โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์


โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์

โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์
Adobe Photoshop และ lmageready
Photoshop เป็นโปรแกรมยอดนิยมที่ใช้ในการสร้างและตกแต่งภาพ เพราะมีคุณสมบัติเด่นมากมาย และใช้ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบกราฟิกในส่วนหน้าตาของเว็บเพจ
Macromedia Fireworks
โปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพกราฟิกที่เน้นคุณสมบัติด้านการออแบบและสร้างเว็บเพจโดยเฉพาะ สามารถใช้สร้างองค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บเพจรวมถึงเอฟเฟ็คต์และภาพเคลื่อนไหวแล้วบันทึกผลลัพธ์เป็นไฟล์ต้นแบบสำหรับนำไปใช้ต่อใน Dreamweaver ได้ทันที
Macromedia Flash
โปรแกรมที่ใช้สร้างมูฟวี่ Flash ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้บนเว็บเพจได้หลากหลาย
Macromedia Dreamweaver
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซท์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันทั้งระดับผู้ใช้ทั่วไป และมืออาชีพเนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง มีคุณสมบัติเดนมากมาย ช่วยให้จัดวางโครงสร้างและออกแบบเว็บเพจได้อย่างอิสระ โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องรู้ภาษา HTML แต่อย่างใด

ปรับแต่งภาพกราฟิก
รูปภาพที่เราได้มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ภาพจากกล้องดิจิตอล และภาพจากซีดีสต็อคโฟโต้ หรือออกแบบเอง บางครั้งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะนำมาใช้บนเว็บเพจได้ทันที หรือยังมีข้อบกพร่องในภาพอยู่เช่น มีดไป สว่างไปบ้าง เราจึงจำเป็นต้องปรับแต่งให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้งาน ซึ่ง Photoshop จะมีคำสั่งให้ปรับแต่งและสร้างเอฟเฟ็คต์ให้เลือกใช้อยู่หลายคำสั่ง เพื่อทำให้ภาพออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้

ปรับขนาดภาพ
ในคำสั่ง lmage – lmage Size สามารถใช้ปรับขนาดรูปภาพได้ทั้งการย่อ และการขยาย นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนค่าความละเอียดของภาพด้วยเช่นกัน
- เลือกคำสั่ง lmage – lmage size
- เลือกออปชั่นชุดล่างทั้งหมด และท้ายหัวข้อ Resample lmage ให้เลือก Bicubic
- กำหนดความกว้าง Width หรือความสูง Height และเลือกหน่วยเป็น pixels
- คลิก Ok

ความหมายของออปชั่นต่าง ๆ
- Scale Styles ให้ปรับสัดส่วนของเลเยอร์สไตล์
- Constraim Proportions ให้รักษาสัดส่วนเดิมของภาพไว้ นั่นคือเมื่อคุณกำหนดความกว้างหรือความสูง
- Resample lmage กำหนดให้เป็นการปรับแบบเพิ่ม หรือลดจำนวนพิกเซลจริงในภาพ โดยคุณต้องระบุวิธีคำนซรของโปรแกรมด้วย
- Nearest Neighbor ทำงานได้เร็วที่สุดแต่ให้ผลด้อยที่สุด เหมาะสำหรับใช้กับภาพที่มีขอบคมชัด
- Bilinear ทำงานได้เร็ว และให้ผลดีปานกลาง
- Bicubic ให้ผลผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- Bicubic Smoother เหมาะสำหรับใช้ขยายภาพ
- Bicubic Sharper เหมาะสำรหับใช้ย่อภาพ

ตัดขอบภาพ เลือกติดภามาใช้เฉพาะส่วนด้วยเครื่องมือ Crop
ถ้าหากรูปภาพมีขนาดใหญ่เกินไป หรือคุณต้งอการนำมาใช้เพียงบางส่วนก็สามารถตัดขอบภาพส่วนที่ไม่ใช้ทิ้งโดบใช้เครื่องมือ
- คลิกเลือกเครื่องมือ Crop จากทูลบ็อกซ์
- บนออปชั่นบาร์ หากมีค่าตัวเลขอยู่ในช่องต่าง ๆ ให้คลิกปุ่ม clear
- ใช้เมาส์รูป คลิกลากเป็นกรอบรอบรูปภาพส่วนที่ต้องการใช้
- ปรับขนาด ย้ายตำแหน่ง หรือหมุนจุดปรับรอบ ๆ รูป Bounding Box จนได้ตำแหน่งและทิศทางของรูปภาพตามต้องการ
- กดคีย์ Enter เพื่อยืนยันการตัดภาพ

กำจัดของภาพส่วนเกินด้วยคำสั่ง Trim
ถ้าหากขอบภาพส่วนที่ไม่ต้องการนั้นมีสีเดียวกันตลอดเราสามารถใช้วีนี้กำจัดออกไปได้อย่างรวดเร็ว
- เลือกคำสั่ง lmage - Trim
- กำหนดออปชั่นการตัดขอบ แล้วคลิก OK
- Based On เลือกวิธีการตัดขอบ
- Transparent Pixel ตัดขอบส่วนที่โปร่งใส
- Top Left Pixel Color ตัดขอบที่เป็นสี่เดียวกับมุมซ้ายบนสุดของภาพ
- Bottom Right Pixel Color ตัดขอบที่เป็นสีเดียวกับมุมล่างขวาของภาพ
- Trim Away เลือกว่าจะตัดขอบภาพด้านใดออกบ้าง

ปรับแต่งสี และแสงเงาให้ภาพ
ภาพถ่ายที่มีคุณภาพไม่ดี เช่น สีไม่สวยสดหรือผิดเพี้ยน และภาพที่แสงเงาไม่เหมาะสมคือมืด / สว่างเกินไป หรือความแตกต่างของแสงเงาต่ำค่าต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถแก้ไขได้เพราะ Photoshop มีคำสั่งสั่งสำหรับใช้จัดการกับเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่ในเมนู Image - Adiustments นอกจากนั้นคำสั่งกลุ่มนี้ยังสามารถใช้สร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษบางอย่างได้ด้วยเช่นกัน

ปรับแสงเงาด้วยคำสั่ง Brightness / Contrast
Brightness/Contrast เป็นคำสั่งที่ง่ายที่สุดสำหรับการปรับแสงเงาและความแตกต่างระหว่างส่วนมืดกับส่วนสว่างของภาพ อย่างไรก็ดีคำสั่งนี้จะมีผลโดยรวมต่อทุกพิกเซลเท่า ๆ กัน ดังนั้นอาจจะไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการคุณภาพสูง

ปรับแสงเงาด้วยคำสั่ง Levels
คำสั่งนี้ใช้สำหรับปรับการกระจายตัวของแสงและเงา เพื่อให้ภาพโดยรวมมีคุณภาพดีขึ้น มีความมืดและความสว่างในแต่ละบริเวณที่เหมาะสม เหมาะจะใช้กับภาพที่การปรับด้วยคำสั่ง Brightness/Contrast ไม่ได้ผลดีเพราะมีคุณสมบัติสำหรับการปรับภาพในขั้นสูงนอกจากนั้นยังสามารถใช้ปรับสีโดยการเพิ่มหรือลดความเข้มของแม่สีแต่ละสีได้
- เลือกคำสั่ง Imag – adjustments – Levels
- คลิกลากสไลเดอร์เพื่อปรับค่าต่าง ๆ ตามต้องการ แล้วคลิก Ok
- ลด Contrast ให้ใช้สไลเดอร์ชุดล่าง

ปรับสีภาพด้วยคำสั่ง Hue/saturation
Hue/Saturation เป็นคำสั่งสำหรับใช้ปรับสีภาพ เพื่อแก่ไขสีที่ผิดเพี้ยน เพิ่มความสดและความสว่างของสีและใช้สร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษ เช่น ภาพแบบ Colorize (ภาพสีเดียว) โดยคำสั่งนี้จะมีผลต่อทุก ๆ พิกเซลในภาพ
- เลือกคำสั่ง lmage – Adjustments - Hue/Saturation
- ถ้าต้องการภาพแบบโทนสีเดียว ให้เลือกออปชั่น
- คลิกลากสไลเดอร์เพื่อปรับค่าต่าง ๆ ตามต้องการ แล้วคลิก OK
- Hue ใช้เปลี่ยนสีของภาพ
- Saturation ใช้ปรับความอิ่มตัวของสี
- Lightness ใช้ปรับความืด / สว่าง การเลื่อนไปทางขวาจะทำให้ภาพสว่างขึ้น

ปรับแต่สีและแสงเงาแบบอัตโนมัติ
การปรับสีและแสงเงาของภาพแบบง่าย ๆ และรวดเร็ว ก็สามารถใช้คำสั่งอัตโนมัติ มีอยู่ 3 คำสั่ง คือ
- Auto Levels ใช้ปรับการกระจายตัวของแสงเงาของภาพ และเพิ่มความแตกต่างระหว่างส่วนมืดกับส่วนสว่าง
- Auto Contrast ใช้เพิ่มความแตกต่างระหว่างส่วนมืดกับส่วนสว่างของภาพ โดยไม่ทำให้สีเปลี่ยน
- Auto Color ใช้ปรับแก้สีที่เพี้ยน และเพิ่มความแตกต่างระหว่างส่วนมืดกับส่วนสว่าง

ปรับภาพให้คมชัด (Unsharp Mask)
นอกจากการปรับภาพให้เบลอแล้ว Photoshop ยังสามารถปรับภาพที่เบลให้คมชัดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามคำสั่งนี้จะให้ผลดีในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าปรับมากเกินไปจะทำให้เห็นขอบวัตถุในภาพเป็นเส้นหรือรัศมีอย่างชัดเจนจนดูไม่สมจริง
- เลือกคำสั่ง Fiter – Gallery ทำได้ 2 วิธี
- เปิดจากคำสั่ง Filter – Filter Gallery กรณีนี้ฟิลเตอร์ชุดเดิมที่คุณเคยเลือกไว้ด้วยวิธีนี้ถูกเรียกกลับขึ้นมา
- เปิดจากคำสั่งของฟิลเตอร์ใดฟิลเตอร์หนึ่งที่ถูกจัดอยู่ใน Filter Gallery
ที่มา : http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/33

หมายเลขบันทึก: 207460เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาอ่านความรู้ดีๆๆ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท