ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

การจัดระบบสุขภาพท้องถิ่นโดยชมรมหมอพื้นบ้านบ้านดุง


การจัดระบบสุขภาพท้องถิ่น

วันนี้มีการประชุม

การประชุมทิศทางการสร้างระบบสุขภาพท้องถิ่น  :  กรณีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

  เทศบาลตำบลบ้านจั่น

รต.บุญโฮม ปานวงษ์  ประธานชมรมผู้สูงอายุสัมพันธ์สุข คุณปู่เป็นหมอใหญ่ สมัยก่อนอำเภอน้ำโสมจะมาที่บ้านผือต้องนอนหนึ่งคืน  หมอพื้นบ้านสำคัญจริง ๆ ตามหลักพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผู้ประทำความดี มีกุศล เป็นคนที่น่านับถือ เพราะคนเราเกิดมาจะเอาพยาธิมาด้วย เป็นรังโรค ผมเห็นถุงยาหลายถุง ยาแห้งยาเย็น ยาใหญ่ที่สุดคือยาซุม  แก้โรคที่หนักที่สุด การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได้ การรักษาสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ในหมู่บ้านที่ห่างไกลต้องอาศัยหมอพื้นบ้าน  ในสภากาแฟมีหมอมวล  มีพ่อตู้คนหนึ่งไปเอายาสารพัด ใครว่าดี เอามากินหมด เลยเป็นโรคจากยาทำตายเลย หมอพื้นบ้านให้มีอิทธิบาท 4 และแต่ละคนแต่ละหมู่บ้านมีภูมิปัญญาทั้งนั้น  มีความหลากหลาย  การมีฉันทะ วิริยะ มีความเพียรไปหายาสมุนไพร เราต้องคิด จิตตะ ต้องมี วิมังสา  หมอมีพรหมวิหาร 4 เมตตาให้คนไข้มีความสุขทั้งกายใจ กรุณา มุทิตา อุเบกขา

บรรยายระบบสุขภาพท้องถิ่น โดยนายคมเดช พวงศรี ผมอายปีนี้ห้าสิบเก้าปี บ้านเดิมอยู่ที่ยโสธร สมัยนั้นขึ้นกับอุบลราชธานี คุณตาของผมเป็นพระอุปัชฌาย์ ผมเป็นสังกะลีเดินตามไปช่วยฝนยา  ซึ่งคุณพ่อบุญโฮม ได้พูดไปแล้วว่า  หมอต้องมีอิทธิบาท 4 ผมเห็นมีหมอลำภูไท หมอเหยา ที่สกลนครมาทำให้จิตใจของคนป่วยมีจิตที่เข้มแข็งขึ้นทำให้หายป่วยได้ น่าสนใจน่าศึกษา หมอชีวกโกมารภัจจ์ยังบอกว่าไม่มีต้นไม้ไหนที่ไม่เป็นยา แม้กระทั่งเห็ด ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญ ฝากหมอพื้นบ้านได้สืบสานเรื่องนี้ไว้ อยากให้หมอพื้นบ้านทำหลักการการวิจัยไว้ขอให้จดบันทึกไว้ด้วย  ทำเป็นประวัติคนป่วย  ให้อะไร เมื่อไหร่หาย นำมาวิเคราะห์ประเมินผล และไม่หน้ามึนตึง  หมอพื้นบ้านน่าจะเข้าใจดี ฝากให้บริการดีประทับใจ คนที่จิตใจดีเขามาเขาก็รู้เลย นอกจากนี้ให้ออกกำลังกยให้พอเหมาะพอควรกับตนเอง อายุมากให้รำมวยจีน แทนที่จะขี่รถไปวัด ก็เดินไปซะ   ย่างไปมันอาย ขี้ทุกข์บ่มีรถ คิดผิด  เพื่อประโยชน์ของตนเอง  และให้มีความสะอาด

1.       กองทุนประกันสุขภาพแบบพื้นบ้าน

- การจัดการระบบสุขภาพท้องถิ่น  แนวทางการทำงาน  คนที่ไม่สบายด้วยอาการที่หมอพื้นบ้านสามารถดูแลได้อย่างปลอดภัย  และบำบัดบรรเทาอาการนั้นๆได้  โดยทำตามวัฒนาธรรมดั้งเดิม  มีครูมีคายแต่กองทุนจะจัดค่าสมนาคุณให้

 

ข้อมูลจากมุมมองของการประกอบโรคศิลปะ โดย ภญ.กนกพร

        การประกอบโรคศิลปะ ซึ่งผู้ที่จะประกอบโรคศิลปะ ทำคลินิกการรักษาต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ โดยตามมาตรา 4  ได้ให้ความหมาย "การประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า  การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น 

 

 มาตรา 30  ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประกอบโรคศิลปะ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    (1) การประกอบโรคศิลปะที่กระทำต่อตนเอง
    (2) การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

        

ข้อมูลจากมุมมองของระบบสุขภาพท้องถิ่น โดย คุณปริญญา สปสช.สนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ มีการร่วมโครงการของจังหวัดอุดรธานี โดยงบประมาณที่สนับสนุนจำนวน 37.50 บาทต่อหัวประชากร เทศบาลบ้านจั่นได้ดำเนินการอยู่แล้ว  กองทุนสุขภาพพื้นที่ ในส่วนของเครือข่ายหมอพื้นบ้านสามารถเข้ามาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนนี้ได้  สนับสนุนให้สถานีอนามัย , ท้องถิ่น และสนับสนุนให้แก่เครือข่ายองค์กรชมรมต่าง ๆ หรือชมรมหมอพื้นบ้าน 

 

ข้อมูลจากมุมมองของยุทธศาสตร์ โดย คุณสถิดาภรณ์ งานสมัชชาสุขภาพ ระบบสุขภาพอุดร เป็นองค์กรชั้นนำด้านสุขภาพ ด้านบริหารจัดการ ...

         “สมัชชาสุขภาพหมายความว่า กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม

      มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

         (๑) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ

         (๒) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ

         (๓) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ

         (๔) การสร้างเสริมสุขภาพ

         (๕) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ

         (๖) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ

         (๗) การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

         (๘) การคุ้มครองผู้บริโภค

         (๙) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ

         (๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

         (๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข

         (๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ

 

 

มาตรการการดำเนินการเพื่อจัดระบบกองทุนหมอพื้นบ้าน เพื่อสนับสนุนให้หมอพื้นบ้านยังคงอยู่ได้ในสังคมและมีข้อมูลสนับสนุน

 

1.    กำหนดคุณสมบัติของหมอที่จะเบิกเงินกองทุนได้

a.     เป็นสมาชิกชมรม กรณีสมัครใหม่ต้องผ่านการลงมติรับรองตามข้อบังคับของชมรมเสียก่อน

b.   มีข้อมูลในสารานุกรม กรณีที่ยังไม่มีต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและนำมาผ่านการลงมติรับรองในการประชุมประจำเดือนของชมรม

2.    การเก็บข้อมูลคนไข้ กำหนดให้มีผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลคนไข้ของหมอพื้นบ้าน

a.    คณะกรรมการชมรมจัดอบรมเทคนิคการเก็บข้อมูลคนไข้ให้หมอยาน้อย (เยาวชนรักษ์ถิ่น) หรือ ถ้ายังไม่มีให้ผู้ประสานงานของตำบลเป็นผู้เก็บข้อมูลคนไข้

b.     ผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลคนไข้ เก็บข้อมูลของคนไข้ที่ไปหาหมอพื้นบ้าน ตามแบบที่กำหนด

ข้อมูลที่บันทึก ได้แก่

1.ข้อมูลทั่วไป ชื่อ ที่อยู่ อายุ

2.ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่ป่วย ได้แก่

         วันที่มา........................................................

         อาการที่ทำให้ต้องมา..................................

         กระบวนการรักษา / ยาที่ให้ กินอย่างไร ใช้อย่างไร / ใช้นานเท่าไร

         ผลการรักษา หายหรือไม่ กี่วันหาย มีการรักษาอย่างอื่นมั้ย

 

3.    การส่งข้อมูลเพื่อการเบิก

a.     ผู้ประสานงานระดับตำบลรวบรวมข้อมูลของแต่ละเดือนในระดับตำบลทุกวันที่ 25

b.   ผู้ประสานงานระดับตำบลนำข้อมูลดังกล่าวไปผ่านเรื่องให้ อบต. สอ. ของตำบลนั้นๆ ทราบ (ชื่อหมอ  จำนวนคนไข้  ยอดเบิกของแต่ละหมอ ) โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน เพื่อให้ทันการนำเข้าที่ประชุมประจำเดือน

c.    ผู้ประสานงานระดับตำบลนำข้อมูลเข้าที่ประชุมประจำเดือนชมรมเพื่อให้กรรมการลงมติรับรอง โดยให้จัดให้มีการประชุมทุกเดือน บรรจุเรื่องการเบิกค่าตอบแทนเก็บข้อมูลเป็นวาระหลัก ( หมอ ร้อยบาท คนเก็บข้อมูล ห้าสิบบาท)

4.    การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล

a.    ผู้จัดการทั่วไป หรือ เลขาชมรม หรือ พี่เลี้ยง นำข้อมูลที่ผ่านการลงมติรับรองแล้วลงข้อมูลในระบบให้เป็นปัจจุบัน

b.   ฝ่ายศูนย์เรียนรู้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาความชุก ความนิยม ความร่วมสมัยใช้ประโยชน์ได้จริงของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  โดยวิเคราะห์ทุก 2 เดือน

                                                                                                                         i.      อันดับโรคพื้นบ้านยอดฮิต

                                                                                                                      ii.      อันดับหมอพื้นบ้านยอดฮิต มุ่งสู่ หมอพื้นบ้านต้นแบบ

 

 

หมายเลขบันทึก: 209203เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เขามาแซว...
  • อันดับโรคพื้นบ้านยอดฮิต
  • แสดงว่าถ้าใครเป็นแล้วจะเท่ใช่มั๊ยคะ  อิ  อิ  อิ

ล่าสุด เดือนมกราคม 2552 พ่อสะลี เอาบันทึกการดูแลอาการเจ็บป่วยมาให้ดู 80 คน ครับ แล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังอีกทีหนึ่งนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท