civil society


สังคมอารยะ

ได้รับฟังคำบรรยายของศ.กีรติ บุญเจือ ซึ่งสอนนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ได้สอนเรื่อง civil society ซึ่งได้รับไปฟังคำบรรยายเมื่อครั้งได้รับเชิญไปสหรัฐอเมริกา ว่า

civil society นั้นในภาษาไทย ตอนนี้ใช้คำว่า ประชาสังคม เพราะแปล civil ว่ามาจาก civic ที่หมายถึงประชาชน แต่ว่า civic นั้นในภาษาละตินนั้นยังมีความหมายว่า อารยะ  ซึ่งเห็นได้จากคำว่า civil disorbidience ซึ่งมีการนำมาใช้แปลว่า อารยะขัดขืน แต่คำนี้โดยนัยควรแปลว่า การขัดขืนของประชาชน ไม่ใช่อารยะ  ดังนั้นคำว่า civil society จึงควนใช้ในตรงความหมาย ก็คือ สังคมอารยะ

สังคมอารยะ เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนหลักการของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งแต่เดิมเชื่อใน freedom, equality and fraternity แต่เมื่อผ่านเข้าสู่ภาวะโลกาภิวัฒน์ สังคมได้รับผลกระทบจากการติดต่อสื่อสารและการขนส่งที่ข้ามแดนได้อย่างง่ายดาย โลกไร้พรมแดนสูง เกิดองค์การธุรกิจข้ามชาติ เป็นองค์การมหาชนขนาดใหญ่ เกิดภาวะที่อยู่เหนือการควบคุมของชาติรัฐใดชาติรัฐหนึ่ง และเกิดบุคคลที่รวยมากๆ ถึงมากกว่าเงินงบประมาณของบางประเทศได้ ทำให้เกิดภาวะหลายสัญชาติและมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการเมือง มีการกดดันนักการเมือง จนถึงสร้างพวกพ้องทางการเมืองขึ้นเพื่อหวังผลเชิงนโยบายที่จะเอื้อต่อธุรกิจของตนเอง และอาจนำไปสู่การคอร์รัปชันชั้นสูงได้  แน่นอนว่าควบคุมอำนาจของรัฐฝ่ายต่างๆ ได้ แต่ทางออกก็คือการสร้างสังคมอารยะ เน้นการบริหารจัดการที่ดี (good governance) ซึ่งมีคนแปลออกมาเป็นธรรมาภิบาลและนำไปขยายกันผิดๆ แต่แท้จริงแล้ว การบริหารจัดการที่ดีต้องเป็นการจัดการที่เน้นกฎหมาย ศาสนาและองค์กรภาคเอกชน ดังนี้

การจัดการกฎหมาย ให้ถือเสมอว่ากฎหมายนั้นควรออกเท่าที่จำเป็น เนื่องจากกฎหมายเป็นสิ่งที่จำกัดสิทธิของประชาชน ดังนั้นประชาชนมีสิทธิทักท้วงได้ผ่านสื่อต่างๆ และสื่อต้องมีคอลัมนิสต์มีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวนั้นๆ เพื่อให้คำแนะนำแก่ประชาชน ซึ่งรัฐควรรับฟัง หากเพิกเฉย ประชาชนจึงมีสิทธิในการประท้องด้วยการ mop ได้ ซึ่งต้องเน้นที่การแก้กฎหมาย ไม่มุ่งล้มล้างไปที่ตัวบุคคล

 

การจัดการด้านศาสนา สังคมต้องส่งเสริมศาสนา แต่ไม่แทรกแซง ให้เสรีภาพในการนับถือ การตั้งลัทธิต่างๆ แต่ต้องไม่สนับสนุนลัทธิ นั่นคือให้ลัทธิเหล่านั้นเลี้ยงดูตนเอง รัฐต้องเข้ามาดูแลให้ศาสนาเป็นไปตามเป้าหมายของศาสนานั้น เพื่อให้คนหรือสาวกมีจริยธรรมที่ดี

องค์การภาคเอกชน รัฐต้องคุ้มครองความเป็นอิสระ แต่ไม่ควนสนับสนุนด้านเงินหรืองบประมาณ เพื่อให้สังคมช่วยเหลือกันเอง

 

เมื่อบริหารจัดการสังคมเช่นนี้ จะได้สังคมอารยะ ซึ่งคนในสังคมจะดูแลกันเอง ใครทำผิดกติกาของการบริหารจัดการที่ดี จะมีคนอื่นมาคอยเตือน whistle blowing ผ่านสื่อ เพื่อให้รัฐต้องแก้ไขปัญหานั้น ซึ่งจะเป็นการสร้างมโนธรรมแก่คนในยุคปัจจุบันนั้นได้

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 208638เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท