ร่วมงานการประชุมทางวิชาการฯ ม.ศิลปากร


วันที่ 19 กันยายน 2551

ไปร่วมงานประชุมทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน งานนี้ได้ Present ในรูปแบบโปสเตอร์

(เขามีให้ Present ในรูปแบบวาจา กับ โปสเตอร์) การจัดงานค่อนข้างจะมึนงง

ตอนแรกก็สงสัยว่าทำไมไม่ได้ Present ในรูปแบบวาจา แต่พอได้เข้าร่วมงานถึงได้เข้าใจว่า "ทำไม"

ก็เพราะเราไม่เข้าหมวดอะไรก็เขานี่เอง เนื่องจากเขาเปิดรับผลงานวิจัยในปี 2550 แบบกว้างมาก

และจัดหมวดหมู่แบบงงๆ บางอันมันก็เลยดูไม่ค่อยเข้าพวก ไปเดินดูของพวกที่ Present ในรูปแบบ

โปสเตอร์เหมือนกัน ก็เลยเข้าใจ(เอาเอง)ว่า พวกนี้ไม่รู้จะจัดให้ไปอยู่ในกลุ่มไหนดี?

เพราะเขาแบ่งกลุ่มที่นำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะและการออกแบบ

(ซึ่งกลุ่มนี้มีผู้นำเสนองานวิจัยเพียงคนเดียว แถมยังไม่ใช่การออกแบบแบบสวยงาม

แต่เป็นงานวิจัยของงานออกแบบเชิงวิศวกรรม สถาปัตยกรรมแบบมีมาตรวัด ซึ่งเกินความรู้ของเรา แฮ่)

กลุ่มที่สองคือกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มที่สาม คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์

ก็เลยไม่แปลกใจว่าทำไมงานวิจัยเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์ของเรามันถึงไม่เข้าพวก (ซึ่งคิดเอาเองว่าไม่เข้าพวก)

พูดถึงการจัดกลุ่มแยกห้องเพื่อให้นำเสนอผลงานวิจัยเขาก็จัดแบบงงๆ ไม่ใช่น้อย เพราะในกลุ่ม

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก็มีหัวข้องานวิจัยที่ไม่น่าเข้ากลุ่ม เช่น "การเปรียบเทียบแบบจำลองของ

อัตราดอกเบี้ยโดยประยุกต์ใช้กับการตีราคาหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีผลตอบแทนสะสมอ้างอิง" หรือ

"การใช้ความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระหนี้เป็นตัวชี้วัดโครงสร้างเงินทุนของบริษัท : การศึกษาในกลุ่ม

ประเทศอุตสาหกรรม 7 ประเทศ" เป็นต้น (ในความคิดเรา เขาน่าจะกำหนดขอบเขตของแต่ละกลุ่มให้

ครอบคลุมงานวิจัยที่ส่งเข้ามาร่วมเผยแพร่ให้หลากหลายกว่านี้ เช่น ในหัวข้อที่เรายกตัวอย่างน่าจะจัดอยู่

ในกลุ่มเศรษฐกิจและการพาณิชย์ มันน่าจะดูเข้าหมวดหมู่มากกว่านี้แฮะ) อีกอย่างก็คือ เขามีประกาศ

รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น มีผู้ได้รับรางวัล 9 คน แต่เขาดันไม่ประกาศบอกด้วยว่า งานวิจัยของคนที่ได้รับ

รางวัลเหล่านั้น เขาทำวิจัยเรื่องอะไรบ้าง ในเอกสารแจกก็ไม่ได้มีระบุไว้ว่าใครได้รับรางวัลบ้าง เราว่าตรงนี้

เขาน่าจะต้องปรับปรุง (ซึ่งเราเขียนบอกเขาไปในแบบสอบถามแล้ว เขาน่าจะทำนะ ก็เราสนใจนี่ เราก็อยาก

อ่านงานวิจัยที่ได้ชื่อว่า งานวิจัยดีเด่นกะเขาบ้าง)...

งานนี้ต้องขอบคุณนวัตกรรมฯที่คอยอำนวยความสะดวกให้อย่างมากมาย รวมถึงจัดส่งเจ้าหน้าที่มาช่วย

ดูแล และอยู่เป็นเพื่อน (แต่บังเอิญเราเอาเพื่อนของตัวเองไปแล้ว ฮา)

อย่างไรก็ตามการได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ก็ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่แปลกไปอีกแบบ เปิดหูเปิดตาดี

และก็ทำให้รู้อะไรเกี่ยวกับงานทางวิชาการมากขึ้นว่า "...มันเป็นเช่นนี้นี่เอง..." 

หมายเลขบันทึก: 210323เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท