บทบาทศึกษานิเทศก์จากนานาประเทศ


การCoaching /การร่วมกันเรียนรู้เพื่อปฏิรูปการศึกษา

  บทบาทศึกษานิเทศก์จากนานาประเทศ 

การ Coaching   

การร่วมกันเรียนรู้เพื่อปฏิรูปการศึกษา   

 

บทบาทของโค้ช

เป็นกระจกที่จะสะท้อนความคิดและความจริงของการกระทำให้เป็นระบบด้วยบรรยากาศสร้างสรรค์

หน้าต่างที่เปิดโอกาสสู่การเชื่อมโยงกับความรู้และปัจจัยภายนอกเพื่อเพิ่มทางเลือกและความมั่นใจในการตัดสินใจ

และลงมือกระทำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง

สร้างความไว้วางใจ (Building trust) ความเข้าใจ และสนับสนุนให้คิดต่อเนื่อง

 

คุณลักษณะที่จำเป็นของโค้ช

          เป็นบุคคลที่มีต้นทุน          ของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา วิธีสอน รวมถึงมีบุคลิคภาพและเจตคติที่ดีสม่ำเสมอ

          มีความยืดหยุ่นไวต่อความรู้สึก     และเป็นกัลยาณมิตร กับทุกคน

          มีพื้นฐานและประสบการณ์ที่เข้าใจ    ธรรมชาติและวัฒนธรรมการทำงาน

          มีการพัฒนาทักษะ การฟัง การคิด การถาม และการเขียน ที่ชัดเจน

           ,มีระบบการคิดทบทวน (Reflective Thinking)

           มีพฤติกรรมการมองเชิงบวก จับถูก คิดถึงปัญหาเริ่มจากตนเอง

           มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พูดน้อยลง ฟังมากขึ้น ไม่สั่งการใด ๆ

           ช่วยกำหนดจุดพัฒนา เชื่อมโยงและสนับสนุนความเปลี่ยนแปลง  

 

การติดตั้งกระบวนการคิดสะท้อนสำหรับโค้ช

           ขณะนี้เราอยู่ที่ใหน  และ กำลังจะไปที่ใด 

                                                                                                Upper line

อดีต                 ปัจจุบัน               อนาคต                  Normal line

                                                                                                Under line

 

เราคือผู้กำหนดอนาคต

 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับโค้ช

 

        Diary                                                     - สมุดบันทึกข้อมูลทั่วไป

-  สมุดบันทึกไม่มีเส้น

 

                                                                                                โค้ช

 


                เทปบันทึกเสียง                                   Focus                     เสียงสะท้อน

               

 

             โทรศัพท์                                            ติดตามเฝ้าระวัง

 

 

ศีลและธรรม กับการปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้

เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ของโค้ช

 

ศีล    หรือข้อละเว้น

      * ห้ามบอกคำตอบ

             (ถ้าจำเป็นต้องบอกให้ยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง)

       * ห้ามสั่ง

       * ห้ามสอน

พัฒนากระบวนการคิด

ธรรม  หรือข้อควรปฏิบัติ

    * จุดประกายความคิด (inspire)

    * ห่วงใยเอื้ออาทร (Concern)

    * ให้กำลังใจให้เกิดการเรียนรู้สู้สิ่งยาก

         (Challenge & Supporting)

 

รูปแบบการโค้ช

       การโค้ชแบบหนึ่งต่อหนึ่ง

        การโค้ชแบบกลุ่มย่อย 3-5 คน

 

ข้อดีการโค้ชแบบหนึ่งต่อหนึ่ง

               การสื่อสาร แบบเห็นหน้า

-  สามารถบันทึกเสียงขณะสนทนาเพื่อการทบทวนการพบกันในครั้งต่อไปได้

-  การแสดงออกต่อหน้าในเชิงบวกจะเป็นการให้กำลังใจเป็นอย่างดี

ข้อด้อย คือ การแสดงปฏิกิริยาเชิงลบเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง

           ทางความคิดจะเกิดผลลบตามมาอย่างมาก

 

ข้อดีการโค้ชแบบหนึ่งต่อหนึ่ง

    การสื่อสาร ผ่านโทรศัพท์

          มีโอกาสทิ้งคำถามไว้ให้ทบทวนภายหลัง

          มองไม่เห็นการแสดงออกในเชิงลบทางสีหน้าแม้ขณะที่คู่สนทนาบันทึกข้อมูล

          สะดวกสบายหาเวลาว่างตรงกันได้ง่ายขึ้น

ข้อด้อย คือ ไม่สามารถบันทึกเสียงระหว่างสนทนาได้

 

ข้อดีการโค้ชแบบกลุ่มย่อย

          สามารถบันทึกเสียงขณะสนทนาเพื่อการทบทวนการพบกันในครั้งต่อไปได้

          แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ง่ายและทั่วถึง

          สร้างความสนิทสนมได้เร็วขึ้น

ข้อด้อย คือ อาจจะจัดสรรเวลาได้ไม่ตรงกัน

 

มิติการโค้ช

1. การโค้ชเดี่ยว สามารถจัดเวลาได้ง่ายและเป็นวิธีที่โค้ช      ส่วนใหญ่ใช้ แต่มักจะไม่มีการสะท้อนกลับจากทีมโค้ช

    ด้วยกัน ขาดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสภาพจริง

2. การโค้ชเป็นทีม ใช้ได้ดีในกรณีที่โค้ชอยู่ในพื้นที่เดียวกัน  และสามารถสะท้อนกลับปฏิกิริยาบางช่วงของการโค้ช และ สามารถช่วยกันทำความเข้าใจให้ผู้รับการโค้ชได้เป็นอย่างดี

 

กระบวนการโค้ช  :    ขั้นตอนของกระบวนการโค้ช

1. การวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน

2. การเตรียมตัวทบทวนเป้าหมายและหลักการของโค้ช

3. การสร้างความคุ้นเคยและทบทวนจุดประสงค์โครงการ

4. การค้นหาปัญหาและสิ่งรบกวนจิตใจเพื่อกำหนด FOCUS

5. การวางแผนแก้ปัญหาและลงมือทำตามแผน

6. การติดตามผล

7. จัดทำรายงาน

สนับสนุนคุณครูให้ปฏิบัติการสอนได้อย่างยั่งยืน  :

 ความสำเร็จของการโค้ช     เมื่อ    คุณครูและผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 210516เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท