การเรียนรู้


วันนี้นำองค์ประกอบของการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้มาให้ชมกันครับ พี่น้อง
1.       สิ่งเร้า ( Stimulus ) เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัว
กำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุและอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้   เช่น เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เราเตรียมสอบ
2.       แรงขับ ( Drive ) มี 2 ประเภทคือแรงขับปฐมภูมิ ( Primary Drive ) เช่น ความหิว
ความกระหาย การต้องการพักผ่อน เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ ( Secondary Drive  ) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น แรงขับทั้งสองประเภทเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอันจะนำไปสู่การเรียนรู้
3.       การตอบสนอง ( Response ) เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการ
กระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่รอบตัวเรานั่นเอง
4.       แรงเสริม ( Reinforcement ) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ
การตอบสนอง เช่น รางวัล การตำหนิ  การลงโทษ การชมเชย เงิน ของขวัญ  เป็นต้น
            กระบวนการของการเรียนรู้
                กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ
1.       มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism ) 
2.       อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
3.       ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception ) 
4.       สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด ( Conception ) 
5.       พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning )
6.       เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ 

         ตัวอย่างเช่น เราฝึกสัตว์ให้สามารถทำกิจกรรมใดๆ    ก็ได้อาจเป็นการเล่นลูกบอลโยนห่วง หรือให้นกพิราบจิกบัตรสี หรือหัดให้ลิงชิมแฟนซีวาดรูปภาพต่างๆ หรือให้นกแก้วเฝ้าบ้านโดยส่งเสียงร้องเวลาที่คนแปลหน้าเข้าบ้าน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะต้องมีกระบวนการคือมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์ ถ้าในที่นี้อินทรีย์คือตัวแลคคูน ตัวแลคคูนก็จะรู้สึก การเกิดความรู้สึกเราเรียกว่าเกิดการรับสัมผัส จะด้วยทางตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ประสาทสัมผัสจะทำให้เกิดการรับรู้ สมองก็จะแปลความหมาย พฤติกรรมที่สมองแปลความหมายเรียกว่าเกิดการเรียนรู้ จะให้เรียนรู้ได้ต้องทำบ่อยๆ โดยนักจิตวิทยาให้แลคคูนจับลูกบอลบ่อยๆ พร้อมให้แรงเสริมด้วยอาหารที่เจ้าแลคคูนชอบ ก่อนให้อาหารก็ให้เจ้าแลคคูนจับลูกบอลบ่อยๆ ทำซ้ำๆ หลายครั้งเจ้าแลคคูนก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าทำกิจกรรมจับลูกบอลแล้วพัฒนาไปถึงขั้นโยนลูกบอลเข้าห่วงก็จะได้อาหาร การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น คือถ้าเจ้าแลคคูนหิวก็จับลุกบอลโยนห่วงเป็นต้น ครับ

หมายเลขบันทึก: 210882เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โอ้โหหหหห...

คนเล่นกีตาร์นั่นหน่ะ

ปวดหัวแน่ๆเลย

น่าสงสาร

ให้เค้าพักผ่อนบ้างนะ

คริ คริ คริ

อยากจะให้เขาพักเหมือนกันครับ แต่ทำมิได้ คงจะมีสิ่งเร้าให้เขาไม่สามารถพักได้ครับ

สวัสดีค่ะ

ใยบัวยินดีที่รู้จักค่ะ

เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้

สิ่งเร้าตอนเข้ามาก็ดีนะตื่นเต้นดีค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ที่นำเสนอเป็นประโยชน์มากค่ะ

  • แสดงว่าตัวพี่แปลสิ่งเร้าข้างบนผิด
  • มองว่าคนกำลังถือไม้หรืออะไรนี่แหละงัดของอยู่
  • รับสิ่งเร้าผิด.....อิ อิ
  • แปลผล  การเรียนรู้ก็ผิดๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท