51. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 
วันนี้  11  กัยยายน  2551  ได้เข้าร่วมประชุมเสวนาในงาน  "รวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย  โดย  สมศ.  ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์  ได้รับความรู้จากวิทยากร  ผู้ราวมเสวนาและเอกสารที่ได้รับ  เห็นว่ามีเรื่องที่น่าสนใจ  จึงขอนำมาฝาก  ดังนี้ค่ะ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพโดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์      สิ่งที่จะทำให้มนุษย์เราอยู่รอดได้ในสังคมปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในทุกๆ ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน

                สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่สองรองจากสถาบันครอบครัวที่เป็นแหล่งพัฒนาคนให้มีความรู้ออกไปใช้ชีวิตในสังคม   การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการ โดยจะต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ประชาชน  เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่  รู้จักคิดวิเคราะห์   รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรม รู้จักพึ่งตนเองและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข  ซึ่งถ้าสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนสามารถดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุ คือการให้ความสำคัญกับ           การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin  1994 : 45)

เมอร์กาทรอยด์ และ มอร์แกน (Murgatroyd & Morgan 1994) ได้จำแนกลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษาไว้ 5 ประการ

1.  มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก

2.  มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง

3.  มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย

4.  มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร

5.  การประกันคุณภาพการศึกษาจะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and

Review) การทดสอบด้วยแบบ ทดสอบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา

 

ที่มา  :   นางสาวสุภาวดี  ตรีรัตน์  นักวิชาการศึกษา    สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 207966เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท