หมอ...ไม่ได้เป็นอย่างที่ผมเป็น


ตอนแรกที่หมอบอกผมก็ไม่อยากผ่า เพราะหมอไม่ได้เป็นเหมือนที่ผมเป็น
หลายวันก่อน  ได้ไปเยี่ยมเยียนเพื่อคุยให้กำลังใจกับผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงรายใหม่พร้อมกับอดีตผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็มาเป็นครูฝึกให้กับชมรม  เมื่อไปถึงก็สวัสดีผู้ป่วยและญาติที่นอนอยู่บนเตียง สังเกตว่าทั้งญาติและผู้ป่วยสีหน้าเคร่งเครียด เนื่องจากญาติบอกว่าผู้ป่วยกลัวพูดไม่ได้ ระหว่างการพูดคุยนั้นอดีตผู้ป่วยก็เล่าถึงประสบการณ์ของท่านว่าก่อนหน้านี้ก็ไม่อยากผ่าตัด จากการที่เป็นระยะเริ่มแรกก็ ไปกินยาหม้อ หายาพอกสารพัดก็ไม่ดีขึ้น สุดท้ายกลายเป็นระยะที่ 4 ต้องเจาะคอเพราะหายใจไม่ออกและต้องผ่าตัดกล่องเสียงทิ้งตามด้วยการฉายแสง ทั้งที่ระยะแรกๆ หมอก็บอกว่าฉายแสงอย่างเดียวก็หาย ช่วงแรกๆ ขัดใจที่พูดไม่ได้ ไม่มีเสียง อารมณ์เสียไปทั่ว พูดมาถึงตอนนี้ทั้งญาติและผู้ป่วยก็พยักหน้าเห็นด้วยเพราะตัวผู้ป่วยก็โนเจาะคอแล้วเหมือนกัน จากนั้นอดีตผู้ป่วยอันมีจิตอาสาก็บอกว่าได้ไปเรียนการฝึกพูดโดยใช้หลอดอาหาร สมัยก่อนยังไม่มีที่สอน ก็ต้องไปฝึกที่กรุงเทพ ก็พยายามฝึกจนพูดได้ เมื่อพูดได้แล้วก็เลยอยากจะมาช่วยคนไข้รายอื่นๆที่เป็นเหมือนผม การผ่าตัดกล่องเสียงออกไป มีข้อดีคือ ได้ตัดก้อนเนื้อร้ายออกไป หลังจากผ่าตัดผมก็เป็นเทวดา พอถึงเวลาก็มีคนมาใส่อาหารให้ทางสายยาง อิ่มทิพย์ไปเลย มาถึงตอนนี้คนไข้กับญาติก็หัวเราะ ต่อจากนั้น อดีตผู้ป่วยก็บอกว่า ในเมื่อพี่อารมณดีอย่างนี้ รับรองต้องพูดได้ เพียงแต่ต้องขยันฝึกพูดโดยใช้หลอดอาหาร  หลังพี่ผ่าตัดและรักษาเสร็จแล้ว ผมจะช่วยฝึกให้พี่พูดเอง ตอนนั้นผู้ป่วยรายใหม่ก็เขียนลงในสมุดว่า "ขอบคุณมาก ที่ให้ข้อมูลกับผม ตอนแรกที่หมอบอกผมก็ไม่อยากผ่า เพราะหมอไม่ได้เป็นเหมือนที่ผมเป็น แต่เมื่อเจอคุณ ผมก็มีความรู้สึกว่าผมไม่ได้เป็นคนเดียวที่โชคร้าย ยังมีคนอื่นอีกขอบคุณครับ"

   จากวันนั้นทำให้รู้สึกว่าผู้ป่วยจะเชื่อผู้ป่วยด้วยกันเองมากกว่า เพราะพวกเขามีความรู้สึกว่าอบอุ่นและเชื่อมั่นในกันและกัน แหละนั่น...คือที่มาของการจัดทำโครงการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกล่องเสียง โดยกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง ( self help group )

 

หมายเลขบันทึก: 207771เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ มาเป็นกำลังใจให้คนไข้และแพทย์ พยาบาล นะคะ

   จากวันนั้นทำให้รู้สึกว่าผู้ป่วยจะเชื่อผู้ป่วยด้วยกันเองมากกว่า เพราะพวกเขามีความรู้สึกว่าอบอุ่นและเชื่อมั่นในกันและกัน แหละนั่น...คือที่มาของการจัดทำโครงการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกล่องเสียง โดยกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง ( self help group )

******************************

เห็นด้วยค่ะ

มีหนังสือดีเล่มหนึ่งของแพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข คุณหมอนักเขียนที่มีฝีมือ.."เมื่อหมอมีชีวิตอยู่กับมะเร็ง"  (ชื่อประมาณนี้)

คุณหมอเองเป็นมะเร็งลำไส้ หลายปีแล้ว คุณหมอเขียนถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด การปฎิบัติดูแลตัวเอง รวมทั้งกำลังใจที่ได้จากเพื่อนญาติมิตรและคนสำคัญที่สุด..สามี ของคุณหมอเองค่ะ

ลองหาให้คนไข้ได้อ่านนะคะ

หนังสือดีเล่มหนึ่งของแพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข คุณหมอนักเขียนที่มีฝีมือ.."เมื่อหมอมีชีวิตอยู่กับมะเร็ง" (ชื่อประมาณนี้)

ชื่อหนังสือว่า "เมื่อฉันมีชีวิตเหนือมะเร็ง" ค่ะ

มาแก้ชื่อที่ผิด น่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท