การเรียนรู้คู่กับการพัฒนาคุณภาพ


ประเภทของการเรียนรู้ และระดับการพัฒนา

มีโอกาสได้อ่านหนังสือ  การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์  ของ พรธิดา  วิเชียรปัญญา มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากมายเลยทีเดียวเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แต่อยากจะหยิบประเด็นของประเภทของการเรียนรู้มาประยุกต์กับการพัฒนาคุณภาพ น่าจะไปกันได้ค่ะ ลองอ่านดูนะคะ

ประเภทของการเรียนรู้ สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่พยายามจะรวบรวม หรือเก็บเนื้อหา สาระจากสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นสิ่งที่กำหนดแน่นอน ตายตัว ข้อจำกัดคือผู้เรียนจะพยายามจำให้มากที่สุด ไม่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ การมุ่งจำอย่างเดียวทำให้ผู้เรียนขาดความคิดสร้างสรรค์
  2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการลอกเลียนแบบคนที่ตนคิดว่าดี หรือเป็นประโยชน์แก่ตน จุดดีคือหากต้นแบบดีจะทำให้ดีไปด้วย ข้อจำกัดคือ ความแตกต่างของคนการทำให้เหมือนกัยครต้นแบบนั้นทำได้ยาก และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจใช้ไม่ได้ (บริบท)
  3. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ เป็นการเรียนที่ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเล็กน้อย หรือสถานการณ์ย่อยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมด มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การที่ผู้เรียนมองเห็น หรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนร่วมของสถานการณ์นั้นทั้งหมด ขั้นที่ 2 การที่ผู้เรียนแยกแยะส่วนร่วม เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้น และขั้นที่ 3 คือการที่ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ สถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้ง เรียกว่าเกิดการหยั่งรู้ ( Insight) การเรียนรู้โดยวิธีนี้จะมีประโยชน์มากในสถานการณ์ที่ต้องการให้คิดอย่างมีเหตุผล แยกแยะความสัมพันธ์และหาสาเหตุต่างๆได้อย่างมีเหตุผล การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะเกิดน้อยมาก หากผู้เรียน ขาดแรงจูงใจที่จะคิด มีประสบการณ์น้อยหรือข้อจำกัดในเรื่องนั้น ไม่สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ส่วนย่อยกับสถานการณ์?เป็นปัญหา การใช้ประสบการณ์เดิมที่ต่างจากประสบการณ์ใหม่
  4. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายทาง เพื่อแก้ปัญหา สถานการณ์นั้นๆ  เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนไม่รู้จะเลือกวิธีใด ก็ถือเป็นการเสี่ยงที่จะเลือกวิธีที่ดี และเปลี่ยนไปเรื่องยๆ จนกว่าจะพบทางแก้ปัญหา
  5. การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติหรือความคิดรวบยอด หมายถึงลักษณะเฉพาะของการที่สิ่งนั้นต่างไปจากสิ่งอื่นเกิดจาการที่ผู้เรียนมองเห็นภาพรวมของสิ่งนั้นก่อน ต่อจากนั้นจึงจะพิจารณาลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นต่อไป
สำหรับการเรียนรู้ในระดับบุคคลของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลคงจะมีปะปนกันในแต่ละประเภท แต่การเรียนรู้ที่จะช่วยให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพได้ตามเป้าหมาย/ตรงประเด็น เอื้อต่อการที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง น่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้เป็นอย่างน้อย คือมีการมองเชิงระบบได้ดีนั่นเอง สามารถทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ตรงสาเหตุที่แท้จริงซึ่งมาจากการวิเคราะห์ Root Cause Analysis และการเรียนรู้อย่างมีความคิดรวบยอด คือมีความเข้าใจไม่ติดยึดในรูปแบบ ไม่ว่าจะป็นมาตรฐานไหนๆ มาจากค่ายๆใดๆ หากมีความเข้าใจในแก่นแท้ของคุณภาพแล้วจะทำให้บรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอนค่ะ ดังนั้น เรามาสร้างเสริมการเรียนรู้แบบเชิงระบบกันให้มากขึ้นนะคะ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20801เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท