เทคนิคการสร้างเว็บเพจ


การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML

เมื่อนักเรียนเรียนการสร้างเว็บเพจด้วย  ภาษา HTML  แล้วนักเรียนไม่สามารถจดจำโค้ดของ html  และหลักการเขียนที่ถูกต้องได้

                การแก้ปัญหา

                ครูผู้สอนได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนสำเร็จรูปและสื่อเอกสารที่นักเรียนสามารถนำกลับไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้

                ผลสำเร็จ

                นักเรียนกลุ่มดังกล่าวสามารถที่จะสร้างเว็บเพจด้วยภาษา  HTML  ได้อย่างถูกต้อง  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเว็บเพจต่างๆ  ได้เพิ่มมากขึ้น

 

ขั้นตอนการการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML

            HTML ย่อมาจากคำว่า "HyperText Markup Language" เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่แสดงผลในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

               ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด กล่าวคือ จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปแบบของเอกสารข้อความ จึงสามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย

การสร้างเว็บเพจ

เราสามารถสร้างเว็บเพจได้ 2 ทาง คือ

1.       TextEditor โดยเราต้องรู้คำสั่งของภาษา HTML แล้วพิมพ์โปรแกรมเข้าไปทางTextEditor เช่น Notepad เป็นต้น

2.       ตัวช่วยสร้าง โดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจโดยเราไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการแปลงให้เราอัตโนมัติ

ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ

1.       เปิดโปรแกรม TextEditor แล้วทำการพิมพ์คำสั่ง HTML แล้วเซฟเป็นไฟล์นามสกุล .htm หรือ .html

2.       เปิดโปรแกรม WebBrowser เพื่อใช้ในการดูผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนภาษา HTML จากที่ได้เขียนจาก TextEditor

โครงสร้างภาษา HTML

การเขียนภาษา HTML นั้นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่ง ส่วนที่เป็นคำสั่งนั้นจะอยู่ในรูปของ Tag ซึ่งจะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย มากกว่า และ น้อยกว่า < > แต่ละ Tag มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป

 

Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.       แท็กเดี่ยว คือ คำสั่งที่มีคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถใช้และสิ้นสุดคำสั่งได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น

ข้อความ.... <br>
<hr>
<! - ข้อความ - >

2.       แท็กคู่ คือ คำสั่งที่ต้องมีส่วนเริ่มต้นและส่วนจุดจบของคำสั่งนั้นๆ โดยแท็กที่เป็นส่วนจบนั้นจะมีเครื่องหมาย slash / ติดเอาไว้ เช่น

<html> ส่วนของเนื้อหา ..... </html>
<center> ข้อความ..... </center>
<p> ข้อความ.... </p>

 

*** ถ้าหากมีการใช้แท็กคู่หลายๆ คำสั่ง เช่น คำสั่งตัวขีดเส้นใต้ <U> .... </U> และตามด้วย คำสั่ง ตัวเอียง <I>....</I> จะต้องปิดคำสั่งตัวเอียงก่อน แล้วจึงจะมาปิดคำสั่งตัวหนา***

<I> U> ข้อความ.... </U> </I> 

 

หมายเลขบันทึก: 208333เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท