พาลูกสู่เป้าหมายอย่างมีความสุข (2)


พฤติกรรม พึงประสงค์ และ ไม่พึงประสงค์ เหมือนตาชั่งสองแขน เรามีเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 23 ชั่วโมง ก็เหลือให้อีก 1 ชั่วโมงไปเป็นอื่น

GROW ME**** เป็นกระบวนการ Coaching
การมองเด็กแยกเป็นรายบุคคล มีแผนเฉพาะของตัวเอง ไม่ได้ทำ IEP หรือเพิ่มภาระงานเอกสาร
•    G ตั้งเป้าหมาย
•    R สอดคล้องกับความเป็นจริง ข้อจำกัด ทรัพยากร มีอะไรบ้าง
•    O ทางเลือก ตัวช่วยมีอะไรบ้าง
•    W การลงมือทำ ขั้นตอน
•    M ติดตาม ตรวจดูว่าที่ทำมีจุดอ่อนอย่างไร ย้อนไปได้ถึงเป้าหมาย วิธีการ
•    E ประเมินผล ตั้งเป้าหมายใหม่

(****ดูความหมายเพิ่มเติมที่ http://gotoknow.org/blog/orange/172778

หนังสือ GROW ME 
ผู้แต่ง
  อึ้ง ปาค ที  
ผู้เรียบเรียง   เจริญเกียรติ ธนะสุขถาวร, ลักษณา จอมสืบ, พิมพ์พร จันทร์ดี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.pearson-indochina.com/local/elt/elt041.htm)

คนเราเรียนรู้โลกได้ 2 กระบวนการนี้
•    เลียนแบบ
•    ลองผิด ลองถูก
ถ้าเราถามเด็กว่ามีเป้าหมายอะไร เขาตอบได้เท่าที่ เขาได้ยินได้ฟัง ฉะนั้นเป้าหมายเปลี่ยนได้

การ ทำ Check list คือการทำเป้าหมายของกระทรวงให้เป็นรูปธรรม เช่น ส่งเสริมความซื่อสัตย์  ม้นตีเป็นพฤติกรรมอะไร   เราเป็นโครงการนำร่อง เราเก็บค่าใช้จ่ายน้อยกว่าปกติ โรงเรียน/ส่วนชุมชนฯ ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ด้วยไม่น้อย เรามาเพื่อช่วยกันทำงาน มาช่วยกันปรับปรุง เพิ่มเติม ให้คนรุ่นหลังกัน

ฐานกายเกี่ยวข้องกับอารมณ์
กินอิ่มนอนหลับ ร่างกายแข็งแรง ทำไมยังเรียนรู้ไม่ได้ สังเกตว่าเราใช้คำว่าทักษะร่างกาย

คนเราตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผ่านระบบประสาท 3 ขั้นตอน
•    ระบบการรับสัมผัส 7 ช่องทาง
     o    รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส การทรงตัว ท่าทาง
     o    เราอยู่ในที่เดียวกัน รู้สึกไม่เหมือนกัน แต่ก็อยู่ใน Norm
          ถ้าคนรับสัมผัสกับความเย็นเกิน Norm เขาจะทำอย่างไร
          พฤติกรรมตก Norm แปลกไปกว่าเพื่อน เมื่อประสาทสัมผัสเกิน Norm คือ
               •    ไวไป
               •    เฉื่อยไป
          คนเรามีระดับการตื่นตัวไม่เท่ากันในกิจกรรมต่างๆ
          ตัวอย่าง
          ถ้าง่วง แต่ อยากขับรถต่อ เราเร่งเร้าตัวเอง ด้วยการเปิดเพลงดังๆ กินกาแฟ ล้างหน้า ฯ
          ถ้าอยากพักผ่อน แต่มีเสียงรบกวน เราก็พยายามตัดสิ่งเร้า ปิดหน้าต่าง อุดหู ฯ
          เด็กในห้องเรียนของเราล่ะ เขาไว/เฉื่อย อย่างไร

          อย่าลืมประสาทสัมผัสมันไม่มีประตูเปิดปิด         
          เราเพิ่งรู้ว่าตอนนี้มีลมพัดมาโดน มีสัมผัสของเสื้อผ้า ฯ เรารู้สึกแต่เราไม่ได้ให้ความสนใจ
          ถ้าทุกอย่างน่าสนใจไปหมดสำหรับเด็กๆ เขาจะเป็นอย่างไรในห้องเรียน

•    การตีความ
ตัวอย่าง เด็กเดินไปสกิดเพื่อนที่นั่งอยู่ เด็กจะตีความได้อย่างไรบ้าง เพื่อนทัก เพื่อนแกล้ง เพื่อนบังเอิญเดินมาชน สิ่งที่ครูเห็น กับสิ่งที่เด็กตีความ อาจไม่เหมือนกัน การตีความ ส่งผลถึงพฤติกรรมนั้น เด็กลุกมาตอบโต้ ไม่ใช่เด็กก้าวร้าว แต่อะไรทำให้เขาตีความแบบนั้น เราต้องมาช่วยดู

•    ระบบการสั่งการร่างกาย
สมอง ส่งสัญญาณมาที่ร่างกายอย่างเรียงลำดับเหมาะสม มิติสัมพันธ์ ตำแหน่ง ทิศทาง ความเร็ว เด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน เขาทำตามไม่ได้ไม่ใช่เพราะดื้อ แต่เพราะทักษะร่างกายเขาบกพร่อง หรือหย่อนยาน

มีภูเขาน้ำแข็งข้างใต้อีกเยอะที่เรามองไม่เห็น

ทักษะที่เด็กควรมี
•    Knowledge Skill
•    Working Skill
•    Life Skill
     o    ทักษะสังคม
     o    ทักษะการแก้ปัญหา
     o    ทักษะการสื่อสาร
     o    ทักษะการจัดการอารมณ์
•    คุณธรรม
•    Self Esteem จะเกิดได้เมื่อ
     o    เป็นที่รัก เป็นที่ยอมรับ ไม่สงสัยในความรักตั้งแต่ขวบปีแรก
     o    สะสมชัยชนะเล็กๆ มาตลอด
•    ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น
     o    เข้าใจคุณค่า ความสัมพันธ์ พลังกลุ่ม
     o    เห็นคุณค่าของตัวเองต่อกลุ่ม
     o    จัดสมดุลย์ประโยชน์ส่วนรวม vs ส่วนตัวได้

การช่วยให้เด็กตั้งเป้าหมายต้องรู้อะไรบ้าง

•    เข้าใจพัฒนาการเด็ก
•    เข้าใจจุดแข็ง-อ่อนของเด็ก
•    เข้าใจความมุ่งมั่นปรารถนาความต้องการของโรงเรียน แต่ละหน่วยงานก็มีปรัชญาแนวทางของเราอยู่
•    บทบาทในฐานะโค้ชจะทำอย่างไร
     o    การสังเกต ในการเข้าใจเขา
     o    สร้างแรงจูงใจ
     o    การสื่อสาร พูดให้รู้เรื่องเข้าใจกัน
     o    การจัดการเด็ก ทำให้บ้านอบอุ่นปลอดภัย ให้เกิดการเรียนรู้ ดังนี้
          •    การคิด
          •    การจัดการอารมณ์
          •    การสร้างวินัย
          •    การให้คำปรึกษา แนะแนว

เรามาคุยกันตรงนี้ เฉพาะในฐานะโค้ช นี่คือภาพรวมทั้งหมดของเราที่จะมาเจอกัน 3 ครั้งนี้
มัน จะช้าไปไหม ตอนนี้อยู่ ป.3 แล้ว เป็นแรงเฉื่อย เป็นต้นทุน เราขาดทุนไปแล้ว เรามาล้างบัญชี เริ่มใหม่ แต่เราก็สบายกว่า ป.5 แล้วพวกอนุบาลจะง่ายกว่าเรา เราต้องอดทด มุ่งมั่น

กิจกรรมแรก
1.    ดูคนที่เราถูกกำหนดให้ดู ต้องไม่มีใครสบตากันนะ (ต้องทำความเข้าใจในคำสั่งกันเล็กน้อย วิทยากรเลยชวนให้คิดว่าในห้องเรียนเด็กเจอคำสั่งแบบไหน แล้วที่บ้านเวลาเราบอกให้ลูกทำอะไร ลูกจะเข้าใจเราไหม)
2.    ให้ดูส่วนดี ข้อดี ส่วนที่เราชอบ เป็นอะไรก็ได้ ให้เวลา 10 วินาที
3.    บอกว่าเราเห็นข้อดีอะไร แล้วเรารู้สึกอย่างไร

คำตอบที่ได้
•    เป็นคนใจดี สวย น่าจะดึงดูดลูกๆ ให้มารายล้อม ยินดีที่ได้มารู้จัก
•    เป็นคนกระฉับกระเฉง มีความคิดดีจากคำพูด ดีใจที่ได้เจอ
•    ผมสวย น่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดี ดูแลตัวเองดี น่าจะดูแลลูกดี ชอบ
•    ใจเย็น ง่ายๆ มีความมั่นคงทางอารมณ์ ผู้ชายคนนี้น่าจะเป็นผู้นำครอบครัวที่ดี
•    อารมณ์ดี ใจเย็น น่าจะไม่ดุ (ความจริงไม่รู้) ลูกน่าจะ happy
•    เป็นทางการ วันนี้ผ่อนคลาย สบายๆ ไม่เหมือนที่เคยเห็น น่ารักดี เป็นเด็กขึ้น มีหลายบทบาท
•    สบาย อยากคุยด้วย สนุก แต่คงกังวลอยู่ข้างใน เปิดเผยดี
•    ดูแลตัวเองดี แต่งตัว match ไม่หลุด look น่าเอาเป็นแบบอย่าง นิ่ง พูดจาเพราะ เขาเป็นคนรับฟัง น่าเอาเป็นแบบอย่างให้ลูกสาว นิยมคนนิ่งๆ แบบนี้ ตัวเองเป็นไม่ได้
•    อารมณ์ดี อบอุ่น น่าจะเป็นทีปรึกษาได้ แต่ก็มีแอบดุ น่าจะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้
•    ชอบ ตัวเองชอบคนสวย ดูลูกชายให้อยู่ใน control ได้
•    ชอบมาก สุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน ตัวเองเป็นไม่ได้ ถ้าเป็นได้สามีคงรักเรามากขึ้น
•    เสียสละเพื่อสังคม และลูก มี concept ในการเลี้ยงลูก แต่ก็มีความอบอุ่น ชื่นชมในความเสียสละ
•    มีความพยายาม จริงจัง ชัดเจน ไม่เอาแต่ใจตัวเอง สุภาพ อยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้ดี ไม่กลัวที่จะหาความรู้ ชอบค่ะ
•    หล่อ พูดมีหลักการ ฟังแล้วอยากฟังต่อ อยากเป็นอย่างคุณพ่อได้

หลังจากที่ได้ฟังแล้ว ก่อนได้ยิน กับหลังได้ยิน ความรู้สึกต่อตัวเอง กับคนพูด เป็นอย่างไร
•    เรามีความสุข รู้สึกดีกับตัวเอง และกับคนพูด ดี
•    ดีใจ มีคนเห็นความกระฉับกระเฉงของเรา
•    รู้สึกดีขึ้นทั้งสองฝ่าย
•    รู้สึกกับตัวเองดีอยู่แล้ว แต่ดีใจเพราะได้ยินว่าเขาก็เห็น
•    รู้สึกภูมิใจ เขาเห็นในสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะมีคนเห็น
•    รู้สึกว่าคนพูดอ่อนน้อมมาก ในภาวะที่กำลังคิดว่าตัวเองอยากทำต่อหรือเปล่า ก็เลยต้องคิดหนักว่าอยากทำต่อไหม อย่างไร อยากพัฒนาตัวเองขึ้นอีก
•    อยากของบคุณที่ชมว่าสวย ไม่ค่อยมีใครชม อายว่าเราไม่ใจดีอย่างที่เขาเห็น แต่อยู่บ้านเราดุ เสียงดัง
•    รู้สึกดี ไม่ค่อยมีคนชม
•    ดีใจที่ภาพเรายังออกมาดี
•    ดีที่มีคนมองว่าเรา friendly อยากมีเพื่อนเยอะๆ รู้สึกดีที่มีคนอยากคุยดด้วย
•    ก่อนพูดรู้สึกลุ้น เขาเคยเตือนเรามาตลอด แต่พอฟังแล้วอุ่นใจ เขาเห็นความดีในตัวเรา
•    รู้สึกดีขึ้น ชอบมีคนชม

ใครรู้สึกสนิทกับเขามากขึ้น อยากคุยต่อ สิ่งที่เขามองเรานั้นเราอยากทำต่อ
วันนี้มอบอาวุธสำคัญให้ คือ การมองส่วนดี และการชื่นชม
เรารู้สึกกับคนที่ไม่คุ้นเคย ลูกเราจะรู้สึกมากกว่านี้หลายเท่า เขาก็รู้สึกแบบนี้
มีรายละเอียด คือ ถ้าพูดถึงส่วนที่เราคาดไม่ถึง จะดีใจมากกว่าสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว
พฤติกรรม พึงประสงค์ และ ไม่พึงประสงค์ เหมือนตาชั่งสองแขน เรามีเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 23 ชั่วโมง ก็เหลือให้อีก 1 ชั่วโมงไปเป็นอื่น

หลักการชม 3 ข้อ
1.    บอกพฤติกรรมที่เราชม
2.    บอกความรู้สึก สิ่งที่เราสนใจจริงๆ คือ คนอื่นรู้สึกอย่างไร เราต้องบอกลูกว่า เรารู้สึกอย่างไร มากกว่า “เก่ง” “ดี”
3.    บอกว่าสิ่งที่ทำมันเข้าได้กับคุณลักษณะอะไร

เด็ก ได้ยินสิ่งไม่ดีมาเยอะ เรื่องไม่ดีของตัวเองมาเยอะ เวลาเราได้ยินเรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวเอง เราก็จะเชื่ออย่างนั้น พ่อแม่พูดอะไรเด็กก็จะเชื่อ และเด็กก็จะทำอย่างที่เชื่อ

กิจกรรมที่สอง
ครั้งสุดท้ายที่เราชม เมื่อไร
ลองชมอีกครั้ง เอาคนตรงกันข้ามเป็นเป้าสายตา
ตัวอย่าง

  • เห็นนะว่าเมื่อกี้เก็บของให้น้อง ชื่นใจจริง มากอดหน่อยสิ อย่างนี้เรียกว่ามีน้ำใจ
  • แม่ดีใจมากที่ลูกดูแลน้อง เป็นสุภาพบุรุษของแม่

หมายเหตุ
•    ชมลูกไม่เกี่ยวกับพรสวรรค์ เอาให้ตรงๆ ชัดๆ
•    ไม่ต้องใส่ความคาดหวัง

ให้พ่อแม่ลองหาคำชมที่ไม่ใช่ “เก่ง” “ดี”
•    ปลื้ม
•    สุดยอด
•    เทพ
•    แม่มีความสุขจัง
•    เยี่ยม
•    แม่ภาคภูมิใจ
•    ดีจัง
•    รักจัง
•    เรารอดแล้วลูก
•    ซึ้งจริงๆ
•    ว้าว โอ เลยลูก
•    สมบูรณ์แบบ
•    เจ๋ง
•    ฮีโร่
•    เป็นคนที่มีความคิดดีมากๆ
•    ขอบคุณลูก
•    ดีที่ทำได้
•    โอ้โห แม่คิดไม่ออกเลยลูก เห็นหนูทำแบบนี้
•    โอ้ พระเจ้าจอช
•    อย่างนี้เขาเรียกว่ารัก
•    อย่างนี้สิ ลูกแม่
•    ทำได้ไงเนี่ย
•    ถูกใจพ่อ มากเลยลูก

ทีนี้เอาคำที่ไม่มีความหมาย
•    กุ๊กกู๋
•    อึ้ม หือ
•    มะ มานี่มะ
•    โห
•    ยกนิ้วโป้ง
•    โหลูก เนอะ
•    (คำที่มีความหมาย ไม่จำเป็นเสมอไป)
•    น่ะ นะ
•    จริงดิ
•    ส่งจูบ
•    อึ้สสสส
•    อึ่ม พยักหน้า

เลือกเอาไปใช้ให้ตรงกับบุคลิคของเรา อย่าฝืน ไม่อย่างนั้นมันจะ fake


วันนี้ได้อะไรบ้าง
•    วิธีพูดกับลูก
•    มุมมอง
•    สติ
•    เพื่อน ปรึกษาได้เวลามีปัญหา
•    ได้ทบทวน ลองทำ
•    ได้รู้ว่าคนอื่นก็มีปัญหาเหมือนกัน
•    ได้แนวทางไปปรับปรุงที่มีอยู่
•    ได้มองให้เข้าใจลูกมากขึ้น
•    ได้เห็นคุณค่าของการชื่นชม
•    ได้สิ่งใหม่ และ confirm สิ่งที่เราทำอยู่ ได้ฝึกภูมิเพิ่ม อารมณ์ความเป็นแม่บทบังความรู้ที่มี ทิ้งความเป็นแม่ที่ผิดๆ
•    ได้รู้ และเข้าใจอะไรมากขึ้น พอได้ทฤษฎี คำแนะนำ เราเป็นผู้ชายอาจหยาบ ก็ได้แนวทางไปทำกับลูก
•    เรามาด้วยต้นทุนเท่ากัน 90% เราทำอยู่แล้ว และมาพบสิ่งที่จะทำเพิ่มได้ ได้ explore อะไรมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 206706เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท