ลาวเวียง(จันท์)2


ต่อเนื่องจากบันทึกที่แล้ว

เพื่อยืนยันความเป็นลาวเวียงของคนบ้านกลางหมื่น ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ แต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยเฉพาะอีสานส่วนใหญ่จะไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นกรอบที่ผู้เขียนเลือกใช้ในการศึกษาจึงเริ่มต้นที่การศึกษาจากเอกสารของนักวิชาการและเอกสารราชการ ควบคู่ไปกับ การศึกษาประวัติท้องถิ่นด้วยตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

การศึกษาประวัติท้องถิ่นบ้านกลางหมื่นในภาพเอกสาร ผู้เขียนเลือกศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยของนักวิชาการและหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญโดยเฉพาะงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ซึ่งอาศัยจิกซอของประวัติเมืองกาฬสินธุ์เป็นฐาน 

เติม วิภาคย์พจนกิจ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญที่มีงานเขียนเกี่ยวกับอีสาน ในหนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์อีสาน[1] กล่าวถึงบ้านกลางหมื่นสั้น ๆ เพียงว่า

“ประวัติเมืองกาสินธุ์เพิ่งปรากฎหลักฐานชัดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มานี้ว่าเจ้าผ้าขาวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเจ้าพระวอ เจ้าพระตา(พระวรราชภักดี)เมืองอุบล เจ้าผ้าขาวเกิดผิดใจกับเจ้าผู้ครองนคร
เวียงจันทน์ด้วยเรื่องโอรสของพระเจ้ากรุงศรีสัตตนาคนหุตเวียงจันทน์ผิดประเวณีในหลานของเจ้าผ้าขาวก็พากันอพยพครอบครัวเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่บ้านหินโงมพวกหนึ่ง ที่บ้านหนองบัวลุ่มภูพวกหนึ่งอีกพวกหนึ่งมาตั้งอยู่ทางบ้านกะลึมเมืองพาน[2] ส่วนเจ้าผ้าขาวและไพร่พล อพยพมาทางใต้ยึดมั่นในหมู่บ้านที่เรียกกันว่า บ้านพรรณา บ้านผ้าขาว จนหลานสาวที่มีครรภ์กับโอรสพระเจ้านครเวียงจันทน์มาก่อนนั้นคลอดบุตรเป็นชายชื่อว่า เจ้าโสมพะมิตร เมื่อเจ้าผ้าขาวถึงแก่อนิจกรรมลงเจ้าโสมพะมิตรก็ได้ปกครองบ่าวไพร่แทน แตเห็นว่าต่อไปเบื้องหน้าจะอยู่บ้านผ้าขาวไม่ปลอดภัย จึงพากันอพยพข้ามภูพานลงมาตั้งในที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกกันต่อมาว่า บ้านกลางหมื่น แต่เห็นว่ายังไม่เหมาะอยู่อีก จึงได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลแก่งสำโรง ข้ามดงสงเปือยริมน้ำปาวเดี่ยวนี้  ครั้นจุลสักราช1155 พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมื่อง กาฬสินธุ์ “
งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ของสุวิทย์  ธีรศาศวัต นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อีสานและลาวก็มีความคล้ายคลึงกับงานเขียนของ              เติม วิภาคย์พจนกิจ ที่กล่าวถึงบ้านกลางหมื่นเพียงสั้น ๆ ว่า
“เจ้าผ้าขาวได้เกิดผิดใจกับพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ด้วยเรื่องโอรสของพระเจ้ากรุงเวีงจันทน์ผิดประเวณีกับหลานสาวของเจ้าผ้าขาว ก็พากันอพยพครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหินโงม(อยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย)พวกหนึ่ง ที่บ้านหนองบัวบำภู(จังหวัดหนองบัวลำภู)พวกหนึ่ง ที่บ้านกะลึมเมืองพาน(อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี)พวกหนึ่งใน พ.ศ.2311 ถูกกองทัพของพระเจ้าสิริบุญสารตีแตกก็อพยพผู้คนมาตั้งในลุ่มน้ำสงครามซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านพรรณา บ้านผ้าขาว(อยู่ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร) เมื่อเจ้าผ้าขาวถึงแก่กรรม เจ้าโสมพะมิตรซึ่งเป็นหลานของเจ้าผ้าขาวก็เป็นหัวหน้ากลุ่มนี้  ทางกลุ่มเห็นว่าบริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพรรณาไม่ปลอดภัยจากเวียงจันทน์จึงตัดสินใจอพยพข้ามภูพานมาตั้งบ้านใหม่ ซึ่งต่อมาเรียกว่า บ้านกลางหมื่น แต่ต่อมาก็เห็นว่ายังไม่เหมาะสมจึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลแก่งสำโรง  ข้ามดงเปือยริมน้ำปาว”[3]


[1] เติม วิภาคย์พจนกิจ,ประวัติศาสตร์อีสาน.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่ 4,2546. น.190

[2] ปัจจุบันคือตำบลพาน อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี

[3] สุวิทย์ ธีรศาสวัต,ท้องถิ่นลุ่มน้ำโขงสามัยชนคนชื่อชอบคลังนานาวิทยา:ขอนแก่น.2547.น.89

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20736เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรืี่องย่อประวัติศาสตร์อีสาน พิมพ์ครั้งที่ 2 ของเติม วิภาคย์พจนกิจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท