กำเนิดอักษรไทย


อักษรไทย

กำเนิดอักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 ตัว สระ 28 ตัว และวรรณยุกต์ 4 ตัว พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ

อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่ หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่งภาษาไทยมีตัวเลขไทยของตัวเอง แต่ปัจจุบัน ปกติในชีวิตประจำวันจะใช้ตัวเลขอารบิก

ประวัติศาสตร์

อักษรไทยปรับปรุงมาจาก อักษรขอม ในที่นี้ ขอมที่ว่า คือคำที่ คนไทยทางเหนือใช้เรียกคนไทยทางใต้ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามานานแล้วว่า พวกขอม ขอมที่ว่าจึงเป็นขอมที่เป็นไทสยาม การนำภาษาขอม (หรือไทสยาม) มาปรับเป็นภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน นั้น นักวิชาการจำนวนหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พร้อมหลักฐานการศึกษาใหม่เชื่อว่า เป็นการปรับใช้มาจากในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2223) ซึ่งตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับของปัจจุบันมากที่สุด   ในอีกทฤษฎีหนึ่งได้มีการกล่าวไว้ว่า ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ท่าน ทรงประดิษฐ์อักษรที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น และ มีการเรียกกันว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยนั้น มีการสืบอายุกลับไปเพียงประมาณ 700 ปี ซึ่งแท้จริงแล้ว "ลายสือไท" น่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาอักษรไทย ในหลายๆ สาย ซึ่งจริงๆ แล้วไทสยาม ได้มีอักษรใช้กันมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเป็นการวิวัฒน์มาจาก อักษรพราหมี และ ปัลลวะ ซึ่งเป็นแบบตัวอักษรที่นำมาจากอินเดียตอนเหนือและตอนใต้ตามลำดับ[1] ตามหลักฐานที่น่าเชื่อมากกว่ายืนยันว่า ชาติสยาม มีอักษรใช้มานานแล้ว นับได้เป็นพันปี คิดเป็นจำนวนปี ได้ 1400 ปีมาแล้วโดยประมาณ

อักษรไทย

พยัญชนะ 44 รูป

พยัญชนะไทยสามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน

 

วรรค กะ

-

ไก่

ไข่

ขวด*

ควาย

คน*

ระฆัง

งู

วรรค จะ

-

จาน

ฉิ่ง

ช้าง

โซ่

เฌอ

หญิง

 

วรรค ฏะ

-

ชฎา

ปฏัก

ฐาน

มณโฑ

ผู้เฒ่า

เณร

 

วรรค ตะ

-

เด็ก

เต่า

ถุง

ทหาร

ธง

หนู

 

วรรค ปะ

-

ใบไม้

ปลา

ผึ้ง

ฝา

พาน

ฟัน

สำเภา

ม้า

เศษวรรค

-

ยักษ์

เรือ

ลิง

แหวน

ศาลา

ฤๅษี

เสือ

หีบ

จุฬา

อ่าง

นกฮูก

* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จึงใช้ ข และ ค แทนในการสะกด


พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

  • อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ 21 รูป

_

 

วิสรรชนีย์

 

_

 

ไม้ผัด หรือ ไม้หันอากาศ

 

_

 

ไม้ไต่คู้

_

 

ลากข้าง

 

_

 

พินทุ์อิ

 

_

 

ฝนทอง

_

 

นิคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง

 

"

 

ฟันหนู

 

-

 

ตีนเหยียด

-

 

ตีนคู้

 

_

 

ไม้หน้า

 

_

 

ไม้ม้วน

_

 

ไม้มลาย

 

_

 

ไม้โอ

 

 

ตัวออ

 

ตัวยอ

 

 

ตัววอ

 

 

ตัวรึ

ฤๅ

 

ตัวรือ

 

 

ตัวลึ

 

ฦๅ

 

ตัวลือ

วรรณยุกต์ 4 รูป

_

 

ไม้เอก

 

_

 

ไม้โท

 

_

 

ไม้ตรี

 

_

 

คำสำคัญ (Tags): #อักษรไทย
หมายเลขบันทึก: 210266เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดท้าย ไม่จัตวาก็หายไปครับ

น่าสนใจครับ

เอามาลงไว้เยอะๆนะครับ

ภาฦษาไทยที่เรารัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท