เรื่องของแฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)


แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)

เรื่องของแฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)  

   Universal Serial Bus (USB) แฟลชไดรฟ์ คืออุปกรณ์ ขนาดเล็กที่สามารถพกพา และใช้เสียบเข้ากับ USB พอร์ต ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ USB แฟลชไดร์ฟใช้เก็บข้อมูลเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ แต่แฟลชไดร์ฟสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ได้โดยสะดวก USB แฟลชไดรฟ์จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป และเก็บข้อมูลได้หลายกิกะไบต์ USB แฟลชไดร์ฟยังเรียกอย่างอื่นได้อีกว่า ไดรฟ์ปากกาไดร์ฟขนาดย่อไดรฟ์พวงกุญแจไดรฟ์กุญแจ และคีย์หน่วยความจำ

 

 

 


หน่วยความจำแฟลชไดรฟ์ของเขาสามารถทนต่อรอบการเขียนข้อมูล(write cycle) ได้ประมาณ 10,000 ครั้ง   ซึ่งสำหรับคำว่า write cycle ในที่นี้หมายความว่า การเขียนและลบไฟล์นั้นออกไป

อย่างไรก็ตาม มันมีความเป็นไปได้ว่า หน่วยความจำบางส่วนในแฟลชไดรฟ์เสียไปแล้ว แต่เราก็ยังสามารถใช้ส่วนที่เหลือได้เป็นปกติ เพียงแต่จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงบนส่วนที่เสียหายได้เท่านั้น ความรู้สึกว่า แฟลชไดรฟ์ของผู้ใช้ก็คือ มันยังปกตินั่นเอง
          แฟลชไดรฟ์บางรุ่นที่ฉลาดหน่อยจะมีวิธีการที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์เขียนข้อมูลซ้ำลงบนหน่วยความจำเดิมอยู่บ่อยๆ โดยเลือกให้ไปเขียนในบริเวณอื่นบ้าง แต่แล้วทำไมผู้ใช้บางคนถึงได้เปลี่ยนแฟลชไดรฟ์ในระยะเวลาไม่กี่เดือนทุกที พอสอบถามจึงได้ความว่า วันหนึ่งๆ แฟลชไดรฟ์ของเขาต้องเสียบเข้า เสียบออกกับคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ บ่อยมาก ซึ่งมันอาจจะเกิดปัญหากับคอนเน็คเตอร์ยูเอสบี (คอนเน็คเตอร์คือ ตัวติดต่อข้อมูล) ก็ได้ ทำให้ระบบแจ้งข้อผิดพลาดว่า ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในแฟลชไดรฟ์ของเขาได้ ความจริงกรณีนี้ หน่วยความจำที่อยู่ภายในอาจจะไม่ได้เสียหายเลย แต่คอนเน็คเตอร์ต่างหากที่มีปัญหา

นอกจากนี้ การถอดแฟลชไดรฟ์ออกจากเครื่องขณะที่กำลังเขียนข้อมูลเข้าไป หรือใช้แฟลชไดรฟ์กับโน้ตบุ๊กที่แบตเตอร์รี่กำลังจะหมด เหตุการ์ณทั้งสองนี้ ระบบจะแจ้งว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับแฟลชไดรฟ์ได้เหมือนกัน   สำหรับข้อผิดพลาดเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า แฟลชไดร์ฟของคุณเสียแล้ว วิธีแก้ง่ายๆ ก็เพียงแค่ฟอร์แมตใหม่ อาการเพี้ยนก็จะหายไปแล้วค่ะ ยกเว้นปัญหาเกิดจากคอนเน็คเตอร์ USB เพื่อความมั่นใจ ควรเลือกใช้แฟลชไดรฟ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ อย่าซื้อเพราะแค่ถูกอย่างเดียว เพราะข้อมูลสำคัญที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์อาจมีมูลค่ากว่าราคาของมันหลายเท่านัก และที่สำคัญอย่าไว้ใจอุปกรณ์พวกนี้มากเกินไป ควรจะทำสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ ไว้บนสื่อบันทึกอื่นๆ ไว้ด้วย .......ขอให้คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน โชคดีนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
หมายเลขบันทึก: 209006เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากเลย ครับ ได้ความรู้เพิ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท