การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ


อะไรที่เป็น Best practice ที่อยู่ในเขตของตนเอง แล้วทำอย่างไรจะให้ตำบลต่างๆ ที่อยู่ในเขตของตนเองไปดูงานที่เป็นข่ายของตนเองอย่างชัดเจน การดูงานที่มีการขยายผลที่ดีเหล่านี้

 

ในการประชุมคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 ณ ศศิดารารีสอร์ท อ.เมืองน่าน โดยมี นายกิตติ  ทรัพย์วิสุทธิ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน มีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน และมูลนิธิฮักเมืองน่าน เป็นฝ่ายเลขานุการ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดน่าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก (WWF) ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเมืองจัง และตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง

ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าในการจัดทำแผนที่ป่าชุมชน โดยใช้พิกัด GIS มาช่วยกำหนดเขตพื้นที่ป่าชุมชน และมีการตอกหมุดเขตป่าชุมชน รวมทั้งการจัดทำเป็นโมเดลแผนที่ของป่าชุมชนขึ้น นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสารคดีการศึกษาเรื่อง ไก ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด ที่เป็นอาหารพื้นบ้านของชุมชน โดยกลุ่มเยาวชน

หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นพ.บุญยงค์   วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาประชาคมน่าน ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งคุณทนงศักดิ์  ธรรมะ อาสาสมัครฮักเมืองน่าน ได้ถอดเทปไว้ดังนี้

 

กราบเรียนท่านที่มาร่วมประชุม คือความจริงที่จังหวัดน่านเราปฏิบัติคือเริ่มก่อรูปขึ้นมาชัดเจนอย่างที่คุณธนู ผลบุญ ได้พูดถึงจิ๊กซอมีแล้วแต่จะเอาจิ๊กซอมาต่อกันจะทำยังไง ผมอยากจะเรียนว่าปัญหาที่มันเกิดในจังหวัดน่านคือมาจากน้ำ มีมาตลอดและในอนาคตก็จะมีมากขึ้น เพราะถ้าจัดการกันเองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ดี โดยประชาชนก็ดี โดยเอกชนก็ดี แนวโน้มที่จะปฏิบัติดีมีอยู่มาก ดีใจที่ว่าที่ประชุมนี้สามารถที่จะกำหนดขึ้นมาได้ว่าอันนี้ชุมชน คือป่าชุมชน แต่ผมไม่ทราบว่ารัฐโดยทางกฎหมายรับรองได้หรือไม่แต่ชุมชนทางประชาชนได้กำหนดป่าชุมชนของเขาขึ้นมา รัฐจะรับรองหรือไม่เป็นเรื่องของอนาคต แต่ปัจจุบันนี้มีรูปธรรมขึ้นมาแล้วว่าอันนี้คือป่าชุมชน ใครอยากรู้ก็ดูที่แผนที่จำลอง 3 มิติ

 

ผมเคยอยู่ที่ประชุมเกี่ยวกับ อบต.เมื่อวันก่อนว่า อบต.มีหน้าที่ 3 อย่างด้วยกันคือ อันที่หนึ่ง เศรษฐกิจ อันที่สอง สังคม อันที่สาม สิ่งแวดล้อม สังคมนั้นย่อมมี ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา การศึกษา กฎหมายการปกครอง แต่ 3 อย่างนี้ถ้าทำบนพื้นที่ปัญหามีอยู่ว่าคนที่ดูแลไม่รู้พื้นที่ว่าพื้นที่ตนเองนั้นอยู่ตรงไหน อันนั้นคือคำว่าผังถ้าหากว่า อบต.เข้าใจคำว่าผัง การบ้านคือผังบ้านคืออะไร ซึ่งจะรู้ว่าตนเองนั้น สร้างบ้านตรงไหน ขุดบ่อตรงไหน ขยะตรงไหน ก็ต้องมีผังบ้านอีกทีว่ามีห้องนอนตรงไหน ห้องครัวตรงไหน รับแขกตรงไหน ถ้ามีสิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็จะทำต่อไปได้ เพราะผังนั้นจะบอกว่าอะไรอยู่ที่ไหน แผนจะบอกว่าใช้เงินกี่บาทรูปร่างหน้าตาอย่างไร ถ้าหากผังและแผนดีก็ไม่ต้องไปนั่งบอกกันว่าใครจะเอาขยะไปทิ้งที่ไหน จริงๆบ้านเราเราถ่ายอุจาระ ปัสสาวะ ลงในบ้านเรา ทำไมขยะบ้านเราตำบลเราต้องเอาไปทิ้งบ้านอื่นตำบลอื่น เป็นการเอาเปรียบคนอื่นโดยไม่คิดว่าจะดูแลตนเองได้อย่างไร เพราะฉะนั้นผังที่ดีคือมีแผนที่ชัดเจนสามารถกำหนดขอบเขตชัดเจนว่าอันนี้ฉันจะปักรั้วของฉันถ้าคุณเข้ามาคุณล้ำน่ะ ต้องเข้าใจว่าคุณล้ำ และสามารถดูแลด้านอื่นๆ ดูป่า ดูน้ำ ทำให้ดีจะบอกว่าถนนหนทางอยู่ที่ไหน ทำให้ดีจะบอกว่าแม่น้ำลำธารอยู่ที่ไหน ทำให้ดีจะบอกว่าน้ำที่มันท่วมอยู่ตรงไหน เพราะแผนที่มีความหมายมาก

 

นานมาแล้ว หลายปีมาแล้วเมื่อ DANCED ได้มาดำเนินการที่น่าน เห็นนักศึกษาที่เข้ามารับจ้างโครงการ DANCED เขาก็ทำ ซึ่งถ้าทำกันแบบนี้ก็สามารถจะบอกได้ว่าน้ำมันจะท่วมที่ไหน จะบอกได้ว่าพื้นดินที่ไหนมีประโยชน์ทางด้านกสิกรรม เกษตรกรรมตรงไหน การอนุรักษ์แหล่งน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำลำธารของเราตรงไหนเห็นได้หมด แล้วก็ที่สำคัญมีนักเรียนมาแสดงความสามารถถือว่าโครงการนี้เป็นอาหาร ถามว่าเป็นอาหารจานโปรดของคนเมืองน่านมั้ย และบอกว่าอันนี้เป็นอาหารของจังหวัดน่าน และถ้าหากมีการเลี้ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้จะถูกนำขึ้นมายังไงและคุณค่าทางอาหารนั้นต้องการยืนยันว่ามาจากไหน เช่น ราชมงคลก็ทำวิจัยเรื่อง ไก ไว้เยอะต้องมีข้อมูลว่าอันนี้มาจากที่ไหนก็เป็นการเน้นทางด้านวิชาการว่า แต่อีกประเด็นที่บอกว่า Food safety หรือความปลอดภัยเป็นอย่างไรบ้าง เพราะอาหารหรืออะไรก็มี อย. มี อย. คือกินแล้วไม่ตาย กินแล้วไม่ท้องเดิน แต่ก็ไม่ใช่หละหลวม ทำอย่างไรจะให้มี บางบ้านก็มีเหมือนกันนะมีตรา อย. แล้วแข่งกันขายว่าของใครมีรสอร่อย แล้วขณะเดียวกันก็ปลอดภัย เสนอขึ้นเป็นจาน ในที่สำคัญ ผมจำได้ว่าตอนที่คุณหมอคณิตของเราอยู่ที่ท่าวังผา สมเด็จพระเทพฯ ท่านจะเสด็จ คุณหมอคณิต ตันติศิริวิทย์ เอาไกใส่ในฝ่ามือ  ท่านถามองครักษ์ที่ติดตามพระองค์ท่าน พระเทพฯ ท่านเสด็จนำหน้า แล้วหันพระพักตร์กลับมา แล้วหยิบชิมจากอุ้งมือของหมอคณิต เพราะฉะนั้นก็แสดงว่ามันเป็นของดี ชาวบ้าน และนักเรียนช่วยกันชี้แจง และเป็นเรื่องที่ผมประทับใจว่าเยาวชนมีส่วนร่วม

 

 จะเห็นได้ว่าตำบลต่างๆ พอเจอเรื่องต่างๆ นั้น ก็จะเป็นตำบลที่เข้มแข็ง แล้วก็จะวัดว่าความเข้มแข็งมีอะไรบ้าง แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ ตำบลเหล่านี้ต้องพึ่งตนเอง เขามีปัญหาเขารู้ว่าควรแก้ยังไงดี เขาลุกขึ้นมาร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรทั้งสิ้น ทำร่วมกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ดีได้ทำไว้ เพราะฉะนั้นจังหวัดน่านมีค่อนข้างมาก ผมประทับใจเวลาที่ท่านประธานพูด จังหวัดน่านเราดูดิก (Dictionary) ที่เป็นภาษาอังกฤษว่า pilot แต่ต่อด้วยภาษาไทยก็คือ ไปไม่รอด มันน่าจะมีคำว่าไปรอด ทำไมผมพูดอย่างงี้ก็เพราะว่าทุกๆ อย่างเป็นอย่างนั้น น้ำเกี๋ยนมีพื้นที่อยู่ในอำเภอ น้ำเกี๋ยนมีองค์กรพัฒนาที่มีชื่อเสียงมากในระดับประเทศ และฮักเมืองน่านมีชื่อเสียงมากในระดับโลก ถามว่ามีการขยายหัวคิดแบบนี้ น้ำเกี๋ยนเป็นตำบลที่อยู่อำเภอภูเพียงนั้น มันมีกี่ตำบล ห้าหรือหกตำบล ถามว่าห้าหกตำบลนั้นทำเหมือนน้ำเกี๋ยนหรือไม่ มันอยู่ติดกันตรงนั้น เดินทางไม่ไกลเช้าไปเย็นถึง ครึ่งวันก็เห็น แต่ทำไมไม่มีใครทำ อันนั้นเป็น Best practice ใช่มั้ย? ใช่  อันนั้นเป็นต้นแบบใช่มั้ย? ใช่ เขาทำกันโดยคนในนั้นไม่ได้เอาเทวดาที่ไหนมาทำ ไม่ต้องไปอบรม เขาอบรมกันในนั้น ไม่น่าเชื่อว่าเขามีคณะกรรมการเป็นคล้ายกับสภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นสภาคุณภาพชีวิต ซึ่งมีตั้งแต่ผู้สูงอายุจนกระทั่งถึงเยาวชนอยู่ในนั้น มีคนเล็กคนน้อยอยู่ในนั้น และมีอิทธิพลที่จะเลือกว่าต่อไปใครจะเป็นนายกอบต.  ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะเป็นนายกอบต.  

 

คำตอบที่ผมอยากจะบอกขั้นแรก จังหวัดตั้งแต่ผู้ว่า รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด และนายอำเภอทุกคนจะต้องเข้าใจว่า อะไรที่เป็น Best practice ที่อยู่ในเขตของตนเอง แล้วทำอย่างไรจะให้ตำบลต่างๆ ที่อยู่ในเขตของตนเองไปดูงานที่เป็นข่ายของตนเองอย่างชัดเจน การดูงานที่มีการขยายผลที่ดีเหล่านี้ ใครดีก็ให้รางวัล รางวัลก็เป็นโล่ อันนี้แหละที่จะเป็นรูปธรรมที่ทำให้จาก Best practice หรือสิ่งที่ดีที่สุดในจังหวัดน่าน ให้มันขยายผลในจังหวัดน่านนี้ เทคโนโลยีมันมีอยู่ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับว่ามันจะเป็นโอกาส หรือมันจะเป็นไม้เรียง ไม้รอดมันมีจริงอยู่ที่จังหวัดน่าน มันอยู่ที่จะโน้มลง แต่จะเป็นเพราะอะไรผมก็ไม่ทราบว่าเราไม่อยากเลียนแบบของพวกเราหรือ แบบของดีดีที่มันช่วยให้ประชาชนมีความสุข มันน่าจะเป็นผลดีที่น่าน อีกอันหนึ่งที่อยากจะกราบเรียนว่าทั้งหมดที่เราพูดมานั้น กับทางผู้บรรยาย คุณยรรยง (ผู้แทน WWF) ที่บอกว่า มีอยู่ประโยค จะมีคำเน้นอยู่สองสามคำที่ชัดเจน คำที่หนึ่งคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความหมายอย่างไร เพราะอะไร เพราะว่าผู้บริหาร ผู้ปกครอง มีอยู่กระหยิบมือหนึ่ง แต่ผู้กิน ผู้ใช้ ผู้อยู่ ผู้เป็น ผู้ตาย มีอยู่มหาศาล อันนี้ต้องห่วงประชาชน ทำอย่างไรผู้บริหารราชการก็ดี หรือองค์กรเอกชนก็ดี มองประชาชนเป็นประชาชนอย่ามองเขาเป็นอย่างอื่น ถ้าจะให้ดีมองเขาเป็นมนุษย์ มนุษย์อย่างเรา มองให้เขามีชีวิตอย่างเรา มีหน้าที่จะต้องช่วยเหลือเขาให้ดี ให้เขาผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ด้วยความจริงใจถ้าหากขาดความจริงใจที่จะดูแลเขา หวังจะเอาผลประโยชน์จากเขานั้นก็คงจะทำให้การพัฒนานั้นเป็นไปไม่ได้ ประการที่สองการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารต้องเต็ม ต้องทันสมัย และที่สำคัญต้องมีประโยชน์จริงๆ บรรดาข้อมูลข่าวสารจะเป็นแผนที่ก็ดี ถ้าไม่มีข้อมูลข่าวสารก็ไม่เพียงพอแต่ที่สำคัญต้องไม่ใช่ข่าวลวง ข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ อันที่สามก็คือการร่วมคิดพอได้ข้อมูลก็มาร่วมคิด สิ่งสำคัญที่สุดคือร่วมตัดสินใจ เสร็จแล้วต้องลงมือปฏิบัติและต้องร่วมรับผิดชอบ สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงจะเรียกว่ามีส่วนร่วม นักวิชาการด้านการมีส่วนร่วมคือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน คือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของทุกระดับ คือการใช้อำนาจในมือ

 

อีกอันหนึ่งที่ท่านผู้บรรยายพูดคือการสร้างความตระหนักคือจิตสำนึกในด้านคุณค่า กราบเรียนอย่างนี้ว่า คำว่าคุณค่าไม่สามารถ แต่บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าคำว่าคุณค่านั้นหมายความว่าอย่างไร แต่ในประโยคที่เขียนนั้นอธิบายไว้คือ คุณค่านั้นหมายถึงสามสิ่งเสมอ อันที่หนึ่งเรื่องนั้น สิ่งนั้น สำคัญหรือไม่ อันที่สองเรื่องนั้น สิ่งนั้น มีประโยชน์หรือไม่ อันที่สามเรื่องนั้น สิ่งนั้นมีมูลค่าหรือไม่ เรามักจะมองเรื่องมูลค่ามากกว่าเรื่องความสำคัญแบบอื่น เรามองความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร เราก็ไปถางร้าง ถางพง เอาชีวิตคนอื่นต่อไป แต่ถ้าเราเห็นคุณค่ามีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่แล้ว ก็แตะมือทำงานได้ ก็เน้นความมุ่งหวัง จุดยืนไว้ อันที่หนึ่งจะรักษาชีวภาพ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้และก็แน่นอนเหลือเกินว่าการสร้างมูลนิธิของเราทั้งสองก็จะอยู่ การที่เราทำงานสิ่งแวดล้อมมากจึงปรากฏสามสิ่งอันที่หนึ่งความร่อยหรอของสิ่งมีชีวิต อันที่สองคือมลภาวะเกิดขึ้น อันที่สามคือทำให้โลกร้อน สามสิ่งนี้กระทบต่อชีวิต คุณภาพของประชาชนทำให้ถูกทำลายแต่ที่จังหวัดน่านนั้นเรามีองค์กรที่ทำเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ดีแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ภาครัฐนั้นหยิบยก ทำให้มีคุณภาพและก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เขาทำดีต่อไป ให้ทำต่อเนื่องและทำดีตลอดเวลา ขอกราบเรียนว่าท่านมีส่วนสำคัญมากในการที่จะขยายผลเรื่องนี้จากตำบลไปสู่ตำบลจนถึงระดับประเทศ ขอบคุณครับ

 

นี่เป็นข้อคิดและมุมมองของผู้อาวุโสต่อการพัฒนาท้องถิ่นน่าน มีประเด็นน่าคิดหลายเรื่อง และทีมงานต้องนำไปขบคิด และขยายผลต่อไปครับ

 

  

หมายเลขบันทึก: 207886เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

ว้าวๆๆๆ ข้อมมูลเยอะมากๆเลยค่ะ อิอิ

มาเยี่ยม มาทัก ทาย มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สู้ๆๆนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ

เคยไปมาแล้วค่ะ

ชุมชนที่เมืองน่านเข้มแข้งมากๆ

เคยไปดูดอกชมพูภูคามาแล้วค่ะ สวยมากๆเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท