การจัดการเรียนรู้ร่วมสมัย


โครงงานน่ารู้

วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

ความหมายของโครงงาน

คำว่าโครงงานมีนักเรียนการศึกษาได้ให้ความหมายไว้มากมาย ดังนี้

กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความหมายโครงงานว่า เป็นการทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู ตั้งแต่การคิดสร้างโครงงาน

 การวางแผนดำเนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางในการวัดผลและการประเมินผล

สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความหมายโครงงานว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัด ตามความสามารถของผู้เรียนเอง ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือผลงาน ซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัว โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น

เปรี่อง  กิจรัตนี   ให้ความหมายว่า  โครงงานเป็นกิจกรรมของนักเรียนเองที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการวางแผนการปฏิบัติอย่างชัดเจน ในการทำกิจกรรมโครงงานนั้นก็ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติงาน ครูมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกเป็นที่ปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานที่นักเรียนมาขอคำปรึกษา

จากการให้ความหมายของโครงงานจากนานาทัศนะสามารถสรุปได้ดังนี้  การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน   หมายถึง  กิจกรรมการศึกษาวิชาการที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้เลือกขึ้นมาศึกษา  ค้นคว้า  ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนเองมีความถนัด  มีความพร้อมและสนใจ  แล้วลงมือปฏิบัติให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  โดยมีรายละเอียดของงานที่จะทำไว้ล่วงหน้า  เป็นขั้นตอน  พร้อมทั้งคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้น  ทั้งนี้โดยได้รับคำแนะนำปรึกษาจากครูอาจารย์ในโรงเรียนของตน

 

แนวคิด
                การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้                                                  การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม  (Bloom)  ทั้ง  6  ขั้น  กล่าวคือ  ความรู้ความจำ  (Knowledge )  ความเข้าใจ  (Comprehension )  การนำไปใช้  (Application )  การวิเคราะห์  ( Analysis )  การสังเคราะห์            ( Synthesis )  การประเมินค่า (Evaluation )  และยังเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้  ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้  การออกแบบการเรียนรู้  การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต  และการประเมินผลงาน  โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้

ลักษณะเด่น                                                                                                                                                                          โครงงานเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองเป้าหมายของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมการคิด  การแก้ปัญหา  ด้วยการใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบมาผสมผสานกัน ได้แก่  กรบวนการกลุ่ม  การฝึกคิด  การแก้ปัญหา  การเน้นกระบวนการ  การสอนแบบปริศนาความคิด  และการสอนแบบร่วมกันคิด  ทั้งนี้ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม  ตามความสนใจและความถนัด  โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้หรือกระบวนการวิทยาศาสตร์  ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นหรือสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ และผู้เรียนยังสามารถสรุปความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ซึ่งความรู้ที่ได้ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา  แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์   จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง 

ความสำคัญของโครงงาน

                ด้านนักเรียน

1.1    สร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง  ด้วยชีวิตจริง  ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ

อย่างลึกซึ้งในโครงงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา

1.2    ช่วยสร้างความหวังใหม่ในการที่จะเริ่มงานที่จะนำไปสู่งานอาชีพ  และการศึกษาต่อที่

ตนเองมีความถนัด  และสนใจ

1.3    ได้มีโอกาสทดสอบความถนัดของตนเองและการแก้ปัญหาในงานที่ตนเองสนใจและมี

ความพร้อม  ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการทำงานต่อไป

1.4    ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้สร้างเกียรติประวัติในโครงงานที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์

1.5    ก่อให้เกิดความรัก  ความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีงามต่อกันในระหว่างเพื่อนนักเรียนที่

ปฏิบัติงานในกลุ่ม

1.6    ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวางขึ้น  โยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับความสำเร็จใน

การศึกษาตามหลักสูตรและตรงจุดมุ่งหมายที่กำหนด

ด้านโรงเรียน  และ ครู-อาจารย์ ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้

1.1    เกิดการประสานงานทางวิชาการที่ผสมผสานหรือบูรณาการเกิดขึ้นในโรงเรียนตรงกับ

หลักสูตร  และแนวทางการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

1.2    เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า  การเรียนการสอนในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการฝึกปฏิบัติจริงใน

โครงงานของนักเรียนมากกว่าที่จะเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น

1.3    เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน  โรงเรียน  ครูและอาจารย์ที่มีโอกาสปฏิบัติงาน

อย่างใกล้ชิด  และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

 

ด้านท้องถิ่น

1.1    การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้  ผลงานในเชิงปฏิบัติของโครงงานที่ประสบ

ผลสำเร็จไปสู่ท้องถิ่น  ทำให้ท้องถิ่นกับโรงเรียนมีความเข้าใจและประสานสัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น

1.2    ทำให้ประชาชนและเยาวชนในท้องถิ่นมีการศึกษาดี  โดยเฉพาะงานอาชีพที่หลากหลาย  และการ

พัฒนาการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติมีนิสัยรักการทำงาน  ไม่เป็นคนหยิบโหย่งและช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดี

 

วัตถุประสงค์
        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน

1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง

 

ขอบข่ายของโครงงาน

ขอบข่ายของโครงงาน   ดำเนินงานโดยนักเรียน  เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีองค์ประกอบดังนี้

1.       เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลัก

วิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว

2.       นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาค

เรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่

3.       นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตาม

ความถนัด สนใจ และความพร้อม

4.       นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงาน

ผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

5.       เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการ

ใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

 

 ประเภทของโครงงาน

1.            ประเภทสำรวจข้อมูล    โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่ศึกษาสำรวจข้อมูลสำหรับดำเนินงาน

พัฒนาปรับปรุง เพิ่มเติมผลงานและส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผู้จัดทำขึ้น แต่มีการแปลเปลี่ยนไปแล้ว ต้องทำการสำรวจจัดทำขึ้นใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น

-          การสำรวจราคาผลผลิตเกษตรในท้องถิ่น

-          การสำรวจราคาอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น

-          การสำรวจแหล่งวิชาการและสถานประกอบการในท้องถิ่น

-          การสำรวจงานบริการในท้องถิ่น

-          การสำรวจปริมาณการปลูกข้าวโพดในท้องถิ่น

-          การสำรวจปริมาณการเลี้ยงห่านในท้องถิ่น

2. ประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง    โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหลักการต่างๆ ทางวิชาการแล้วนำมาทดลองค้นคว้าเพื่อยืนยันทฤษฎีหรือหลักการหรือต้องการทราบแนวทางเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น

-          การศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน

-          การทดลองปลูกพืชในน้ำยาหรือการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน

-          การควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ประดับประเภทเถา

-          การใช้ฮอร์โมนกับกิ่งกุหลาบ

-          การศึกษาขนมชนิดต่างๆ

-          การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากผลไม้

-          การศึกษาทำปุ๋ยชีวภาพ

 3.  โครงงานศึกษาค้นคว้า คิดค้นทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ เป็นโครงงานที่ต้องการนำเสนอแนวคิดหรือทฤษฎี

ใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน หรือว่านำเสนอหลักฐานใหม่เพื่อแย้งหรือขยายความทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะต้องผ่านการพิสูจน์มาอย่างชัดเจน

4.  ประเภทสร้างสิ่งประดิษฐ์โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาใหม่ หลังจากได้ศึกษาทางทฤษฎี หรือพบเห็นผลงานของผู้อื่นแล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาต่อไปจึงประดิษฐ์คิดค้นให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น เช่น

-          การควบคุมระบบการให้น้ำแปลงเพาะชำ

-          การประดิษฐ์เคลือบรูปพลาสติก (กรอบรูปวิทยาศาสตร์)

-          การประดิษฐ์หัวฉีดพ่นน้ำในแปลงปลูกผัก

-          การประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่น

-          การประดิษฐ์เครื่องขยายเสียง

-          การประดิษฐ์เครื่องหรี่ไฟฟ้า

-          การประดิษฐ์กรอบกระจก

-          การประดิษฐ์ป้ายชื่อหินอ่อน

-          แกะลายกระจก

 
ตัวอย่างประเภทของโครงงาน

ที่

ชื่อโครงการ

ประเภทโครงงาน

พัฒนาผลงาน

ค้นคว้า

ทดลอง

สร้างสิ่ง

ประดิษฐ์

สำรวจ

ข้อมูล

1

ประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่น

-

-

/

หมายเลขบันทึก: 207306เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท