กติกาของอินเทอร์เน็ต


กติกาของอินเทอร์เน็ต

กติกาของอินเทอร์เน็ต
การทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ ของอินเทอร์เน็ตจะสอดคล้องกันได้ ก็ต้องมีกติกาที่ทุกเครื่องทุกโปรแกรมรับรู้และทำตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน บนอินเทอร์เน็ตมีกติกาทำนองนี้มากมายสำหรับแต่ละเรื่อง เรียกว่า โปรโตคอล ซึ่งที่สำคัญก็เช่น

TCP/IP กับ IP address
เป็นกติกาหลักในการับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกรูปแบบไม่ว่าจากโปรแกรมใดจะต้องแปลงให้อยู่ในมาตรฐานของ TCP/IP เสียก่อนจึงจะรับส่งได้ กติกาจะนี้กำหนดวิธี ขั้นตอนในการรับส่งข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องอย่างรัดกุม
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้คือการเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งทางเทคนิคเรียกว่า “ที่อยู่ IP” หรือ IP Address เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 202.44.202.22 หรือ 203.15.225.69 ซึ่งจะทำให้ตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นับพันล้านเครื่องโดยไม่ซ้ำกัน

โดเมนเนม (Domain Name)
เนื่องจากผู้ใช้ทั่วไปจะรู้สึกว่า IP Address นั้นจำยาก มีการคิดระบบชื่อโดเมนหรือโดเมนเนม ขึ้นมาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นคำ ๆ ซึ่งสื่อความหมายนำมาเรียงต่อกันโดยคั่นแต่ละคำด้วยจุด (.) เช่น www.provision.co.th คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ (www) ของบริษัทโปรวิชั่น (.provision) เป็นหน่วยงานประเภทบริษัท (.co) และจดทะเบียนในประเทศไทย (.th) เป็นต้น

DNS และ DNS Server
เมื่อมีชื่อที่ใช้อ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่สองระบบดังกล่าวข้างต้น ก็ทำให้ต้องมีกลไกการเปลี่ยนแปลงชื่อซึ่งเรียกว่า Domain Name System (DNS) เข้ามาช่วยโดยแต่ละ ISP จะมีคอมพิวเตอร์เฉพาะที่คอยเก็บข้อมูลว่าชื่อโดเมนแต่ละชื่อมี IP Address อะไร เราเรียกเครื่องที่ทำหน้าที่นี้ว่า DNS Server

HTTP : โปรโตคอลของ www
โปรโตคอลสำหรับเปิดดูข้อมูลจาก www มีชื่อว่า HTTP ซึ่งเราเรียกใช้ได้โดยระบุ http:// ในช่องที่กรอกชื่อเว็บของบราวเซอร์ แล้วตามด้วยชื่อเครื่องที่จะเรียกดูข้อมูล

URL = โปรโตคอล + ชื่อโดเมน + ชื่อไฟล์ในเครื่อง
การเข้าถึงข้อมูลใด ๆ บนอินเทอรเน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจหรือไฟล์ประเภทอื่นเราจะต้องรู้ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลนั้น ซึ่งรูปแบบของที่อยู่นี้ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเรียกว่า URL โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
- โปรโตคอล
- ชื่อโดเมนของเครื่อง
- ชื่อไฟล์เว็บเพจ

เว็บไซท์และเว็บเพจ
เว็บไซท์ (Web Site) หมายถึง กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น กลุ่มของเว็บเพจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ รวมทั้งสินค้าและบริการของบริษัทหนึ่ง เป็นต้น ภายในเว็บไซท์นอกจากเว็บเพจหรือไฟล์ HTML แล้ว ยังประกอบด้วยไฟล์ชนิดอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับสร้างเป็นหน้าเว็บเพจ เช่น รูปภาพ มัลติมีเดีย ไฟล์โปรแกรมภาษาสคริปต์ และไฟล์ข้อมูลสำหรับให้ดาวน์โหลด เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ www ซึ่งมีให้เราสามารถเรียกดูเว็บเพจในเครื่องนั้นได้ จะเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)

โฮมเพจ
โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรก เป็นทางเข้าหลักของเว็บไซท์ ปกติเว็บเพจทุก ๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์มาจากโฮมเพจ ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง

เว็บเพจ
เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง หน้าเอกสารของบริการ www ตามปกติจะถูกเก็บอยูในรูปแบบไฟล์ Html โดยไฟล์ Html 1 ไฟล์ก็คือเว็บเพจ 1 หน้านั่นเอง ภายในเว็บเพจอาจประกอบไปด้วยข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ และภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย นอกจากนี้เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยงหรือ “ลิงค์” (Link) เพื่อให้ผู้ชมเรียกดูเอกสารหน้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกอีกด้วย
นอกจากรูปแบบไฟล์ HTML แล้ว ปัจจุบันเว็บเพจบางส่วนจะถูกเก็บอยู่ในรูปไฟล์โปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น PHP ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจออกมาโดยขึ้นกับเงื่อนไขการทำงาน หรือข้อมูลที่มีอยู่ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ณ ขณะนั้น
ที่มา :  http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/33

หมายเลขบันทึก: 207367เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท