การปกครองระบอบประชาธิปไตย (democracy)


การปกครองระบอบประชาธิปไตย (democracy)

การปกครองระบอบประชาธิปไตย (democracy)


การปกครองระบอบประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง การนำแนวคิดประชาธิปไตยมาใช้จริงนั้นมีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน จากประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ ไปเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่บางประเทศก็เป็นแค่ในนาม บางประเทศเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มีเสรีภาพ บางประเทศเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และบางประเทศก็พัฒนาไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของรัฐบาล และมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ ประชาธิปไตยนั้น กล่าวได้ว่ามีความหมายทั้งในแง่อุดมการณ์หรือลัทธิความคิดทางการเมือง และความหมายในเชิงระบอบการปกครอง โดยเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่า ระบอบการปกครองที่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกเงื่อนไขรองรับศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคมคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ


คำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากภาษากรีกโบราณว่า “Democratia” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Demo” หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี ๒-๓ ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้ ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ “ekklesia” ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย) อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ “cratia” ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง อันอาจจะสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้จากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมาจากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้
หมายเลขบันทึก: 209918เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนทุกคนเกิดมาเหมือนกันย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย

ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห้นได้ ผู้หญิงเกิดมามี 2มือ 2 เท้า

เหมือนผู้ชายควรมอบสิทธิให้เสมอภาคกัน จริงมั๊ยคะพี่น้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท