เปิดขอบฟ้าคุณธรรม


แพ้ศึก ชนะสงคราม

เมื่อวันที่ 28-29 สค.51 ได้ไปงาน "เปิดขอบฟ้าคุณธรรม" มา ดีมาก ๆ เลยนำมาแลกเปลี่ยนกัน

สรุปการประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรม

ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2551

 

1. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของประเทศ บรรยายพิเศษ

 โดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี

 

            คำถามที่ว่าทำไมต้องเปิดขอบฟ้า  เนื่องจากฟ้าปิดจึงต้องเปิด  ฟ้าปิดในที่นี้คือความรู้ทางคุณธรรมจริยธรรมที่ปิดอยู่  จึงจัดงานประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม   เพื่อที่จะเผยแพร่ความรู้ทางคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชนได้รับรู้มากที่สุด

            ในปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหา เพราะคุณธรรมและจริยธรรมยังไม่ดีพอ  คนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรู้สึกมากกว่าความจริง ปัญหานี้มีความสำคัญมาก  จึงจำเป็นต้องช่วยกันสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคมไทย  เพื่อไปสู่สังคมคุณธรรม

 

            พื้นฐานคุณธรรมของแต่ละศาสนา

·     ฮินดู  ชีวิตคือการสร้าง  ดำรงอยู่ ต้องมีการจัดการปล่อยให้เป็นอิสระไม่ได้

·     คริสต์  คนเราเกิดมาเพื่อไถ่บาป

·     อิสลาม  ต้องมีการกำกับการทำถูกและป้องกันการทำผิดตลอดเวลา

·     พุทธ พื้นฐานยังไม่ชัดเจน จึงต้องทำวิจัยเพื่อสร้างพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมให้มีความเข้มแข็ง

           

2. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณธรรม  โดย พระธรรมโกศาจารย์
    คนจีนสมัยโบราณให้ความสำคัญกับลัทธิและศาสนาดังนี้

· ขงจื้อ  เปรียบเหมือนกับร้านสะดวกซื้อ  คือ นำคำสอนมาใช้ในชีวิตประจำวัน 

· เต๋า     เปรียบเหมือนกับร้านขายยา นำคำสอนมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน  เมื่อมีทุกข์  ต้องการวิธีการแก้ปัญหา รวมถึงในภาวะสงคราม ซึ่งเปรียบเหมือนป่วยที่ต้องใช้ยารักษา 

· พุทธศาสนา  เปรียบเหมือนกับห้างสรรพสินค้า  คือ มีทุกอย่างที่ต้องการแต่หาไม่ค่อยเจอว่าอยู่ตรงไหน เมื่อเดินเข้าไปแล้วหลง ต้องมีป้ายบอกทาง จึงจำเป็นต้องมีงานวิจัย เพราะงานวิจัยเปรียบเสมือนป้ายชี้นำทาง  ช่วยชี้ขุมทรัพย์  ทำให้ทราบว่าต้อง ใช้ธรรมะอะไร แก้ปัญหาอะไร

 

ธรรมวิจัย คือ  อริยสัจ 4 เป็นการพินิจพิจารณาธรรมะ มีรายละเอียด ดังนี้

1. ทุกข์ (ปริญญา)  อะไรคือปัญหา/ขอบเขตของปัญหาคืออะไร 

2. สมุทัย (ปหานะ) เป็นการหาสาเหตุของความทุกข์/ความกังวล

3. นิโรธ (สัจฉิกรณะ)  เป้าหมายที่เราต้องบรรลุให้ถึง  ทำให้สำเร็จ  ถ้าไม่สำเร็จต้องกำหนดลำดับขั้นตอนใหม่ จัดลำดับใหม่

4. มรรค (ภาวนา)  การลงมือปฏิบัติทำอย่างไร ทำให้ดี ทำให้เกิด ทำให้สำเร็จให้ได้ 

 

ข้อคิดในการทำความดี

1.ไม่สันโดษในการทำความดี คือ ต้องมีความเพียร

2.ไม่ท้อถอยในการทำความเพียร  ขยายขอบฟ้า  เดินทางในท้องทุ่ง เห็นขอบฟ้าขยายไปเรื่อย ๆ จากฐานที่มีอยู่

 

ธรรมะของผู้ทำวิจัย

            การทำวิจัยต้องใช้ธรรมะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยและต้องรู้ว่าจะใช้ธรรมะอะไรในการทำวิจัยเรื่องอะไร  ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละเป้าหมายว่าต้องการอะไร  แต่ต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม  เช่น

ต้องการเป็นเศรษฐี จะต้องใช้หัวใจเศรษฐี  

ต้องการประสบความสำเร็จ ใช้หลักอิทธิบาท๔ 

นิพพาน ต้องใช้มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น 

เช่นเดียวกับการทำวิจัยในแต่ละเรื่องที่มีเป้าหมาย ผลสำเร็จของงานวิจัยแตกต่างกันไป  ดังนั้นเราจึงต้องเลือกหลักธรรมะที่ถูกต้องเหมาะสมกับงานวิจัยของเรา  การใช้ธรรมะกับงานวิจัยที่ถูกต้อง เรียกว่า ธรรมมานุธรรมะปฏิบัติ  ปฏิบัติตามธรรมะน้อยให้คล้อยธรรมะใหญ่  เลือกหัวข้อธรรมะย่อย ๆ มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการให้บรรลุไปสู่ความสำเร็จ

คนที่มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญา แล้วไปทำวิจัยเรื่องเล็กๆ รัศมีจะไม่เกิด เพราะค่าแรงน้อยจ่ายน้อย เปรียบเสมือนกับปลาตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในน้ำน้อย ๆ ก็จะไม่มีอิทธิฤทธิ์อะไร แต่ถ้าเป็นฉลามวาฬแล้วเอาไปปล่อยในทะเล จะสามารถฟาดงวงฟาดงาดูแล้วยิ่งใหญ่  ก็เหมือนดังคนที่มีความสามารถ  เมื่อไปทำงานวิจัยที่มีคุณค่า มีประโยชน์มาก ๆ งานวิจัยใหญ่ ๆ  จะสามารถแสดงประสิทธิภาพและมีผลประโยชน์ออกมาได้มาก 

 

การทำความดีในการทำงานวิจัย

1.จะต้องไม่สันโดษในการทำความดี คือ เมื่อผลสำเร็จของการทำงานวิจัยออกมาแล้ว  จะต้องทบทวนแล้วนำไปเผยแพร่กับบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์

2. ไม่ท้อถอยในการทำความเพียร คือ นักวิจัยจะต้องไม่หยุดเพียร  ไม่ใช่ว่าทำงานวิจัยเรื่องหนึ่งสำเร็จแล้วก็หยุดไม่ทำต่อเพราะนั่นเป็นเพียงแค่ขั้นต้นเท่านั้น  นักวิจัยจะต้องศึกษาไปเรื่อย ๆ จากฐานความสำเร็จขั้นแรกของตนเอง

การประยุกต์ใช้ธรรมะกับการบริหาร  ผู้บริหารต้องมองหลายมุม  เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง  การประยุกต์ใช้  มี 4 แบบ คือ

1.      อัตตาธิปไตย   (win – lose)    ผู้บริหารเป็นที่หนึ่ง

2.      โลกาธิปไตย    (lose – win)    หัวหน้ายอมลูกน้อง

3.      ธรรมาธิปไตย  (win – win)     ต่างฝ่ายต่างได้

4.      อนาธิปไตย     (lose – lose)  ต่างฝ่ายต่างแพ้

หลักคิดในการทำงาน

*   ชนะศึก  - แพ้สงคราม                ไม่ถอย ส่วนรวมเสีย

*   แพ้ศึก    -  ชนะสงคราม             ถอย  ส่วนรวมได้

     รักยาวให้บั่น          บั่นคำพูดลงบ้าง

     รักสั้นให้ต่อ            ต่อความยาวสาวความยืด

 

3. อธิปรายเรื่อง การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโดยเครือข่ายวิจัย

    โดย รศ.ดร.เพ็ญณี  แนรอท 

การบริหารจัดการงานวิจัย  ประกอบด้วย

1. ต้นทาง    การสรรหานักวิจัย  งบประมาณ  เช่น ทุนวิจัย

2. กลางทาง  การบริหารจัดการงานให้มีคุณภาพ  ทันเวลา

3. ปลายทาง  การนำไปใช้ประโยชน์  ทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ

การตั้งเครือข่ายการวิจัย  ประกอบด้วย

*    แนวคิด   บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ  เป็นสหวิทยาการ และบูรณาการกับยุทธศาสตร์ชาติ 

       (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10)

*   ระดับ  เครือข่ายการวิจัยมี 3 ระดับ  คือ

-          ระดับประเทศ

-          ระดับภูมิภาค

-          ระดับจังหวัด

*   กลยุทธ์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานวิจัย

1.      การมีส่วนร่วมของเกษตรกรและชุมชน  โดยมีการจัดกระบวนการดำเนินการในแต่ละภาคส่วน

2.      การจัดการความรู้  เป็นการเสริมพลังให้เครือข่ายได้รู้เหมือนกัน  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ในการขับเคลื่อนเครือข่าย  เช่น  เครือข่ายระดับจังหวัด  ขับเคลื่อนโดยประชุมเดือนละครั้ง  เสริมพลังโดยการหา best practice  และองค์ความรู้ในการพัฒนาชนบท เป็นต้น

การวิจัยปฏิบัติการ

      สำรวจสถานการณ์เบื้องต้น  โดยใช้แบบสอบถาม อยากให้องค์กรที่ทำงานอยู่เป็นอย่างไร

1.    การสร้างเครือข่ายวิจัย  ใช้ทักษะสังคมประชาธิปไตย  คือ  รับฟังตนเองและผู้อื่น มีความสามารถในการวิจารณ์  สะท้อนความคิดในมุมมองกว้าง  แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และสันติวิธี  เรียนรู้ที่จะประนีประนอม  เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

2.    เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความเอื้อเฟื้อ  ก่อให้เกิดปัญญาและความคิดสร้างสรรค์

 

4. การบรรยายเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือวัดตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง                           

   โดย ศ.ดร.ดวงเดือน  พันธุมนาวิน

 

       คำถาม โครงการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะการเกษตรทำไมจึงสำเร็จยาก  บางคนใช้เวลานานหลายปีจึงสำเร็จ และมีอีกจำนวนหนึ่งของประชากรที่ทำไม่สำเร็จเลย ไม่ว่าจะนานเพียงใด จะอธิบายได้ว่า เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

 

          คำตอบ วิชาการจะช่วยขับเคลื่อนโครงการโดย

1.      สร้างเครื่องมือวัดที่มีมาตรฐาน

2.      พิสูจน์ สาเหตุ และผลด้วยการวิจัย เป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในการ

            กำหนดนโยบาย

            ชี้แนวทางการพัฒนา

3.      บ่งชี้บุคคลกลุ่มเสี่ยง

4.      สร้างและประเมินผลชุดพัฒนาจิตและพฤติกรรม

5.      ประเมินผลการพัฒนาด้วยการวิจัย

หมายเลขบันทึก: 207712เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท