การรับรองมาตรฐานการสอนของครู


การรับรองมาตรฐานการสอนของครู

 

1. เหตุผลและความจำเป็น
การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนของประเทศ   เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการศึกษาดังกล่าวครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งกล่าวคือ   เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ แนะวิธีการ เสาะแสวงหาความรู้ปลูกฝังวิญญาณ คุณงามความดี และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงางมของชาติสืบต่อกันตลอดไป   สังคมโดยทั่วไปได้ยกย่องครูเป็นบิดามารดาคนที่สองหรือปูชนียบุคคล ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างสูงต่อบุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านั้นจะเห็นว่า ครูคือบุคคลสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ครูเป็นหัวใจในการพัฒนาคน การจัดการศึกษาอย่างแท้จริง คือ  ผลผลิตจากครูอาจารย์นั่นเอง ถ้าครูมีคุณภาพ ผลผลิตย่อมมีคุณภาพตามไปด้วย คุณภาพของครูขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอน ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการครูควรกำหนดไว้เป็นมาตรฐานของชาติ        

พฤติกรรมกสนสอนที่มีมาตรฐานของชาติ พฤติกรรมการสอนที่มีมาตรฐานย่อมประกัยคุณภาพแห่งผลผลิต ฉะนั้นมาตรฐานการสอน (พฤติกรรมการสอนของครู)   จึงเป็นเกณฑ์เพื่อประเมินผลของครูเป็นรายบุคคลที่จะใช้เป็นแนวทางการประกันคุณภาพการสอนนของครูได้ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่     19 กุมภาพันธ์ 2539 กล่าวว่า ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างและพัฒนานักเรียนนักศึกษาโดยรอบด้านทั้งงด้านสติปัญญา  ร่างกายอารมณ์และสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติโดยส่วนร่วม     ดังนันครูนอกจากจะมีความรู้ ความสามารถและทักษะในวิชีพครู ยังจะต้องมีความรัก ความหวังดี มีน้ำใจ มีความเมตตา กรุณา เป็นที่พึ่งและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ ตลอดจนพัฒนาตนเองอย่างส่ำเสมอ    จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะต้องได้รับจากสังคมและจะต้องหาแนวทางพิสูจน์ และรับประกันคุณภาพของครูอาจารย์ต่อสังคม

การสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งครู อาจารย์นั้น     อาศัยควาวมเชื่อมั่นว่าบุคคลที่ผ่านหลักสูตรการเรียนในมหาวิทยาลัยหรือจากสถาบันราชภัฏหรือเทคโนโลยีราชมงคล   มีการเรียนวิชาการสอน (วิชาครู) มาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิจ ก็สามารถจะเป็ครูที่ดี ในเรื่องนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็หวังว่าจะเป็นครูที่ดีได้ ในอดีตจากการฝึกหัดครูได้คนดี  คนเก่งเข้ามาศึกษาวิชาชีพครู   ครูจึงเป็นที่ยอมรับของสังคม แต่ในปัจจุบันเป็นที่เชื่อมั่นว่าการเรียนจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอื่น ๆ คงจะไม่เพียงพอต่อควาวมเชื่อมั่นของสังคม จำเป็นต้องหามาตรการอื่นๆ ที่จะให้สังคมเชื่อถือและไว้วางใจ ก.ค.จึงสมควรหาทางประเมินคววามเชื่อมั่นในการสอนของครูดังต่อไปนี้
(1) สร้างความเป็นสากลให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยทั่วไป
(2) ผลักดันให้เกิดการแข่งขันเทคนิควิธีการสอน
(3) สร้างความเชื่อมั่นต่อสังคมในพฤติกรรมการสอนของครู อาจารย์
(4) เร่งรัดการพัฒนาครูให้เข้าสู่มาตรฐานการสอน

2. คุณภาพการสอนของครู
พฤติกรรมการสอนของครูในทุกระดับการศึกษาและทุกวิชาที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ จะต้องส่งผลให้ผู้เรียนได้บรรลุสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยสมบูรณ์ครบถ้วน   สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคาระห์บทบาทที่แท้จริงของครูว่า  เป็นบทบาทและหน้าที่จะต้องวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง พฤติกรรมการสอนหรือวัฒนธรรมการสอนของครู   ที่ครู-อาจารย์ส่วนใหญ่ของประเทศประพฤติปฏิบัติและเกิดผลดีต่อผู้เรียนได้อย่างแท้จริงนั้น จึงจะยอมรับ ได้ว่าครูผู้นั้นมีคุณภาพการสอน

คุณภาพการสอนที่แท้จริงไม่แตกต่างไปจากการบริการที่ประทับใจโดยทั่วไปของอาชีพอื่น ๆ ส่วนที่ทำให้เกิดคุรภาพการสอนก็คือ มาตรฐานการทำงานของครูดดยทั่วไปนั่นเอง    เมื่อเปรียบเทียบการทำงานของครู-อาจารย์ต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ส่วนหนึ่งมาจากการประกันกระบวนการผลิต ซึ่งถือว่าเมื่อมีกระบวนการผลิตที่ดี มีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก็จะทำให้ผลผลิตนั้นออกมาสู่ตลาดอย่างมีคุณภาพที่ ISO     ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สำหรับครู-อาจารย์นั้น จะมีความสลับซับซ้อนในพฤติกรรมการผลิตต่างจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก เพราะครูเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้คุมกระบวนการผลิตมีเอกสิทธิ์ในห้องเรียนแต่ผู้เดียว  จึงเป็นบุคคลที่มีคุณภาพเหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมายโดยไม่อาศัยปัจจัยภายนอกมาเป็นเครื่องชี้วัด คือ
W(in) = W(ouy) (โดยไม่ต้องคำนึงถึงการ Loss ใด ๆ)

3. แนวทางการปรพกันคุณาพการสอนของครู
ครูที่มีคุณภาพจะตอ้งเชื่อว่า
W(in) = W(ouy) (โดยไม่ต้องคำนึงถึงการ Loss ใด ๆ)
W(in)  คือ งานที่ครู-อาจารย์ปฏิบัติเต็มที่ตามที่ได้รับมอบหมายเท่ากับคุณภาพการสอน
W(ouy)  คือ การบรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตร (โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ) 
คุณภาพของครู = คุณลักษณะของครู + คุณภาพการสอน

1)  คุณลักษณะของครู หมายถึง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การรักษา มีความวิริยะอุตสาหะ มีจริยธรรม และความประพฤติ สามารถประเมินพฤติกรรมได้ มีตัวชี้วัด และสามารถประเมินพฤติกรรมได้

2) คุณภาพการสอน หมายถึง ความรู้ ทักษะการสอน เทคนิคการสอน การใช้สื่อเทคนิค การประเมินผล แนวทางปฏิบัติต่างๆ      ที่จะส่งผลให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

กล่าวโดยสรุป  การประกันคุณภาพครู คือ       การวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบขององค์กรบริหารงานบุคคลของราชการครู (ก.ค.)     เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเรียนการสอน อีกนับหนึ่งหมานยถึง กิจกรรม หรือวิธีปฏิบัติใด ๆ ที่ครู-อาจาย์ปฏิบัติและดำเนินการและใช้เทคนิควิธีการสอนที่ได้วางแผนไว้ดีแล้ว จะทำให้เกดความเชื่อมั่นในผลผลิต    อันได้แก่นักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการเรียนจากครู-อาจารย์ ผู้สอนราวิชานั้น ๆ จะมีคุณภาพและสัมฤทธิ์

4. แนวคิดและยุทธวิธีในการประกันคุณภาพครู-อาจารย์
ผู้ที่จะประกอบอาชีพครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะต้องได้มาตรฐานสากล   การเข้าสู่มาตรฐานสากล จะต้องมีการประเมินทั้งภายนอกและภายในองค์กร อย่างมีระบบ  เป็นที่เชื่อถือและตรวจสอบได้ทั้งระบบการสอน และตรวจสอบผลของการดำเนินการอย่างน้อยผู้เข้าสู่การประกอบอาชีพ จะต้องเข้าสู่มาตรฐานขั้นต่ำ (MRT)     ของครูจัดให้มีกระบวนการตวรจสอบและประกันคุณภาพอย่างมีขั้นตอน เพื่อกระตุ้นให้ครู-อาจารย์ทั่วประเทศเร่งรัดพัฒนาคุณภาพ     สามารถตรวจสอบได ้สร้างความเชื่อมั่นให้สังคมตลอดไป

ยุทธวิธีในการดำเนินการประกันคุณภาพการสอนของครูอย่างมีระบบและต่อเนื่อง
1) จัดตั้ง อ.ก.ค. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการประกันคุณภาพการสอน
2) ขยายผลการศึกษา ให้มีเครือข่ายนำร่อง การประกันคุณภาพ
3) ขยายเครือข่ายการยอมรับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
4) สร้างระบบการประกันให้เป็นที่ยอมรับจากสังคม
5) ขยายผลการประกันไปในทุกระดับของครู-อาจารย์
6) สร้างองค์กรในระดับชาติ    เพื่อควบคุมมาตรฐานการประกอบของครูได้เป็นองค์กรอิสระ

เพื่อให้เกิดผลตามแนวคิดดังกล่าว สำนักงาน ก.ค. ต้องเร่งรัดสนับสนุนให้ อ.ก.ค. เฉพาะกิจ เร่งรัดการดำเนินการและทดลองมาตรฐานขั้นต่ำของอาชีพ เพื่อครูรุ่นใหม่จะได้เป็นหลักประกันของสังคมต่อไป

5. บทสรุป  การประกันคุณภาพขอวครูควรมี 2 ระดับ   คือ
ระดับที่ 1
ควบคุมโดยองค์กรบังคับบัญชาโดยตรง ให้มีความเชื่อมั่นได้ว่า การควบคุม  การกำกับดูแล การสนับสนุน กระบวนการสอนเป็นไปอย่างไรผลตรงตามมาตรฐานกำหนด

ระดับที่ 2
เป็นการควบคุมคุณภาพการสอน โดยองค์กรกลางหรือองค์กรภายนอก เพื่อตรวจสอบและควบคุมคุณภาพภายในอีกชั้นหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพทั้งสองระดับ ต้องมีแผนงานและการปฏิบัติที่เป็นระบบ    เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และต้องทำทั้งสามขั้นตอน คือ
1) พัฒนาคุณภาพ
2) ตรวจสอบคุณภาพ
3) ประเมินคุณภาพ
และเมื่อทำให้ครบทั้งสามขั้นตอนแล้ว จึงถือว่าเป็นการประกันคุณภาพของครู
การประกันคุณภาพนั้น ควรแยกพฤติกรรมการสอนออกตามวัย   หลักสูตร และพฤติกรรมของผู้เรียน ควรจะแบ่งการประกันคุณภาพประเภท
- ครูผู้สอนระดับอนุบาล
- ครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ครูผู้สอนอาชีพ
- ครูผู้สอนระดับอุดมศึกษา

เพื่อผู้ใช้บริการไม่สับสนต่อความรู้ความสามารถของครู    และให้เหมาะสมกับงานที่จ้างให้ดำเนินการสอนอยู่ และพื่อการตรวจสอบคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะมีการประกันครูชั้นหนึ่งและชั้นสอง ครูชั้นหนึ่ง เมื่อมีการประเมินผลงานการสอนแล้ว ไม่ควรมีการสูยเสียใด (ค่า Loss = 0)  ส่วนครูประกันคุณภาพชั้นที่สอง นั้น ให้มีค่าของการสูญเสียได้บ้างตามสมควร อ.ก.ค. เฉพาะกิจว่าด้วยการประกันคุณภาพครูนั้นควรจะดำเนินการทำประชาพิจารณ์ เพื่อหาข้อยุติ เพื่อเป็นภาพรวมของสังคม  ผลจึงจะเกิดแก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์

ที่มา:http://www.aksorn.com

หมายเลขบันทึก: 209520เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท