  ซึ่งมีกระบวนการประกอบด้วยการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ทั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์จะใช้เกณฑ์ และกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

-    การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

-     การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้เกณฑ์ TQA (Thailand Quality Award)

-    เกณฑ์ World Federation for Medical Education (WFME) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ กสพท.      

 

ภาพบรรยากาศการประชุมคณะกรรมการฯ

 

 
 
 

 
จำนวนตัวบ่งชี้ร่วม (Required PIs) และตัวบ่งชี้เลือก (Optional PIs) ที่จะทำการประเมินในปีการศึกษา 2551 ของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเครือข่ายร่วมผลิตแพทย์ และในระดับภาควิชา โดย...
 - ณะแพทยศาสตร์ หาวิทยาลัยนเรศวร จะทำการประเมินครบทั้ง 9 องค์ประกอบ 41 ตัวบ่งชี้
          - นย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเครือข่ายร่วมผลิตแพทย์ ะทำการประเมินทั้งสิ้น 9 องค์ประกอบ 39 ตัวบ่งชี้ โดยตัวบ่งชี้ที่ไม่ทำการประเมิน ได้แก่
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 2.12 ร้อยละของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณฯ
ทั้งนี้ ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีข้อมูลดังกล่าวครบถ้วน ทำการประเมินทั้ง 2 ตัวบ่งชี้นี้ ในภาพรวมของคณะ
          - ะดับภาควิชา ภายในคณะแพทยศาสตร์หาวิทยาลัยนเรศวร ทุกภาควิชาจะทำการประเมินทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้ จัดเป็นตัวบ่งชี้ร่วม (Required PIs) ได้แก่
                       องค์ประกอบที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 และ 1.2
                       องค์ประกอบที่ 2 ตัวบ่งชี้ที่ 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, และ 2.8
                       องค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, และ 4.5
                       องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1, 5.2, 5.3, และ 5.4
                       องค์ประกอบที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 6.1
                       องค์ประกอบที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 และ 9.3
ยกเว้นภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ จะขอรับการประเมิน 6 องค์ประกอบ 22 ตัวบ่งชี้ โดยเพิ่มตัวบ่งชี้ที่ 2.13 เป็นตัวบ่งชี้เลือก (Optional PI)
 
 
 านประกันคุณภาพการศึกษา
   ขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่าน อาจารย์แพทย์จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกทุกแห่ง และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 211226เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ jj

ขอบคุณที่คอยชี้แนะและนำความรู้ดีๆ มาฝากลูกหลานนะคะ

ขอบคุณคร้า...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท