การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)


การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

โดย อาจารย์ ดร. อารีย์วรรณ  อ่วมตานี

 

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic inquiry)  ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective)  ด้วยตัวผู้วิจัยเอง  เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น  โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์  และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุบนัย  (Inductive  analysis)

เปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ

 

ข้อแตกต่าง

การวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงคุณภาพ

1. แนวคิดพื้นฐาน

- ปฏิฐานนิยม (Postivism)

-  ปรากฎการณ์นิยม(Phenomenology)

2. วัตถุประสงค์

- มุ่งวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

-  ต้องการเข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิดโดยเชื่อมโยงกับบริบทของสังคม

3. การกำหนดสมมุติฐาน

- กำหนดล่วงหน้าก่อนทำการวิจัย

- กำหนดคร่าวๆพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

4. การคัดเลือกตัวอย่าง

- สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ทราบโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ถูกเลือก (Probability)

- สุ่มโดยอาศัยการสุ่มชนิดที่ไม่ทราบโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือกเป็นตัวอย่าง

(Non-probability sampling)

5. จำนวนตัวอย่าง

- จำนวนมาก

- จำนวนน้อย

6. ขอบเขตการวิจัย

- ศึกษาในวงกว้าง โดยเลือกเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมา

- ศึกษาแนวลึกเฉพาะกลุ่มที่สนใจ

7. บทบาทของผู้วิจัย

- แยกผู้วิจัยออกจากเรื่องที่ศึกษา

- ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการทำวิจัย

8. วิธีการเก็บข้อมูล

- แบบสอบถาม

- แบบสัมภาษณ์

- การสังเกต

- การสัมภาษณ์เจาะลึก

- การจัดสนทนากลุ่ม

- การบันทึกประวัติชีวบุคคล

9. การวิเคราะห์ข้อมูล

- วิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติช่วย

(Statistical analysis)

- วิเคราะห์เชิงตรรกะเป็นหลักอาจมีการวิเคราะห์เชิงปริมาณช่วยเล็กน้อย (content analysis)

10. การรายงานผล

- รายงานผลโดยอ้างอิงสถิติ (Report statistical analysis)

- รายงานผลโดยอ้างอิงคำพูดหรือเรื่องราวจริงจากกลุ่มตัวอย่าง (Report rich narrative)

11. การสรุปผล

-นำไปใช้อ้างอิงแทนประชาการทั้งหมดได้

- ใช้อ้างอิงได้เฉพาะกลุ่ม

 

 

 

12. ทักษะของนักวิจัย

- มีความสามารถทางสถิติ

- มีความละเอียดอ่อนในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล และการตีความ

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

นิศา ชูโต.  (2540).  การวิจัยเชิงคุณภาพ.   กรุงเทพฯ:  พี. เอ็น. การพิมพ์

สุธรรม  นันทมงคลสมัย. (2543).  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพในงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์.  วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 30(3), 231-234.

Glesne, C., & Peshkin, A.  (1992).  Becoming qualitative researchers: An introduction.  White Plains, NY : Longman.

Maykut, P. & Morehouse, R.  (1995).  Beginning qualitative research: A philosophic and practical guide.  Washington, D. C. : The Falmer Press.

Puavilai, A. (2000).  Philosophical underpinnings of the naturalistic and positivistic-empiricist paradigm and nursing scholarship.  Thai Journal Nursing Research, 4(2), 239-242.

Streubert, H. L. & Carpenter, D. R.  (1995).  Qualitative research in Nursing : Advancing the humanistic imperative. Philadelphia: J. B. Lippincott.

 

หมายเลขบันทึก: 210607เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท