โยนิโสมนสิการ


โยนิโสมนสิการ

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

โยนิโสมนสิการ

 

โยนิโสมนสิการ  แปลว่า  การกระทำลงในใจโดยแยบคาย

เรื่องของพระธรรมคำสอนต่างๆในทางพระพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นๆก็ตาม เป็นเรื่องที่กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจเป็นส่วนมาก แต่คนส่วนใหญ่จะอ่านพระธรรมรู้พระธรรมโดยการผ่านกระบวนการทางความคิด ไม่ใช่ผ่านการกระทำลงทางใจ ดังนั้นจึงได้แต่รู้และเข้าใจพระธรรมโดยแบบของกระบวนการของเหตุผล ไม่ใช่เป็นการเข้าใจแจ้งหรือแจ้งที่ใจ

            การอ่าน การรู้  โดยผ่านความคิดเป็นอย่างไร ?

การอ่าน การรับรู้สิ่งต่างๆโดยผ่านกระบวนการทางความคิด หมายถึง การรับรู้ โดยมีการเปรียบเทียบ มีการตัดสิน มีการให้ค่า กับความรู้ที่ได้รับมานั้น และหลัก ที่ใช้สำหรับการเปรียบเทียบตัดสิน หรือให้ค่านั้น นั่นก็คือ ทิฏฐิ

ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ความคิดเห็น (ความยึดมั่น)

ทิฏฐิ นั้นก็เกิดมาจาก ความรู้ต่างๆที่เราได้รับรู้มาในอดีต เช่น การเล่าเรียนศึกษาในชั้นเรียนของโรงเรียน จากหนังสือตำรับตำรา จากประสบการณ์ จากการบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ หรือความรู้ต่างๆที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ฯลฯ แล้วผ่าน กระบวนคัดกรองโดยเหตุและผลส่วนตัวของแต่ละคน จนสรุปกลายเป็นความเชื่อ (ศรัทธา)ว่า ความรู้ที่รู้มานั้นเป็นความรู้ที่ถูกต้อง และความเชื่อหรือศรัทธานี้เอง ก็จะถูกใช้ เป็นหลักเป็นเกณฑ์ของคนๆนั้น ที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ ตัดสิน กับความรู้ต่างๆที่รับมาใหม่ในภายหลัง   

ศรัทธา ความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงเสมอไป อาจเป็นเพียงความเชื่อ ที่เชื่อตามๆกันมาหรือโดยจากการได้ฟังบ่อยๆซ้ำๆตามๆกันมา หรืออาจเชื่อเพราะความเชื่อแบบนั้นสืบทอดตกทอดกันมาจนเป็นลักษณะของขนบธรรม เนียมประเพณี จากการเล่าลือหรือเป็นความเชื่อที่เชื่อถือกันในคนหมู่มาก หรือจากคัมภีร์หนังสือตำรับตำราที่มีอยู่ หรือเกิดเพราะความศรัทธาในตัวของบุคคลว่าบุคคลผู้นั้นเป็นครูบาอาจารย์ของเราเป็นคนเฒ่าคนแก่เป็นคนดีเป็นพระเป็นสมณะหรือดูจากลักษณะภายนอกแล้วว่าน่าเชื่อถือ

ศรัทธา ความเชื่อ บางครั้งก็อาศัยเหตุผลโดยการตรึกตรองไปตามหลักเหตุและผล ตามหลักการ ตามเหตุ ตามปัจจัยที่เกิดขึ้น แต่ความเชื่อบางครั้ง ก็เชื่อเพราะหาเหตุผลไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้(ไม่เชื่ออย่าลบหลู่) จึงต้องเชื่อไว้ก่อนแบบนี้ก็มี

และเมื่อเกิดเป็นความเชื่ออย่างจริงๆจังๆในใจของคนแต่ละคน ความเชื่อนั้นก็จะถูกยึดไว้เป็นหลัก เป็นเกณฑ์ในใจของคนๆนั้น นั่นก็คือ ทิฏฐิ ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เรายึดมั่นถือมั่นเอาไว้ เป็นกฎเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ในการให้เหตุผลเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับมาในภายหลังนั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า ความเห็น   

เมื่อเรารับรู้เรื่องราวใหม่ๆ เราก็จะนำเอาเรื่องที่รู้มานั้น(ความรู้ใหม่) มาเปรียบเทียบกับความเชื่อที่เรามี(ความรู้เก่าที่เราสรุปแล้วว่าถูกต้อง)  ทำให้การรับรู้ทั้งหมดที่มีมาในภายหลังนั้น จะถูกจำกัดกรอบให้อยู่แต่ในแนวทางแห่งความเชื่อที่เรามีอยู่นั้น

หากความรู้อันใหม่ที่ได้รับมานั้น อยู่ในแนวทางเดียวกันกับความเชื่อที่เรามีอยู่ เราก็จะยอมรับและเป็นการเสริมฐานของความเชื่อเดิมให้มีความหนักแน่นเข้าไปอีก  ดังนั้น ผู้ที่ยิ่งมีความรู้หรือมีการศึกษาสูงๆหรือรู้มากๆ หากหลงติดอยู่ความเชื่อใดๆแล้ว ก็จะยิ่งยากเป็นการยากมากที่จะสลัดให้หลุดออกจากความเชื่อนั้นได้ เพราะความเชื่ออันนั้น มีข้อมูลมากพอ มีเหตุผลประกอบ และสามารถโต้แย้งกับเหตุผลต่างๆได้มาก และเชื่อมั่นว่า ความเชื่อ ความเห็นของตน นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง เพราะ นั่นเป็น ความเห็นที่ตนชอบ

หากความเชื่อใด ที่ไม่เข้าด้วยกับความเชื่อเดิมที่มีอยู่ ความเชื่อนั้นจะถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิงโดยหลักของเหตุผล ที่เอนเอียงไปตามความเชื่อที่ตนยึดเอาไว้ และเห็นว่าความรู้นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือ ความเห็นผิด เพราะความรู้ที่ได้ รับมาใหม่นั้นเป็น ความเห็นที่ตนไม่ชอบ 

การรับรู้สิ่งต่างๆ โดยการผ่านขบวนการ ที่มีการเปรียบเทียบและตัดสิน ผ่านทิฏฐิ ความเชื่อนี้เอง ที่เรียกว่า การรับรู้โดยการผ่านกระบวนการทางความคิด ซึ่งผู้ที่มีทิฏฐินั้น จะไม่มีทางเห็นตามความเป็นจริงได้เลย

เปรียบเสมือนกับ คนที่ใส่แว่นตาที่มีสี เมื่อเขามองดูสิ่งต่างๆ ก็จะเห็นสิ่งต่างๆนั้น มีสีไปในโทนสีของสีของแว่นที่ตนใส่เสมอ ยิ่งสีของแว่นเข้มมากขึ้นเท่า ใด เขาก็จะเห็นทุกสิ่งต่างๆ มีสีเดียวกับแว่นที่ใส่ จนมองไม่เห็นถึงสีที่แท้จริงของสิ่งนั้นเลย นั่นแหละที่เรียกว่า ความหลงหรือโมหะ

สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นชอบ หรือ ความเห็นที่ถูกต้อง

ความเห็นที่ถูกต้องจริงๆนั้น ก็คือ การไม่มีความเห็น

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ที่แท้จริงนั้น ต้องหมายถึง การเห็น การรับรู้ ที่ไม่มีความคิดที่ ขัดแย้งหรือคล้อยตาม หรือคือการรับรู้ เรื่องทุกเรื่อง ตามความเป็นจริงของเรื่องนั้นๆโดยที่เราไม่เข้าไปก้าวก่าย ตัดสินหรือเปรียบเทียบกับความเห็น ของเรา

เป็นเสมือนการรับรู้ของคนนอก ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย กับการรู้นั้นๆ เป็นแค่การรับรู้ รู้เฉยๆ โดยไม่ต้องรู้เพื่อที่จะต้องหาเหตุผล รู้โดยไม่มีทั้งความคิดที่จะคล้อยตาม เห็นด้วย หรือขัดแย้งกับความรู้นั้นๆ

สักกายทิฏฐิ ในเรื่องของสังโยชน์ ๑๐ นั้น คนทั้งหลาย มักจะแปลกันว่า

ทิฏฐิที่เห็นว่า มีตัวมีตน  ความจริงแล้ว   

            “สักกายทิฏฐิ ควรจะแปลว่า ทิฏฐิ (นั่นแหละ) คือ ตัวตนหรือแปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆและตรงตัวว่า

         “ความเห็นแก่ตัว

ซึ่งหมายถึง ความคิด ความเห็น เหตุผลต่างๆ ที่เข้าข้าง ตัวเอง

ในการรับรู้ของเรา ความจริงแล้ว มันควรที่จะเป็นการรับรู้ ที่รู้ไปตามเหตุ ตามปัจจัยที่มันเกิดขึ้นจริงๆ ควรรู้ตามความเป็นจริง ที่มันเกิดขึ้นเท่านั้น

แต่เรา มีการรับรู้ โดยการเอาความรู้ที่ได้รับมาใหม่นั้น ไปตัดสิน ไปเปรียบเทียบเสมอ

แล้วอะไรล่ะ ?  ที่เรา ใช้เป็นหลัก ในการเปรียบเทียบ ในการตัดสิน

สิ่งที่เราใช้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ ในการตัดสิน คือ  

ความรู้ ที่เราเห็นว่า มันถูกต้องใช่ไหม? 

สิ่งนั้นนั่นแหละ คือ ทิฏฐิ (ความเห็น)

สิ่งนั้น (ทิฏฐิ)  เป็นการแสดงถึง ความคิด ความเห็น ของเรา

สิ่งนั้น (ทิฏฐิ)  เป็น การแสดงออกถึง ความเป็นเรา

สิ่งนั้น (ทิฏฐิ) นั่นแหละ คือ การแสดงซึ่ง ตัวตนของเรา

การรับรู้ที่จะทำให้ รู้ตามความเป็นจริงนั้น จริงๆ    

ไม่ต้องการ ความเห็นของเราไม่ต้องการ ความเห็นของใครๆ  

แค่เห็น แค่รู้ ก็พอแล้ว 

นั่น ! จึงจะเป็นการรู้ การเห็น ตามความเป็นจริง 

สัมมาทิฏฐิ ที่แท้จริง จึง ไม่ใช่ทั้ง

ความเห็นที่เห็นว่า  ถูกหรือผิด  !

หรือเห็นแล้ว ชอบหรือไม่ชอบ !

สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็น การรู้ โดยไม่ต้องออกความเห็นหรือไม่มีความ เห็นใดๆของเรา (ทิฏฐิ) ไปเกี่ยวข้อง (เปรียบเทียบหรือตัดสิน)

ไม่มีทั้งความชอบ(ถูกใจ) หรือไม่ชอบ (ไม่ถูกใจ)

ดังนั้น จึงไม่มีความขัดแย้ง จึงอนุโลมเรียกว่าชอบ

และการรับรู้ผ่านสัมมาทิฏฐินี่เอง ก็คือ การรับรู้ผ่านใจ แบบที่ว่ามานี้แหละที่มีชื่อเรียกว่าโยนิโสมนสิการและความรู้ ที่รู้โดยวิธี โยนิโสมนสิการ นั้น เรียกว่า ญาณ

 

คำสำคัญ (Tags): #โยนิโสมนสิการ
หมายเลขบันทึก: 206778เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท