ไตรปิฏก ของเถรวาท


ไตรปิฏก ของเถรวาท

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

พระไตรปิฎกของนิกาย เถรวาทหรือหินยาน

 

มีการยอมรับกันโดยทั่วไปของพระภิกษุและชาวพุทธทุกๆนิกายทั่วโลกว่า"พระไตรปิฎก"ของเถรวาทหรือหินยานนั้น เป็นนิกายที่สามารถรักษาแบบ แผนและคำสอนดั้งเดิม ไว้ได้ แม่นยำที่สุด

เราชาวพุทธที่นับถือพระพุทธศาสนาในแบบเถรวาท มีความภาคภูมิใจในความหมายของคำว่า รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้ แม่นยำที่สุด เพราะมีความสำคัญผิดว่า"พระไตรปิฎก" เถรวาทหรือหินยานนั้น เป็นคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธองค์หรือพระอริยสาวกทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว การสามารถรักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมเอาไว้ได้นั้น ก็ด้วยการไม่มีการเอาคำสอนเดิมออกไป มีแต่การยอมให้เอาของใหม่เข้ามา

พระไตรปิฏกเถรวาทของไทยนั้น สืบทอดมาจากในการสังคายนาพระศาสนาครั้งที่๔ ซึ่งมีการบันทึกเป็นตัวอักษรเป็นครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งเกิดขึ้นในปีพ.ศ. ๔๓๓ (หรือ๔๕๐ - ๒,๑๐๐ ปีมาแล้ว) จากการจารึกพระธรรมคำสอนลงในใบลาน   โดยประเทศศรีลังกาเอง ก็ได้พระสงฆ์ที่พระเจ้าอโศกคัดเลือก จากพระที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ส่งเข้ามาเผยแพร่เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕-๖ ( มีหลักฐานว่าคือ พระมหินทเถระผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นหัวหน้าคณะ)

มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นและนับเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์จากทั่วทุกสารทิศทั้งในอินเดีย ประเทศใกล้เคียง ไปจนถึงประเทศจีน ซึ่งพระสงฆ์แต่ละรูปที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ต้องนับว่าเป็นพระชั้นหัวกะทิของทุกๆถิ่นที่มา เช่น จีนก็มีหลวงจีนฟาเหียน พระถังซำจั๋งเป็นต้น พระสงฆ์แต่ละรูปที่มานั้นต่างก็มีความรู้อย่างแตกฉานในคำสอนของศาสนาพุทธในถิ่นที่ตนอยู่อย่างดีอยู่แล้ว แต่ที่มาก็เพื่อศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของคำสอน ที่คิดว่าในท้องถิ่นของตนไม่มีแทบทั้งสิ้น

                ในยุคนั้น มีการเสนอความเห็นเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนในพระสูตรต่างๆ ตลอดจนการประชุมวิชาการทางด้านศาสนากันอย่างกว้างขวาง แม้แต่คำสอนเรื่องสุญญตา(ต้นกำเนิดของลัทธิเซ็น-พระนาคารชุน) ก็เป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น   

ยุคนั้นเกิดมีลัทธิคำสอนขึ้นมากมาย ซึ่งเกิดจากการเสนอแนวคิดต่างๆ เพื่อพยายามที่จะอธิบายข้อพระธรรมต่างๆ ดังนั้นจึงเกิดมีแนวคิดต่างๆมากมาย ตลอดจนถึงเรื่องของพระอภิธรรมก็น่าจะเกิดจากการประชุมสัมมาทางวิชาการในยุคสมัยนั้นด้วยเช่นกัน(ในพระอภิธรรมกล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์เทศนาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตลอดพรรษา๓เดือนในพรรษาที่ ๒ การจะเล่าให้ใครฟังต้องใช้เวลาเท่าไหร่  และพระอานนท์ก็เข้ามาเป็นพระอุปัฏฐากพระพุทธองค์หลังจากนั้นร่วม ๒๐ ปี คือพรรษาที่ ๒๐ หลังการตรัสรู้  ถึงจะเล่าให้พระอานนท์ พระอานนท์ก็ต้องเป็นสุดยอดมนุษย์จริงๆ ที่สามารถจำคำสอนได้ถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ซึ่งเป็นตัวหนังสือในพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ๆถึง ๑๕ เล่ม หรือมีการกล่าวว่าพระอนุรุทธ์เป็นผู้รจนาเอาไว้ คนมักเข้าใจกันว่า หมายถึง พระอนุรุทธ์ซึ่งเป็นพระอรหันต์และเป็นพระญาติของพระพุทธองค์ แต่ตามหลักฐาน พระอนุรุทธ์นั้นไม่ได้เข้าร่วมในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เนื่องจากในขณะนั้นพระอนุรุทธ์ยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตามประวัติ พระอนุรุทธ์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์หลังจากการปรินิพพานอีกหลายปี  )  ( มีหลักฐานว่าพระโมคคลีบุตรได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ ในอภิธรรมเพิ่มขึ้น ตามประวัติว่า อภิธรรมนั้นมีบทตั้งอยู่แล้ว และพระโมคคัลลีได้แต่งขยายให้พิสดารออกไปและใส่เข้าไปในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประมาณ ปีพ.ศ.๒๓๔-๕)      (อนึ่งที่กล่าวไปนั้น ไม่ได้มีความหมายว่า พระอภิธรรมนั้น ผิดหรือถูกแต่อย่างไร แต่เพียงต้องการให้รู้ว่า ได้มีการสอดแทรกพระธรรมใหม่ๆเข้าไปเท่านั้น โดยเฉพาะในวิสุทธิมรรคที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์นั้นได้มีการตีความปฏิจจสมุปบาทออกไปอย่างพิสดาร ออกเป็นความหมาย ๓ แบบ คือแบบขณะจิตหนึ่ง แบบปัจจุบันชาติ และแบบ ๓ ชาติ นับว่าท่านมีจินตนาการที่กว้างไกลมากแต่ท่านได้แทรกความเชื่อของพราหมณ์  ซึ่งเป็นความรู้เดิมของท่านเข้าไปในการตีความนั้นด้วย คือเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือ ๓ ชาตินั้นเข้าไปด้วย จึงเป็นเหตุให้เกิดความเชื่อในเรื่องนี้ต่อๆกันมา เนื่องจากท่านนับเป็นนักปราชญ์ทางพุทธที่ยิ่งใหญ่ จนมีคนเชื่อกันว่าท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเลยทีเดียว จึงเชื่อว่าความคิดของท่านจะต้องถูกต้องเสมอ)

จากหลักการของเถรวาท ที่ว่า ไม่มีการเอาคำสอนเดิมออก

ดังนั้นจึง มีแต่การเอาของใหม่เข้ามา เพราะไม่มีใครที่จะสามารถตัด สินได้ว่า ถูก-ผิด  ยิ่งเป็นความคิดเห็นของพระเถระผู้ใหญ่ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การสังคายนาในครั้งนั้น จึงกลายเป็นการรวบรวมพระสูตรต่างๆจากที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก 

ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เมื่อครั้งพระมหากัสสปะเรียกประชุมสงฆ์เพื่อทำสังคายนานั้น มีการประชุมสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ เพียง ๕๐๐ รูป แต่ก็มีพระอรหันต์ อีกจำนวนมากที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม จึงมีการไม่ยอมรับการสังคายนา (ในขณะนั้น ยังไม่มีพระไตรปิฎกกัน) ตั้งแต่ครั้งนั้น ต่างคนก็ต่างปฏิบัติกันไปตามแบบอย่างที่ตนประพฤติปฏิบัติกันมา เพราะต่างก็รู้มาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์และยึดถือปฏิบัติกันเฉพาะในกลุ่มของตน แม้แต่เรื่องของพระวินัยก็เช่นกัน การสังคายนาในครั้งนั้น ก็เป็นการรวบรวม เรียบเรียง ข้อพระวินัย พระสูตรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกลุ่มของพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์นั้น( สาวกของพระอรหันต์ทำผิดไว้)และในส่วนที่พระอานนท์จำได้อยู่เท่านั้น ซึ่งความจริงพระธรรมทั้งหมดที่พระพุทธองค์ตรัสสอนก็น่าจะมีมากกว่านี้(พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่ธรรมถึง ๔๕ ปี) และในกลุ่มของพระอรหันต์อื่นๆก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวด้วย จึงไม่ได้สนใจปฏิบัติตามมติของคณะสงฆ์ในขณะนั้น เพราะไม่มีพระดำรัสจากพระพุทธองค์ในเรื่องของการตั้งศาสดาหรือประมุขสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ มติของคณะสงฆ์ในครั้งนั้นจึง มีผลเฉพาะเพียงในส่วนที่เคารพกันในกลุ่มนั้นๆเท่านั้น

(พระธรรมที่เกิดจากการสังคายนาในครั้งที่ ๑ นั้น ก็ไม่น่าจะมีมากมายนักเพราะจุดประสงค์ หลักในการสังคายนาในครั้งนั้นอยู่ที่พระวินัย และใช้เวลาแค่ ๗ เดือนเท่านั้น อีกทั้งยังต้องมาเรียบเรียงร้อยให้สะดวกแก่การท่องจำอีก เนื่องจากภาษาบาลีหรือภาษามคฎนั้นเป็นภาษาพูดไม่มีตัวอักษร และพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้จารึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต เนื่องจากเป็นภาษาของชนชั้นสูงเท่านั้นถึงมีตัวอักษรแต่ก็รู้กันเฉพาะชนวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์เท่านั้น เพราะถือกันว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ ชนชั้นอื่นหากแอบเรียนหรือแม้แต่แอบดู ก็มีโทษถึงแทงตาให้บอดหรือประหารชีวิตเลยทีเดียว)

แต่การสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ศรีลังกานั้น(ได้รับองค์ความรู้จากการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่กรุงปาตลีบุตร)(ตามประวัติ มีการสังคายนาที่ศรีลังกาในครั้งที่พระมหินทเถระ เข้าไปเผยแพร่ศาสนาพุทธในศรีลังกาใหม่ๆ แต่เกิดหลังจากการสังคายนาครั้งที่๒ที่ปาตลีบุตรไม่นาน แต่คงเป็นแค่การรวบรวมพระสูตรต่างๆจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ เท่านั้น จึงไม่ยอมรับกันว่าเป็นการสังคายนา) จึงน่าจะมีการรวบรวมพระสูตรต่างๆ ตลอดจนถึงพระอภิธรรมและคัมภีร์ต่างๆจากพระโมคคลีบุตร(ก่อนการสังคายนาครั้งที่ ๓ ยังไม่มีพระอภิธรรม พระอภิธรรมนั้นเป็นเพียงหนึ่งในพระสูตรเท่านั้น) ตลอดจนจากนาลันทาเพิ่มเติมเข้าอีกเป็นจำนวนมากจึงถือว่าพระไตรปิฎกของเถรวาทหรือหินยานนั้นเป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้ แม่นยำที่สุด ด้วย เหตุนี้

ดังนั้นแทนที่ความหมาย จะหมายถึงเป็นของแท้ กลับกลายเป็นว่า มีปริมาณของพระสูตรต่างๆมาก จึงมีพระสูตรที่สอดแทรกเข้ามาเป็นจำนวนมาก ต่างหาก

แต่อย่างไรก็ตาม  "เราก็จะสามารถค้นหาเอา พระสูตร ที่เกิดจากพระโอวาทของพระพุทธเจ้าจริง ๆ" ได้จากใน พระไตรปิฎกของเถรวาทนี้ เช่นกัน

ซึ่งแตกต่างพระไตรปิฎกพุทธศาสนาของนิกายอื่นๆ  ซึ่งพระสูตร พระวินัยที่มีอยู่ก็เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะเป็นการสืบทอดไปแบบสายใครสายมัน แม้จะมีการสังคายนาด้วยเหมือนกัน และส่วนใหญ่มีการบันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต แต่เมื่อเข้าไปในประเทศใดก็มักแปลเป็นภาษาของประเทศนั้น ซึ่งการแปลนั้น ก็มักจะมีปัญหาคือ มักมีการสอดแทรกทิฏฐิของตนเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เพราะการแปลนั้นเมื่อไม่มีคำในภาษาถิ่นที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาเดิม ก็จะต้องใช้การอธิบายความคำศัพท์นั้น ในตอนนี้เองที่ได้สอดแทรกความเห็นความเชื่อของตนเข้าไป และเมื่อมีการแปลเป็นภาษาถิ่นแล้วและเมื่อผ่านกาลเวลาคัมภีร์ต้นฉบับสูญหายไปบ้าง เสียหายเสียบ้าง ก็เลยเหลือแต่ภาษาถิ่นที่ผ่านการแปลแล้ว เมื่อเข้าไปเผยแพร่ที่ใด ก็มีการผสมปนเปกับลัทธิความเชื่อของท้องถิ่นเดิมที่นับถืออยู่ จนสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก และไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤตนั้น เสียหายไปแล้ว

ต่างกับพระไตรปิฎกในเถรวาท ซึ่งจำรึกด้วยอักษรของภาษาถิ่น แต่คงเสียงของภาษาบาลีเอาไว้ (ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียง ) ดังนั้น จึงมีการสืบทอดภาษาบาลีเอาไว้ได้ สืบทอดต้นฉบับเดิมเอาไว้ได้  แม้จะมีการแปลความหมายไปเป็นภาษาถิ่นแล้วก็ตาม หากแปลผิดเพี้ยนไป ชนรุ่นหลังก็สามารถเอาต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาบาลีมาแปลใหม่ได้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่หรือทำลายพระไตรปิฎกที่เรายึดเป็นคัมภีร์สำคัญ แต่ต้องการทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า คัมภีร์ไตรปิฏกนั้น ไม่ได้เป็น พระสูตรจากการสังคายนาครั้งที่๑ ทั้งหมด

ดังนั้น การศึกษาพระธรรมคำสอนต่างๆ เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาเสมอ ดังมีคำที่กล่าวกันว่า

ศรัทธาในศาสนาพุทธนั้น จะต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ

ซึ่งหลักที่ว่านี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน กาลามสูตร นั่นเอง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 208688เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เชื่อเมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วด้วยตนเอง

ใช่ไหมคะ?

พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอน "ให้พ้นจากความเชื่อ"

แม้แต่ "ตนเอง" เพราะจะกลายเป็น การขัดแย้งกับผู้อื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท