บัว ๔ เหล่า


บัว ๔ เหล่า

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

บัว ๔ เหล่า

            มีความเข้าใจกันไขว้เขวเกี่ยวกับความหมายในเรื่อง "บัว ๔ เหล่านี้" เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่คนมักจะเข้าใจว่า ความหมายของเรื่อง "บัว ๔ เหล่า" นั้น เป็นการเปรียบเทียบที่หมายถึง ความเฉลียวฉลาด

                เรามักตีความคำว่าปัญญานั้น หมายถึง ความเฉลียวฉลาด หรือการมีความรู้มากๆ มีความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งไม่ใช่

                ปัญญา แปลว่า ความรู้ ความเข้าใจ แต่ในทางรูปธรรม

ปัญญา หมายถึง  ใจ ที่ไร้ความข้องขัด

มีคำกล่าวไว้ว่า

ปัญญา เปรียบดัง อาวุธ  หมายถึง

ปัญญา สามารถ ทำให้อุปสรรค์หรือปัญหาต่างๆหมดไป (อาวุธ ฟาดฟัน ถาดถาง ทะลุทะลวง ) (ทำให้ไร้ความข้องขัด)

ปัญญา เปรียบดัง ประทีป หมายถึง

ปัญญา เป็นเหมือน แสงสว่าง ทำให้เห็นทาง เห็นช่องทาง เห็นชัดเจน (ทำให้ไร้ความข้องขัด)

   ความสามารถ ที่จะนำความรู้ที่เข้าใจไปใช้ได้ นั่นคือ ความฉลาด 

   ความชำนาญแคล่วคล่องในการใช้ ความรู้ที่เข้าใจ คือ ความเฉลียวฉลาด

   แต่หากรู้หรือเข้าใจ ในลักษณะแบบความทรงจำหรือในเฉพาะทฤษฎี โดยไม่ใช่เป็นความรู้ความเข้าใจจากการประพฤติปฏิบัติจนซาบซึ้งในลักษณะของประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจนั้น จะเป็นไปในลักษณะที่พอกพูนสะสม ก็จะกลายเป็นลักษณะ ความรู้ความเชื่อ ที่เรียกว่า ทิฏฐิ

  ยิ่งผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจมากๆ โดยลักษณะของความเชื่อนี้ ทิฏฐิ ก็ยิ่งหนาแน่นทำให้ไม่สามารถรับรู้ความรู้ใหม่ๆที่แตกต่างจากความรู้ความเชื่อ(ทิฏฐิ)ที่มีอยู่เดิมไม่ได้เลย

  เรื่อง บัว ๔ เหล่า ที่พระพุทธองค์ตรัสถึง ก็คือ

  เรื่องของ ความหนาแน่นของ "ทิฏฐิ" ของคนต่างๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

  พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกของพระพุทธองค์ เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ระลึกถึงคุณของอาจารย์สัญชัย จึงพากันไปชักชวนให้อาจารย์สัญชัยมาบวช เพื่อศึกษาธรรมในศาสนาพุทธ  พระอาจารย์สัญชัยซึ่งเป็นถึงเจ้าลัทธิหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก (แม้แต่พระพุทธองค์เองในสมัยก่อนตรัสรู้ ก็น่าจะเคยไปศึกษาอยู่ด้วย เพราะในช่วงของการแสวงหาทางพ้นทุกข์นั้น พระพุทธองค์ทรงไปศึกษาหาความรู้จากอาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆในสมัยนั้นแทบทุกอาจารย์ และเรียนรู้หลักธรรมต่างๆของแต่ละลัทธิอย่างลึกซึ้ง จนสามารถพิสูจน์แล้วว่า ความรู้เหล่านั้นไม่สามารถพ้นทุกข์ได้จริงๆ พระองค์ก็จากออกมา แต่ประวัติที่กล่าวไว้ที่ชัดเจนคือ พระอาฬารดาบสและอุทกดาบสและการทรมานร่างกาย เนื่องจากพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงมีเจตนาจะตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้า แต่เพียงมีเจตนาจะหาทางพ้นทุกข์เพื่อจะได้นำมาสั่งสอนแก่คนทั่วไปเท่านั้น ) เมื่ออาจารย์ สัญชัยได้ฟังคำชักชวนจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะแล้ว แทนที่ท่านจะยินดี ท่านกลับถามแก่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่า

พระอาจารย์สัญชัย....     ในโลกนี้ คนมีปัญญามีมากกว่า หรือคนโง่มีมากกว่า

พระสารีบุตรฯ ตอบว่า..  คนโง่ มีมากกว่า 

ท่านอาจารย์สัญชัย จึงตอบกลับพระสารีบุตรและพระโมคคัลนะว่า...

งั้นให้คนที่มีปัญญาไปอยู่กับพระพุทธองค์เถอะ ส่วนท่านจะอยู่กับคนโง่ เสวยสุขจากลาภยศ ที่จะได้จากคนหมู่มากเหล่านั้น (พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะในสมัยที่อยู่กับอาจารย์สัญชัย ก็เป็นผู้ที่มีปัญญามากและเป็นถึงอัครสาวกของพระอาจารย์ สัญชัยเช่นกัน อาจารย์สัญชัยจึงกล่าวในเชิงประชดประชัน) (และได้แสดงให้เห็นอีกอย่างว่า ตามที่เรามักเข้าใจกันว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธองค์คงจะมีสาวกจำนวนมากและน่าจะมากกว่าสาวกในลัทธิอื่นๆ ซึ่งไม่จริง ยืนยันได้จากวาจาที่พระอาจารย์สัญชัยที่กล่าวไว้นี้ ได้แสดงว่า ลูกศิษย์สาวกของอาจารย์สัญชัยนั้นมีมากกว่าสาวกของพระพุทธองค์)

                พระอาจารย์สัญชัย นับเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดและมีปัญญามาก ไม่งั้นก็คงไม่สามารถเป็นถึงอาจารย์เจ้าลัทธิได้ แต่ทิฏฐิที่มีต่อความรู้เดิมที่ตนเห็นนั้น มันได้บดบัง ทำให้ยากที่จะเห็นธรรมอื่นที่ขัดแย้งต่อทิฏฐิเดิมได้

                คนในแบบของ อาจารย์สัญชัย นี่แหละที่พระพุทธองค์เปรียบไว้ว่า เป็นเหมือนดอกบัวที่เกิดอยู่ในตม ยากที่จะมีโอกาสเติบโตขึ้นมาบานได้ หรือยากจะเข้าใจในพระธรรมของผู้อื่นได้

                เราทั้งหลายก็เช่นกันควรจะระวังทิฏฐิของเราให้ดี

                อย่าคิดว่า เราเป็นผู้ที่รู้มาก เรียนมาสูง เรียนมามาก มีประสบการณ์มาก เพราะไอ้สิ่งที่เรารู้นั่นแหละ คือ สิ่งที่จะบดบังเราไม่ให้เรามองเห็นหรือเข้าใจพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศไว้..

               

คำสำคัญ (Tags): #บัว ๔ เหล่า
หมายเลขบันทึก: 206714เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท