ระบบสุริยะ


ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จำลองภาพระบบสุริยะ
 

ระบบสุริยะ อังกฤษ: Solar System ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง[1] ดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย (scattered disc) ขอบเขต heliopause (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต

ดาวเคราะห์ชั้นในประกอบด้วย

ดาวเคราะห์ยักษ์ชั้นนอกประกอบด้วย

ดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงประกอบด้วย

  • ซีรีส เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย
  • พลูโต เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบในแถบไคเปอร์
  • อีรีส เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบในเขต scattered disc

สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยะจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ^ สก็อตต์ เอส. เชพพาร์ด. The Jupiter Satellite Page. Carnegie Institution for Science, Department of Terrestrial Magnetism.
  2. ^ http://en.wikipedia.org/wiki/Solar_system
คำสำคัญ (Tags): #ระบบสุริยะ
หมายเลขบันทึก: 210124เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท