ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์


ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์

ในยุคข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยี ทำให้โลกของเรานั้นเจริญขึ้นทุกวินาที อย่างไม่หยุดยั้ง มีการคิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและอำนวยแนวทางในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างหลากหลาย การจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็ส่งเสริมในรูปของสื่อเทคโนโลยีกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมให้ครูได้มีการจัดทำสื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นตัวช่วยสื่อสาร หรือแม้กระทั่งการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยส่งเสริมนักเรียนให้ไปทัศนศึกษา ณ สถานที่ที่มีสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ตื่นตาตื่นใจกันทั่ว โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความรู้ความจริงที่สามารถพิสูจน์และทดลองค้นหาเพื่อได้รับทราบความจริงจึงจะมีการเชื่อถือและยอมรับ และความรู้ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในตำรา ก็เป็นเรื่องที่มีการศึกษาค้นคว้าจากคนในยุคก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ แต่มีข้อสังเกตคือ บุคคลเหล่านั้นเป็นชนชาวต่างชาติ ซึ่งได้คิดค้น กฎหรือทฤษฎีแล้วนำมาบันทึกให้บุคคลทั่วโลกได้ศึกษากัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การได้มาซึ่งความรู้ดังกล่าวก็ล้วนมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันในถิ่นที่อยู่ของตนแทบทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อหันกลับมามองในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันหรือในอดีต คนไทยก็เป็นชาติที่มีการสร้างอารยธรรมและภูมิปัญญาของตนเพื่อปรับใช้ในการดำรงชีวิตและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตของตนและบุคคลรอบข้างเช่นกัน ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้ถ้าเราได้ศึกษาล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องมีการสั่งสม เรียนรู้แบบลองผิดลองถูกอย่างหลายครั้งหลายคราจึงจะได้กำเนิดวัตถุสิ่งของเฉกเช่นเดียวกับที่คนต่างชาติได้คิด แต่คนไทยมิได้นำมาเขียนเป็นหลักการความรู้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลายอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะถ่ายถอดกันจากปากต่อปาก หรือจากคนในตระกูลของตน ทำให้วัฒนธรรมบางอย่างต้องสูญหาย เนื่องจากคนมีการถ่ายทอดสู่กันไม่หมด อาจเป็นเพราะสาเหตุต่างๆ กันไป

                ซึ่งจากเหตุการณ์ที่กล่าวมาในข้างต้น ทำให้เราในฐานะที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ได้มีโอกาสที่จะใช้ความรู้ความสามารถในด้านที่ร่ำเรียนฝึกฝนมาใช้ในการถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังสืบต่อไป จึงควรหันมาอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยในแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงความจริงอย่างมีเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้นั้นง่ายสำหรับการที่จะให้นักเรียนได้สืบเสาะ สืบค้นหาข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาเชื่อมโยงกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตนได้เรียน นอกจากจะทำให้มีความรู้ในท้องถิ่นของตนแล้ว ยังได้ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่า เพื่อรักษาไว้ตราบนานเท่านาน

หมายเลขบันทึก: 209101เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท