โลจิสติกส์ (logistic) ประสานกับห่วงโซ่อุปทาน การนำห่วงโซ่อุปทานมาใช้เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน โดยมีความเหมือนกันทุกทึ่ทุกเวลาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทาน ใช้เรียกหน่วยงานที่อยู่ในสายธุรกิจ กล่าวคือ ทุกหน่วยงานเป็นส่วนหนึ่งที่ร้อยเรียงกันของกระบวนการ ที่จะนำสินค้า/บริการ ไปสู่ผู้บริโภค หรือก็คือ การเชื่อมโยงกันของระบบ Logistics ของแต่ละหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกัน เพื่อให้วัตถุดิบส่งผ่านจากหน่วยงานแรก ซึ่งเป็นผู้ผลิต/ผู้ขายวัตถุดิบ ไปยังหน่วยงานที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อผลิตสินค้า แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานต่อไป ซึ่งเป็นผู้ที่จะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง

โดยสรุปแล้ว Logistics คือภาคย่อยของแต่ละหน่วยงาน เป็นกิจกรรมที่แต่ละหน่วยงานต้องบริหาร และเมื่อแต่ละทุกหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกันมาวางแผนร่วมกัน เพื่อให้การบริหารในภาคย่อยมีความสอดคล้อง มีทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน นั่นก็จะกลายเป็น Supply Chain Management และหากมองในภาพรวมของประเทศไทย หากธุรกิจทุกประเภทมีการวางแผนร่วมกันในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังและเป็นระบบ ระบบธุรกิจของประเทศไทยก็จะมีการบริหารจัดการในเรื่องของ Logistics และ Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อธุรกิจของประเทศได้

การกำหนดความหมายของการจัดการโลจิสติกส์ 
       เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจระดับประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนด ถึงคำจำเพาะความหมายให้แน่ชัด ในอดีตสิ่งตีพิมพ์ธุรกิจและทางการศึกษาได้เรียกโลจิสติกส์หลากหลายชื่อด้วยกันเช่น
การกระจายสินค้าทางกายภาพ (Physical distribution)
การกระจายสินค้า (Distribution)
วิศวกรรมการกระจายสินค้า (Distribution engineering)
โลจิสติกส์ธุรกิจ (Business logistics)
โลจิสติกส์การตลาด (Marketing logistics)
โลจิสติกส์การกระจายสินค้า (Distribution logistics)
การจัดการพัสดุ (Materials management)
การจัดการโลจิสติกส์พัสดุ (Materials logistics management) 
โลจิสติกส์ (Logistics)
ระบบตอบสนองเร็ว (Quick-response systems)
โลจิสติกส์อุตสาหกรรม (Industrial logistics)
การจัดการซัพพลายเชน (Supply chain management)
ครั้งนั้นกลุ่มคำเหล่านี้มักจะอ้างอิงความสำคัญ ในสิ่งเดียวกัน กล่าวคือ หมายถึงการจัดการของการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดกำเนิดถึงจุดการบริโภคสินค้า แต่การจัดการโลจิสติกส์มีการขยายขอบเขตกว้างออกไปมากในวิชาชีพโลจิสติกส์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์การที่เกี่ยวข้องได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย พอสรุปตามลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
” โลจิสติกส์คือ ศิลปศาสตร์ขสองการกำหนดความต้องการการได้มา การกระจายสินค้าและท้ายที่สุดเป็นการรักษาไว้ของเงื่อนไขความพร้อมในการปฏิบัติการ เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์”          (สโตน, พ.ศ. 2511)
” โลจิสติกส์ เป็นการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและการประสานงานของอุปทานและอุปสงค์ในเวลาที่กำหนดและการใช้ประฌยชน์ของสถานที่ ” (เฮสเกต , กลาโคว์สกี้ และไอวี , พ.ศ. 2516)
และ  โลจิสติกส์คือ กระบวนการวางแผนปฏิบัติการวางแผนปฏิบัติการและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและปริทธิผลของการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าระหวางผลิตสินค้าสำเร็จรูปและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคเพื่อเป้าหมายในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า “  (US. Council of LogisticsManagement  (พ.ศ. 2529))
” โลจิสติกส์คือ กลยุทธ์การจัดการเคลื่อนย้าย จัดเก็บและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับพัสดุชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูปในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ช่วงการจัดหา งานระหว่างกระบวนแปรรูปจนถึงการกระจายสินค้า เป้าหมายทั้งหมดก็เพื่อการสนับสนุนสูงสุดในปัจจุบันและการสร้างกำไรในอนาคต ตลอดจนการบรรลุต้นทุนที่ต่ำสุดในการสั่งซื้อของลูกค้า” (ดูเปอร์ , เอ็ด พ.ศ. 2537)
” โลจิสติกส์คือ เวลาที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของทรัพยากรหรือกลยุธ์การจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งหมายถึงการจัดลำดับของเหตุการณ์ที่มุ่งสู่ความพอใจลูกค้า ได้แก่ การจัดหา การผลิต การกระจายสินค้า และกำจัดของเสีย รวมทั้งการขนส่ง การจัดเก็บและเทคโนโลยีสารสนเทศ ” (UK Institute of Logistics and Transport , พ.ศ. 2541)
“ โลจิสติกส์คือ ประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดกำเนิดจนถึงลูกค้าและยังรวมถึงการเคลื่อนย้ายจากแหล่งวัตถุดิบสู่สายงานการผลิต กิจกรรมเหล่านี้ได้รวมถึงการขนส่ง การคลังสินค้า การเคลื่อนย้ายพัสดุ การบรรจุภัณฑ์ การควบคุม การพยากรณ์ทางการตลาดและการบริการลูกค้า  ”
( US. National Council of Physical Distribution Management ( NCPDM ) พ.ศ.2542 )
สรุปภาพรวม
โลจิสติกส์ = การจัดหา + การจัดการพัสดุ + การกระจายสินค้า

 

กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
• งานบริการลูกค้า
• การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
• การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
• การจัดซื้อจัดหา
• การจัดการสินค้าคงคลัง
• การจัดการวัตถุดิบ
• การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
• การบรรจุหีบห่อ
• การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
• การขนของและการจัดส่ง
• โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
• การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
• การกระจายสินค้า
• คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
• การจราจรและการขนส่ง
• กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
• การรักษาความปลอดภัย

การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อบรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและการบริการ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า โลจิสติกส์
สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม. และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.utcc.ac.th