เขียนบทที่ 3...ง่ายดีนะ


เริ่มเขียนบทที่ 3 ไปด้วยกันนะครับ บทนี้จะเป็นบทที่ ง่ายที่สุด เพราะเป็นเหมือนการรวมเอา วิธีวิจัยมารวมกัน

บทที่ 3   เป็นหัวใจของรายงาน    แสดงคุณภาพ มาตรฐาน ของการปฏิบัติ พัฒนางาน
และการเป็นมืออาชีพ  จึงต้องเขียนให้ละเอียดเป็นขั้นตอน  แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ   มีการศึกษา แสวงหาทางเลือก     ตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่เหมาะสมกับปัญหาสภาพของงาน สอดคล้องหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการศึกษา  และมีแนวคิดของตนเองแรงบันดาลใจ    แสดงขั้นตอนการพัฒนา การควบคุมคุณภาพ การติดตามวัดผลประเมินผล  คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ ( แบบทดสอบ  แบบวัดต่าง ๆ )   มีข้อมูลเชิงประจักษ์  ได้แก่   ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้จริง   มายืนยัน       

            รายงานตั้งแต่จุดเริ่มต้น การวางแผน การปฏิบัติตามแผน  การควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน การวัดผลประเมินผล ตรวจสอบความสำเร็จ       และการปรับปรุงแก้ไข  (ถ้ามี)   เขียนตามข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง    โดยไม่ต้องพรรณนาความ   หรือสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วยอาจจะต้องมีการตีความหมายข้อมูล อธิบายเพิ่มเติม แต่อยู่ในขอบเขตของข้อมูล และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ  วิธีดำเนินการ อาจจะเขียนตามขั้นตอน ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขึ้นเผยแพร่   หรือจะเขียนเรียงตามขั้นตอนการพัฒนา งาน นวัตกรรม  ตัวอย่าง ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน  ได้แก่ การวางแผนการสอน การเตรียมการสอน การดำเนินการสอน การผลิตและใช้สื่อ การวัดผลประเมินผล

             ตัวอย่างแนวการเขียนรายงานการสอน  ตามรูปแบบวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน

            .  ขั้นเตรียมการ  ก่อนแก้ปัญหา พัฒนางานสอน

               1.  กำหนดปัญหา      ศึกษา  วิเคราะห์   กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน  วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา   ซึ่งมีความเป็นไปได้ ในการนำมาแก้ไข

               2.  ศึกษาหลักสูตร เนื้อหา หลักการ  ทฤษฎีต่าง ๆ   เพื่อรวบรวมความรู้  กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา ตามสาเหตุที่ต้องการ

               3.  เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง   อาจจะได้จากรวมหลายวิธีการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติ  เรียกว่า ผลิตรูปแบบ หรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหา  ได้นวัตกรรมเทคโนโลยีการสอนใหม่ ๆ  มาใช้   เช่น  คู่มือครู บทเรียนแบบต่าง ๆ   ชุดฝึกปฏิบัติ   ศูนย์การเรียนอุปกรณ์ต่าง ๆ  อาจจะเป็นกิจกรรม วิธีการ เช่นการสอนแบบโครงการ เทคนิค คิว ซี ซี   อาจจะเป็นองค์กร เช่น คณะกรรมการนักเรียน

               4.  ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง  เขียนอธิบายขั้นตอน  การผลิตรูปแบบ  พร้อมทั้งวิธี
หาคุณภาพ ประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ  และจากการทดลองใช้จริง

            ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ  คุณภาพของรูปแบบ   ทั้งในด้านเนื้อหา รูปร่างภายนอกทางด้านกายภาพ   ผู้เชี่ยวชาญไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการระดับชาติ  หรือผู้มีความรู้สูงเยี่ยม     อาจเป็นครูผู้ชำนาญการสอน  หัวหน้าหมวดวิชา  ผู้ช่วยผู้บริหารในโรงเรียน หรือกลุ่มโรงเรียน ศึกษานิเทศก์จังหวัด ศึกษานิเทศก์เขตการศึกษา  ก็ได้

            การหาประสิทธิภาพของรูปแบบ  โดยทดลองใช้กับนักเรียน     แยกเป็นกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม  เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  ต้องระมัดระวัง   ไม่ทำให้เป็นการลำเอียงต่อนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งควรแยกทดลอง 2 กลุ่ม ในขั้นตอนการผลิต-การพัฒนา    เพื่อให้แน่ใจว่าใช้ได้ดี ก่อนนำไปใช้จริงกับนักเรียนจำนวนมาก

               5.  วางแผนนำไปใช้จริง กับกลุ่มประชากร คือนักเรียนทั้งหมด ตามหน้าที่ที่ได้รับ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา    เช่น  การเขียนแผนการสอน   รายละเอียดสื่อ  เครื่องมือวัดผลตามจุดประสงค์ในรูปแบบที่ใช้   วิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ  กำหนดปฏิทินการปฏิบัติ

            .  ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา   เขียนวิธีใช้รูปแบบ  หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน  ตามขั้นตอนที่กำหนด  กิจกรรมของครู กิจกรรมของนักเรียน  รวมทั้งการควบคุมการเรียนการสอน ได้แก่การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุวัตถุประสงค์    ต่อไปก็เขียนวิธีนำไปใช้  แก้ปัญหาพัฒนาการเรียนการสอนตามขั้นตอน   

 

            ตัวอย่าง ขั้นตอนการฝึกประชาธิปไตยในห้องเรียน

               1.  นักเรียนระบุปัญหา

               2.  นักเรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา

               3.  นักเรียนเข้ากลุ่ม ค้นหาและเลือกแนวทางปฏิบัติ

               4.  นักเรียนกลุ่มเดิมวางแผนในการปฏิบัติงาน

               5.  นักเรียนแต่ละคน ดำเนินงานตามแผน

               6.  ประเมินผลการปฏิบัติงาน ปรับปรุงแก้ไข

               7.  กลุ่มนำเสนอผลงาน

            ในแต่ละขั้นตอน ควรมีรายละเอียดพอสมควร จนทำให้ครูผู้สนใจนำไปใช้ปฏิบัติได้ผลเช่นเดียวกับเจ้าของผลงาน  เช่น   รายละเอียดในเรื่อง  เวลา สื่อที่ใช้ สถานที่ บรรยากาศ  การวัดผล   เกณฑ์ การสอนเสริม และการซ่อมเสริม       

. ขั้นเผยแพร่    การเผยแพร่   มีความสำคัญในการที่จะแสดงว่า  รูปแบบวิธีการที่ได้มี
คุณค่า  มีประโยชน์ต่อเพื่อนครู ต่อวิชาชีพครู ขั้นนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูผู้สอนควรจะแน่ใจว่ารูปแบบที่ใช้มีประสิทธิภาพใช้ได้ผลแน่นอน จึงเผยแพร่     วิธีการเผยแพร่ ทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแจกจ่ายเอกสารสรุปรายงาน  ในกลุ่มครูผู้สอนวิชาเดียวกัน นำเสนอในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ   เป็นวิทยากรให้ความรู้   และเป็นผู้นิเทศแนะนำ

            ได้เผยแพร่โดยวิธีใดบ้าง   เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการเผยแพร่   เช่น   วิธีการ ผู้รับการเผยแพร่เป็นใคร  จำนวนกี่คน วันเดือนปี มีหลักฐานอะไรและผลการเผยแพร่เป็นอย่างไร

 

อันนี้เป็นแนวเฉยๆครับ

การวิจัยเรื่อง……..นี้ ใช้แบบการวิจัย 2 ชนิด คือการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามในภาพกว้างก่อน แล้วจึงนำประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อนำข้อมูลทั้ง 2 ลักษณะมาบูรณาการกันให้ครบถ้วนสมบูรณ์บริบูรณ์ และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย     ดังต่อไปนี้

 

1.    การเลือกพื้นที่ที่วิจัย

(ให้ระบุว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้างในการเลือกพื้นที่)

2.    การสำรวจและวางแผนก่อนลงพื้นที่

(ให้ระบุว่า ไปสำรวจเมื่อใดและวางแผนไว้อย่างไร)

3.    ประชากรที่ศึกษา

(ระบุ ประชากรที่เป็น :-     

- เอกสารมีอะไรบ้าง

- ประชาชนทั้งที่เป็น    

- การวิจัยเชิงปริมาณ มีจำนวน..คน

              - การวิจัยเชิงคุณภาพ มีจำนวน..คน  )

4.    เทคนิคและวิธีการสุ่มตัวอย่าง

(ระบุเทคนิคและวิธีการสุ่มตัวอย่างให้ชัดเจนและละเอียดทั้ง 2 แบบ)

5.    ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย

5.1                       ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่…………………………………….

5.2                       ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่…………………………………….

6.    เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

6.1                       แบบสอบถาม (Questionnaire)

6.2                       แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview Guide)

6.3                       แนวสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Guide)

6.4                       การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)

7.    การสร้างและตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัย

(ระบุวิธีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทั้ง 4 ชนิดอย่างละเอียดว่าสร้างอย่างไรบ้าง และมีผู้เชี่ยวชาญ 3 คนตรวจ แล้วนำไป Try-Out กับใครและได้ผลอย่างไร)

8.    การเก็บรวบรวมข้อมูล

(ระบุขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 4 ชนิด)

9.    การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

(ระบุวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation Method))

10.           การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล

10.1  วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลเชิงปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS

10.2  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี

10.2.1                     วิเคราะห์เชิงอุปนัย (Analysis Induction)

10.2.2                     วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

10.2.3                     วิเคราะห์เชิงสังเคราะห์ (Synthesis Analysis)

(ระบุแต่ละชนิดอย่างละเอียด)

11.           สถิติที่ใช้

11.1

หมายเลขบันทึก: 206818เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยอดเยี่ยมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังทำผลงานมาก...ขอบอก

มีประโยชน์มากสำหรับครูอาจารย์สายการสอนที่กำลังทำวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

ขอบคุณครับ ที่แวะมาอ่าน ก็กำลังช่วยครูหลายๆท่านพิจารณาเนื้อหางานครับ

สุดยอด เพื่อเพื่อนครูเลยน้อง

โห ทุกเรื่องเลยนะครับ ครูต้อยติ่งได้อ่านหมดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท